backup og meta

กินน้ำอสุจิ จะท้องไหม และข้อควรรู้เกี่ยวกับน้ำอสุจิ

กินน้ำอสุจิ จะท้องไหม และข้อควรรู้เกี่ยวกับน้ำอสุจิ

ขณะทำกิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการทำออรัลเซ็กส์ บางครั้งฝ่ายหญิงอาจกินน้ำอสุจิหรือน้ำเชื้อของฝ่ายชายเข้าไป และอาจสงสัยว่า กินน้ำอสุจิ จะท้องไหม หรือจะส่งผลอะไรต่อสุขภาพบ้าง อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับน้ำอสุจิอาจช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากกินน้ำอสุจิได้

[embed-health-tool-ovulation]

ในน้ำอสุจิมีอะไรบ้าง

น้ำอสุจิหรือน้ำเชื้อเป็นสารเชิงซ้อน (Complex substance) ผลิตจากท่อเซมินิเฟอรัส (Seminiferous Tubule) ที่อยู่ภายในอัณฑะ ภายในน้ำอุสจิ นอกจากจะมีตัวอสุจิแล้ว ยังมีน้ำกว่า 80% ทั้งยังมีกรดอะมิโนและโปรตีน รวมถึงน้ำตาล อย่างฟรุกโตส และกลูโคส และวิตามินและแร่ธาตุอย่างสังกะสี แคลเซียม วิตามินซี กรดแลคติก แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม และยูเรียอีกด้วย

น้ำอสุจิมีรสชาติอย่างไร

รสชาติของน้ำอสุจิอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและในแต่ละสถานการณ์ บางครั้งอาจมีรสชาติขม บางครั้งอาจมีรสหวาน หรือน้ำอสุจิของบางคนอาจมีรสชาติเค็ม ซึ่งรสชาติของน้ำอสุจิอาจเป็นผลมาจากสาเหตุเหล่านี้

  • อสุจิที่มีรสขมหรือเค็ม เป็นผลมาจากภาวะความเป็นด่าง อาจเกิดจากการดื่มน้ำที่มีสภาพเป็นด่าง
  • อสุจิที่มีรสหวาน อาจเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ทำให้มีปริมาณน้ำตาลสูง
  • อสุจิที่มีรสชาติคล้ายโลหะ อาจเป็นผลมาจากการรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริม

กลิ่นของน้ำอสุจิเป็นอย่างไร

กลิ่นของอสุจิก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลเช่นกัน โดยปกติแล้วอสุจิจะมีกลิ่นคาว เนื่องจากในอสุจินั้นมีทั้งแร่ธาตุ วิตามิน และกรดชนิดต่าง ๆ และในบางครั้งกลิ่นอาจคาวมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นผลจากปัจจัยภายนอก เช่น การรับประทานอาหารหมักดอง หรือหากอสุจิมีกลิ่นแรงผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อได้ด้วย

กินน้ำอสุจิ จะท้องไหม

ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การกินน้ำอสุจิ การมีน้ำอสุจิในปากหรือในกระแสเลือดไม่สามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้ การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออสุจิเข้าสู่ระบบสืบพันธุ์ฝ่ายหญิงผ่านทางช่องคลอด แล้วอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ หรือที่เรียกว่าการปฏิสนธิ กลายเป็นตัวอ่อน และเจริญเติบโตจนเป็นทารก

อย่างไรก็ตาม การออรัลเซ็กส์ หรือการกินน้ำอสุจิอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น โรคเริม โรคติดเชื้อเอชพีวี โรคหนองใน โรคหนองในเทียม ฉะนั้น เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว ควรป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เช่น ใช้ถุงยางอนามัย ใช้แผ่นยางอนามัย

ข้อควรรู้อื่น ๆ เกี่ยวกับการกินน้ำอสุจิ

กินน้ำอสุจิ มีประโยชน์ ต่อ ผู้หญิง อย่างไร

ยังไม่มีงานศึกษาวิจัยที่ยืนยันว่าการกินน้ำอสุจิมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้หญิง อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่า การกลืนน้ำอสุจิอาจช่วยลดความเครียดได้

การกินน้ำอสุจิเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่

การกลืนอสุจิก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อยู่ในน้ำอสุจิได้ หากในน้ำอสุจิมีเชื้อของหนองใน อาจทำให้ติดเชื้อที่คอหรือที่ปาก จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าว่าคู่นอนไม่ได้ติดเชื้อ หรือมีปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ 

การแพ้น้ำอสุจิ

ผู้หญิงหลายคนมีอาการแพ้อสุจิ โดยจะมีอาการปวดตัว มีผื่น มีอาการคัน เกิดอาการบวม เป็นลมพิษ และหายใจลำบาก แต่ในบางรายอาจมีอาการที่แย่กว่าที่ได้กล่าวไปข้างต้น อย่างไรก็ตาม อาการแพ้น้ำอสุจิถือว่าพบได้ยาก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Many Nutrients Are in Semen?. https://www.webmd.com/sex-relationships/how-many-nutrients-are-in-semen. Accessed December 6, 2021

อัณฑะและฮอร์โมนจากอัณฑะ (testes). https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter5/testes.htm. Accessed December 6, 2021

Semen in mouth — Pregnant?. https://goaskalice.columbia.edu/answered-questions/semen-mouth-pregnant. Accessed December 6, 2021

STD Risk and Oral Sex. https://www.cdc.gov/std/healthcomm/stdfact-stdriskandoralsex.htm. Accessed December 6, 2021

Can I get pregnant from oral sex? Sexual health misconceptions in e-mails to a reproductive health website. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3634557/. Accessed December 6, 2021

Can I Get Pregnant From Oral Sex?. https://www.rchsd.org/health-articles/can-i-get-pregnant-from-oral-sex/. Accessed December 6, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/11/2023

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

มีอะไรกับแฟนแล้วเจ็บ เป็นเพราะอะไร

หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน เพราะอะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 02/11/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา