backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 12

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 12

ลูกจะเติบโตอย่างไร

ตอนนี้ลูกอาจมีขนาดเท่ากับลูกมะนาว โดยมีน้ำหนักประมาณ 15 กรัม และสูงประมาณ 5 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า อวัยวะของลูกน้อยส่วนใหญ่ได้พัฒนาขึ้นแล้ว แต่ยังต้องการเวลาในการพัฒนาให้โตเต็มที่ เพื่อที่จะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

อวัยวะที่พัฒนาขึ้นแล้วก็คืออวัยวะในระบบย่อยอาหาร ลูกกำลังเริ่มฝึกการเคลื่อนไหวเพื่อย่อยอาหาร ซึ่งอาจจะมีการเคลื่อนไหวที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การกำมือ การดูด การสะอึก คุณแม่อาจยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเหล่านี้ แต่ในอีกประมาน 2-3 สัปดาห์ ก็จะเริ่มรู้สึกได้อย่างชัดเจน

ไขกระดูกในกระดูกของลูกกำลังผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวขึ้นมา ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ พร้อมกันนี้ก็สร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมาด้วย ต่อมใต้สมองจะเริ่มผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ๆ ขึ้นมาในช่วงสัปดาห์นี้

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

เลือดที่สูบฉีดมากขึ้นจะช่วยให้ผิวของคุณแม่ดูเปล่งปลั่งสดใส แต่อาจจะทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะได้ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ซึ่งรวมถึงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้เส้นเลือดคลายตัวและขยายใหญ่ขึ้น อาจส่งผลให้สูบฉีดเลือดเพื่อลำเลียงสารอาหารสำคัญ ๆ ไปให้ลูกน้อยได้มากขึ้น จึงอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง และมีเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงสมองน้อยลงด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ

มากไปกว่านั้น คุณแม่อาจรู้สึกหน้ามืดมากขึ้น เมื่อลุกขึ้นยืนหรือเคลื่อนไหวร่างกายเร็วเกินไป ดังนั้น คุณหมอาจแนะนำให้ทำงานหรือทำกิจกรรมที่ไม่หนักจนเกินไป และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ คือ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่ไม่ได้กินอะไรอย่างสม่ำเสมอ หรือลืมกินอาหาร สำหรับในการบรรเทาอาการหน้ามืดหรือวิงเวียนศีรษะอาจทำได้ด้วยการเอนตัวนอน แล้วหายใจเข้าออกลึก ๆ หรืออาจลองดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้ด้วย

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

ในช่วงเวลานี้ คุณแม่อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาเยอะมาก ในขณะที่กำลังย่างเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 อาจทำให้ยิ่งมีน้ำหนักตัวมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการสารอาหารและพลังงาน เพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย

คุณแม่อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงตั้งครรภ์ใหม่ ๆ ส่วนหนึ่งอาจการกินอาหารเพื่อลูก แต่จริง ๆ แล้ว ทารกในครรภ์ไม่ได้ต้องการสารอาหารมากมาก นอกจากนี้ คุณแม่อาจจะอยากกินอาหารที่มีแคลอรี่สูง รวมทั้งอาหารมัน ๆ และหวาน ๆ ด้วย ซึ่งเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยแต่ไม่ดีต่อสุขภาพ

ในการควบคุมน้ำหนัก คุณแม่อาจต้องจัดตารางการกินอาหารขึ้นมา ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอหรือนักโภชนาการว่าจะเกี่ยวกับสารอาหารต่าง ๆ ที่ควรได้รับจากอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ นอกจากนี้ ควรต้องกินผลไม้ ผัก และไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ถั่วและถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง

ถ้าคุณแม่ยังกังวลกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ลองปรึกษาคุณหมอ ซึ่งคุณหมออาจจะช่วยหาวิธีจัดการกับเรื่องน้ำหนักได้ นอกจากนี้ ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป ก็อาจส่งผลที่ไม่ดีต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น จึงควรเพิ่มน้ำหนักตัวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพอในการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม พูดคุยกับคุณหมอเพื่อหาค่าดรรชนีมวลกายที่เหมาะกับ ซึ่งจะช่วยคำนวณน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่เหมาะสมได้

การทดสอบใดที่ควรรู้

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คุณหมออาจได้ทำการตรวจเลือดและทำการอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติของโครโมโซมส่วนใหญ่ คือ โรคดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) การทำอุลตร้าซาวด์ก็เพื่อวัดความหนาของคอ เพื่อดูว่ามีน้ำสะสมอยู่บริเวณท้ายทอยอยู่เยอะหรือไม่ ซึ่งอาจรู้ผลในสัปดาห์นี้ โปรดจำเอาไว้ว่าผลการตรวจนี้เป็นการประเมินความเสี่ยงเท่านั้น

ถ้าผลการตรวจระบุว่าคุณแม่มีความเสี่ยงสูง ก็หมายความว่าจำเป็นต้องทำการตรวจวินิจฉัย เพื่อยืนยันว่าลูกมีโครโมโซมที่ผิดปกติจริง ๆ ซึ่งการตรวจแบบนี้อาจมีความเสี่ยงที่จะแท้งลูกแค่ 1% เท่านั้น ดังนั้น ควรพูดคุยกับคุณหมอเรื่องความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจวินิจฉัยโรคนี้

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัย

การคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งต่อตัวเองและทารกที่กำลังเติบโตในครรภ์นั้น นับเป็นเรื่องสำคัญมาก และนี่คือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจทำให้คุณแม่เกิดความวิตกกังวลอยู่

  • ท้องที่โตขึ้น

ในขณะที่กำลังก้าวเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 นี้ หน้าท้องจะยื่นออกมาจนสังเกตเห็นได้ ซึ่งก็หมายความว่าลูกน้อยกำลังเจริญเติบโต แต่นั่นจะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดหลังช่วงล่างมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อหน้าท้องโตขึ้นเรื่อย ๆ จุดศูนย์ถ่วงก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงนับเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่จะต้องรับรู้ร่างกายของตัวเอง

คุณแม่อาจเริ่มเข้าคลาสโยคะสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอด หรือหาเวลายืดกล้ามเนื้อในตอนเช้า ๆ หรือก่อนเข้านอน ซึ่งอาจจะช่วยให้หลังสามารถปรับตัวให้กับความความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ ไม่ควรทำอะไรที่เกินแรงของตัวเอง หรือเคลื่อนไหวร่างกายแบบรวดเร็วเกินไป

หน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นอาจหมายความว่ามดลูกก็กำลังเติบโต จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะกดทับเส้นประสาทมากขึ้น เนื่องจากเส้นประสาทที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย จะพาดผ่านหลังส่วนล่างไปถึงก้นและขาส่วนล่าง เรื่อยลงไปถึงข้อเท้าและเท้า จึงอาจทำให้รู้สึกเจ็บจี๊ด ๆ บริเวณสะโพก แต่อาจเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และอาจไม่ได้เกิดกับทุกคน แต่อาการอาจเกิดขึ้นได้บ่อย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และเพื่อรับมือกับอาการเกิดขึ้น คุณแม่จึงควรเริ่มพักผ่อนให้มากขึ้น นอกจากนี้ อาจออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ หรือทำกายบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อจะได้ไม่มีน้ำหนักไปกดทับเส้นประสาท

  • ภาวะโลหิตจาง

ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์นั้น สิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ คือ การจัดเตรียมสารอาหารให้พอเพียงต่อลูกน้อยในครรภ์ วิตามินและสารอาหารที่จำเป็น ได้แก่ กรดโฟลิค วิตามินบี 1 และธาตุเหล็ก ซึ่งทั้งหมดนั้นมีส่วนช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง

ถ้าคุณแม่เป็นมังสวิรัติ ก็ต้องแน่ใจว่ากินอาหารเสริมและวิตามินพวกนี้ด้วย สัญญาณและอาการของภาวะโลหิตจาง ได้แก่ อ่อนเพลีย ตัวซีด และอ่อนแอ หากสงสัยว่าตัวเองอาจมีภาวะโลหิตจาง ควรปรึกษาคุณหมอทันที

แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby? https://www.babycenter.com/slideshow-baby-size Accessed June 6, 2015

Pregnancy calendar week 12. https://kidshealth.org/en/parents/week12.html. Accessed June 6, 2015

Your pregnancy: 12 weeks. https://www.babycenter.com/12-weeks-pregnant Accessed June 6, 2015

Week-by-week guide to pregnancy. https://www.nhs.uk/start4life/pregnancy/week-by-week/1st-trimester/week-12/#:~:text=Your%20baby%2C%20or%20foetus%2C%20is,up%20on%20an%20ultrasound%20scan. Accessed November 15, 2022

You and your baby at 12 weeks pregnant. https://www.nhs.uk/pregnancy/week-by-week/1-to-12/12-weeks/. Accessed November 15, 2022

12 weeks pregnant. https://raisingchildren.net.au/pregnancy/week-by-week/first-trimester/12-weeks. Accessed November 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/11/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ มีสัญญาณและอาการอย่างไร

แม่ท้องทำเล็บ อย่างไรจึงจะปลอดภัย และความเสี่ยงที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 15/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา