backup og meta

สารพัด ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่มาจากการสูบบุหรี่

สารพัด ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่มาจากการสูบบุหรี่

เป็นที่ทราบกันดีว่า การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และการสูบบุหรี่ยังส่งผลต่อให้เกิด ปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็นอย่างมาก การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับฟันและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเหงือกได้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพช่องปากจากการสูบบุหรี่ ที่ไม่ควรพลาดมาฝากทุกท่านค่ะ

ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่เกิดจากการสูบบุหรี่

  • กลิ่นปาก
  • คราบที่ฟัน และฟันเปลี่ยนสี
  • โรคและการอักเสบที่ต่อมน้ำลาย
  • การสะสมของคราบหินปูน
  • กระดูกขากรรไกรเสื่อม หรือใช้การไม่ได้
  • ความเสี่ยงของการเกิดฝ้าขาวในปาก
  • ความเสี่ยงของการเป็นโรคเหงือก และสูญเสียฟันเพิ่มขึ้น
  • ความเร็วในการเยียวยาตนเองลดลง
  • ลดอัตราความสำเร็จในการทำรากฟันเทียม
  • ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากเพิ่มขึ้น

การสูบบุหรี่กับโรคเหงือก

บุหรี่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นตัวการทำให้กระดูกและเนื้อเยื่อที่เชื่อมกับฟันหลวม และขัดขวางการทำงานของเนื้อเยื่อเหงือก ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อเนื้อเยื่อเหงือกถูกทำลาย ประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือดสู่เหงือกก็จะลดน้อยลง ทำให้การฟื้นฟูใช้เวลานานขึ้น

ไปป์และซิการ์อันตรายหรือไม่

ไปป์และซิการ์ มีอันตรายไม่น้อยไปกว่าบุหรี่ การศึกษาเผยว่า ผู้ที่สูบซิการ์สูญเสียฟันและกระดูกเบ้าฟัน มากเท่ากับผู้ที่สูบบุหรี่ แม้ว่าการสูบไปป์และซิการ์ จะไม่ได้สูดเอาควันเข้าไป แต่ยังคงสร้างความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพช่องปากอยู่เช่นเดิม เช่น กลิ่นปาก และฟันเปลี่ยนสี

ยาสูบไร้ควันปลอดภัยหรือไม่

ยาสูบชนิดต่างๆ เช่น ยานัตถุ์ และยาเส้นชนิดเคี้ยว มีสารก่อมะเร็งทั้งมะเร็งในช่องปาก มะเร็งลำคอ และมะเร็งหลอดอาหาร สูงถึง 28 ชนิด ยาเส้นชนิดเคี้ยวมีปริมาณนิโคตินสูงกว่าในบุหรี่ และทำให้เกิดอาการเสพติดได้มากกว่า อีกทั้งยังมีการวิจัยพบว่ายานัตถุ์ 1 กล่อง มีปริมาณนิโคตินมากกว่าบุหรี่ 60 มวน

ยาสูบชนิดที่ไม่ต้องสูบ (ชนิดเคี้ยว หรือแปะที่เหงือก) หรือยาสูบไร้ควัน อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่เหงือก และเหงือกร่น ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างลงไปสู่รากฟัน จนนำไปสู่อาการฟันผุในที่สุด

เมื่อเหงือกร่น จะทำให้เกิดอาการเสียวฟัน เมื่อทานอาหารและเครื่องดื่มร้อนและเย็น นำไปสู่อาการเบื่ออาหาร น้ำตาลที่เป็นส่วนผสมในยาสูบไร้ควัน ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ อีกทั้งยาสูบชนิดนี้ยังมีส่วนผสมของทรายและกรวด ที่สามารถทำให้ฟันสึกได้อีกด้วย

เทคนิคในการเลิกสูบบุหรี่

แม้ว่าคุณจะสูบบุหรี่ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน แต่การเริ่มเลิกสูบบุหรี่ตอนนี้ ก็สามารถช่วยฟื้นฟูสุขภาพในช่องปากของคุณได้ หากคุณยังเลิกไม่ได้ในทีเดียว คุณอาจลองลดปริมาณการสูบลง ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ลดการสูบลง มีความเสี่ยงในการเป็นโรคทางช่องปากน้อยลงด้วย หากคุณพบว่าการเลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ยาก คุณอาจมองหาคำแนะนำจากทันตแพทย์ หรือเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยคุณหมออาจสั่งยาลดอาการบางอย่าง ที่เกิดจากการเลิกบุหรี่ หรือคุณสามารถขอคำปรึกษาในการเลิกสูบบุหรี่ได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Smoking and Oral Health. http://www.webmd.com/oral-health/guide/smoking-oral-health#1. Accessed May 17, 2017.

Impact of Smoking on Oral Health: Knowledge and Attitudes of Croatian Dentists and Dental Students. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6047590/. Accessed May 17, 2017.

Smoking and oral health. https://www.dentalhealth.org/smoking-and-oral-health. Accessed May 17, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตัวเอง ก่อนไปพบทันตแพทย์ ทำได้อย่างไรบ้าง

อาการเสียวฟัน กับสาเหตุที่คุณนึกไม่ถึง และวิธีดีๆ ในการรับมือ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา