backup og meta

เฮพาริน (Heparin)

เฮพาริน (Heparin)

ข้อบ่งใช้ เฮพาริน

เฮพาริน ใช้สำหรับ

ยาเฮพาริน (Heparin) คือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ที่ช่วยป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือด ใช้เพื่อรักษาและป้องกันลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง หรือปอด ยานี้ยังใช้ก่อนการผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด

ยาฉีด เฮพาริน ไม่ควรใช้กับการสวนยาเข้าหลอดเลือด (เพื่อทำความสะอาด) ท่อสวนยาเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous catheter) หรือหากมีผลิตภัณฑ์อย่างอื่นอยู่แล้ว อย่างหลอดสวน (catheter) ชุดอุปกรณ์ (lock) และท่อสวน (flush) อย่างไรก็ตามอาจมีการใช้ยาเฮพารินสำหรับจุดประสงค์อื่นที่ไม่มีอยู่ในคำแนะนำการใช้ยา

วิธีการใช้ยาเฮพาริน

  • ฉีดยา เฮพาริน ใต้ผิวหนังหรือเข้าหลอดเลือดดำ อาจต้องเรียนรู้วิธีการฉีดยาเข้าหลอดเลือดที่บ้าน
  • อย่าฉีดยาเฮพารินเอง หากคุณยังไม่เข้าใจวิธีฉีด และวิธีการกำจัดเข็ม ท่อฉีดยา และอุปกรณ์ที่ใช้ฉีดยาที่ใช้แล้วอย่างถูกต้อง
  • อย่าใช้ยาฉีดเฮพาริน หากสีของยาเปลี่ยน หรือมีฝุ่นละออง แจ้งแพทย์เพื่อรับยาใหม่
  • อาจต้องเปลี่ยนจากยาฉีดเฮพาริน เป็นยาเจือจางเลือดแบบรับประทาน ห้ามหยุดใช้ยานี้จนกว่าแพทย์จะสั่ง อาจจำเป็นต้องใช้ยา เฮพาริน ทั้งแบบฉีด และแบบรับประทานพร้อมกัน ในระยะเวลาสั้นๆ

การเก็บรักษายาเฮพาริน

ยาเฮพารินนั้นควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเฮพารินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเฮพารินลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเฮพาริน

ก่อนใช้ยาเฮพาริน

  • แจ้งแพทย์หากคุณแพ้ยาเฮพาริน ยาอื่นๆ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อวัว เนื้อหมู หรือส่วนประกอบอื่นๆ ในยาฉีดเฮพาริน สอบถามรายชื่อของส่วนประกอบได้จากแพทย์หรือเภสัชกร
  • แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาตามใบสั่งแพทย์ และยาที่หาซื้อได้เอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ ที่คุณกำลังใช้อยู่หรือมีแผนว่าจะใช้ อย่าลืมกล่าวถึงยาดังต่อไปนี้ ได้แก่ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอื่นๆ เช่น ยาวาร์ฟาริน (warfarin) อย่างคูมาดิน (Coumadin) ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) ที่มีอยู่ในยาแก้หวัดและยาแก้ไอหลายชนิด ยาแอนติทรอมบิน III (antithrombin III) เช่น ทรอมเบต III (Thrombate III) แอสไพริน หรือยาที่มีแอสไพริน และยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อย่างแอดวิล (Advil) หรือมอทริน (Motrin) และยานาพรอกเซน (naproxen) อย่างอะลีฟ (Aleve) หรือนาโพรซิน (Naprosyn) ยาเดกซ์ทราน (dextran) ยาไดจอกซิน (digoxin) อย่างไดจิเทค (Digitek) หรือลาโนซิน (Lanoxin) ยาไดไพริดาโมล (dipyridamole) อย่างเพอร์แซนทีน (Persantine) ในแอคเกรนอกซ์ (Aggrenox) ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน (hydroxychloroquine) อย่างแพลคนิว (Plaquenil) ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) อย่างอินโดซิน (Indocin) ยาฟีนิลบิวตาโซน (phenylbutazone) อย่างเอโซลิด (Azolid) ยาควินิน (quinine) และยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน (tetracycline antibiotics) เช่น ยาเดเมโคลไซคลีน (demeclocycline) อย่างเดโคลไมซิน (Declomycin) ยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) อย่างโมโนดอกซ์ (Monodox) หรือไวบราไมซิน (Vibramycin) ยามิโนไซคลีน (minocycline) อย่างไดนาซิน (Dynacin) หรือมิโนซิน (Minocin) และยาเตตราไซคลีน อย่างบริสเทไซคลีน (Bristacycline) หรือซูไมซิน (Sumycin) แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือเฝ้าสังเกตผลข้างเคียง
  • แจ้งแพทย์ หากคุณมีเกล็ดเลือดต่ำ (ชนิดของเซลล์เลือดที่จำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือดตามปกติ) และหากคุณมีเลือดออกมาก และไม่ยอมหยุดไหลส่วนใดก็ตามในร่างกาย แพทย์อาจจะไม่ให้คุณใช้ยาเฮพาริน
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณกำลังมีประจำเดือน หากคุณมีไข้หรือติดเชื้อ และหากคุณเพิ่งทำการเจาะน้ำไขสันหลัง (spinal tap) เมื่อไม่นานมานี้ (การนำน้ำจำนวนหนึ่งที่ไขสันหลังออกไปเพื่อตรวจหาการติดเชื้อหรือปัญหาอื่นๆ) ฉีดยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง (spinal anesthesia) ผ่าตัด โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสมอง ไขสันหลัง ดวงตา หรือหัวใจขาดเลือดฉับพลัน และควรแจ้งแพทย์หากคุณมีหรือเคยมีภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น โรคเลือดไหลไม่หยุด (hemophilia) ซึ่งเป็นอาการที่เลือดไม่ยอมแข็งตัวตามปกติ ภาวะขาดสารต้านธรอมบิน III (antithrombin III deficiency) ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด มีลิ่มเลือดในขา ปอด หรือส่วนใดก็ตามในร่างกาย มีรอยช้ำหรือจุดม่วงใต้ผิวหนังที่ผิดปกติ โรคมะเร็ง แผลในกระเพาะหรือลำไส้ สายระบายที่กระเพาะหรือลำไส้ ความดันโลหิตสูง หรือโรคตับ
  • แจ้งแพทย์หากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ระหว่างใช้ยานี้ ให้แจ้งแพทย์ทราบในทันที
  • หากคุณกำลังจะผ่าตัด รวมทั้งการผ่าตัดทำฟัน โปรดแจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ว่าคุณกำลังใช้ยาเฮพาริน
  • แจ้งแพทย์หากคุณสูบบุหรี่ หรือหยุดสูบเวลาใดขณะที่ใช้ยาเฮพาริน การสูบบุหรี่อาจจะลดประสิทธิภาพของยาเฮพาริน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาเฮพารินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเฮพาริน

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในทันทีหากคุณมีอาการแพ้ดังนี้ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ลมพิษ คัน หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ หรือรู้สึกเหมือนจะหมดสติ

บางคนที่ใช้ยาฉีดเฮพารินอาจจะมีปฏิกิริยากับยาแบบหยด (ฉีดยาเข้าในหลอดเลือดดำ) แจ้งแพทย์ในทันที หากคุณรู้สึกคลื่นไส้ วิงเวียน เหงื่อออก หรือหายใจไม่อิ่มขณะฉีดหรือหลังฉีดยาเฮพาริน

หยุดใช้ยาเฮพารินและแจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังนี้

  • มีอาการชาหรืออ่อนแรงเฉียบพลัน โดนเฉพาะข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  • ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน สับสน มีปัญหากับการมองเห็น การพูด หรือการทรงตัว
  • ปวดหน้าอก ไอฉับพลัน หายใจมีเสียงหวีด หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว
  • ปวด บวม รู้สึกอุ่น หรือมีรอยแดงที่ขาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • หายใจติดขัด
  • (ในเด็กทารก) ง่วงซึมอย่างรุนแรง อ่อนแรง หรือหายใจหอบ
  • เป็นไข้ หนาวสั่น น้ำมูกไหล และน้ำตาไหล

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

  • ปวดเบาๆ มีรอยปื้นแดง หรือผิวหนังเปลี่ยนแปลงบริเวณที่ฉีดยา
  • คันที่เท้าเล็กน้อย
  • ผิวออกสีเป็นสีน้ำเงิน

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเฮพารินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาอื่นๆ ที่คุณใช้โดยเฉพาะ

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (warfarin) อย่างคูมาดิน (Coumadin) หรือแจนโทเวน (Jantoven)
  • ยาไดจอกซิน (Digoxin) อย่างไดจิทาลิส (digitalis) หรือลานอกซ์ซิน (Lanoxin) หรือลานอกซ์ซิแคป (Lanoxicaps);
  • ยาไดไพริดาโมล (Dipyridamole) อย่างเพอร์แซนทีน (Persantine)
  • ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) อย่างแพล็กนิว (Plaquenil) หรือไควน์พรอกซ์ (Quineprox)
  • ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) อย่างแอดวิล (Advil) หรือมอทริน (Motrin)
  • ยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) อย่างอินโดซิน (Indocin)
  • นิโคตินแบบบุหรี่ หมากฝรั่ง ลุกอม หรือแผ่นแปะผิวหนัง
  • ยาไนโตรกลีเซอริน (Nitroglycerin) อย่างไนโตรเดอร์ (Nitro Dur) ไนโตรลิงกัว (Nitrolingual) ไนโตรสแตท (Nitrostat) ทรานส์เดิร์มไนโตร (Transderm Nitro) และอื่นๆ
  • ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาเดเมโคลไซคลีน (demeclocycline) อย่างเดโคลไมซิน (Declomycin) ยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) อย่างอะดอกซ์ซา (Adoxa) หรืออโลดอกซ์ ( Alodox) หรืออะไวดอกซ์ซี (Avidoxy) หรือออแรกซ์ซิล (Oraxyl) หรือดอร์ริกซ์ (Doryx) ยาออเรเชีย (Oracea) หรือไวแบรมไมซิน (Vibramycin) ยามิโนไซคลีน (minocycline) อย่างไดนาซิน (Dynacin) มิโนซิน (Minocin) โซโลดิน (Solodyn) หรือยาเตตราไซคลีน (tetracycline) อย่างอัลลาเทต (Ala-Tet) หรือบรอดสเปค (Brodspec) หรือแพนไมซิน (Panmycin) หรือซูไมซิน (Sumycin) หรือเททราแคป (Tetracap)
  • ยาแก้หวัด แก้แพ้ หรือยานอนหลับ อย่างออเลอเรสต์ (Allerest) เบนนาดริล (Benadryl) คลอไทรทอน (Chlor-Trimeton) ไดเมแทป (Dimetapp) ซอมิเนกซ์ (Sominex) ไทลินอลพีเอ็ม (Tylenol PM) และอื่นๆ
  • ยาซาลิไซเลต (Salicylates) อย่างยาแอสไพริน ยาแคปเลตบูพรินแบคเอค (Nuprin Backache Caplet) ยาเคโอเพคเทต (Kaopectate) ยาเนียร์รีลีฟ (kneerelief) ยาแพมพรินแครมป์ฟอร์มูล่า (Pamprin Cramp Formula) ยาเพปโตบิสมอล (Pepto-Bismol) ยาไตรโคซอล (Tricosal) ยาไทรลิเซต (Trilisate) และอื่นๆ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเฮพารินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเฮพารินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอโดยเฉพาะ

  • เยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดออก เช่น โรคเลือดไหลไม่หยุด (hemophilia)
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคตับ
  • การผ่าตัดใหญ่ เช่น ที่ดวงตา สมอง หรือกระดูกสันหลัง
  • มีประจำเดือนมามากหรือผิดปกติ
  • การให้ยาระงับความรู้สึกทางกระดูกสันหลัง
  • มีแผลที่กระเพาะหรือลำไส้ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เลือดออก
  • มีเลือดออก
  • เกล็ดเลือดต่ำ ที่เกิดจากการใช้ยาเฮพาริน
  • เกล็ดเลือดต่ำอย่างรุนแรง ไม่ควรใช้ยานี้กับผู้ที่มีอาการนี้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเฮพารินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis):

  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง: 5000 หน่วย ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้ง ตามด้วยหยดยาเข้าหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง 1300 หน่วย/ชั่วโมง อีกทางหนึ่งคือฉีดยาเข้าหลอด 80 หน่วย/กก. ตามด้วยหยดยาเข้าหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง 18 หน่วย/กก./ชั่วโมง
  • ฉีดยาใต้ผิวหนังเป็นระยะ ๆ: 17,500 หน่วย ฉีดใต้ผิวหนังทุก ๆ 12 ชั่วโมง
  • ขนาดยาควรปรับเพื่อรักษาระดับของการควบคุมเอพีอีอี (aPTT) ไว้ที่ 1.5 ถึง 2.5 เท่าของพลาสมาควบคุม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis):

  • 5000 ยูนิต ฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุก ๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง อาจปรับขนาดยาเพื่อรักษาระดับของเอพีทีที (aPTT) ไว้ที่ช่วงบนของค่าปกติ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism):

  • หยอดยาเข้าหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง: 5000 หน่วย ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้ง ตามด้วยหยดยาเข้าหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง 1300 หน่วย/ชั่วโมง อีกทางหนึ่งคือฉีดยาเข้าหลอด 80 หน่วย/กก. ตามด้วยหยดยาเข้าหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง 18 หน่วย/กก./ชั่วโมง
  • หากสงสัยว่าผู้ป่วยเคยเป็นโรคลิ่มเลือดในปริมาณมากอุดกั้นในปอด อาจต้องให้ยาขนาดเริ่มต้นเพิ่มขึ้น เป็นฉีดยาเข้าหลอดเลือด 10,000 หน่วย ตามด้วย 1500 หน่วย/ชม.
  • ฉีดยาใต้ผิวหนังเป็นระยะๆ: 17,500 หน่วย ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง

    ขนาดยาควรปรับเพื่อรักษาระดับของการควบคุมเอพีอีอี (aPTT) ไว้ที่ 1.5 ถึง 2.5 เท่า ของพลาสมาควบคุม

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial Infarction):

  • 5000 หน่วย ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วยหยดยาเข้าหลอดเลือดดำ 1000 หน่วย/ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด (Angina pectoris):

  • 5000 หน่วย ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ตามด้วยหยดยาเข้าหลอดเลือดดำ 1000 หน่วย/ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาต้านการแข็งตัวของเลือดขณะตั้งครรภ์:

  • 5000 หน่วย ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 12 ชั่วโมง อาจปรับขนาดยาเพื่อรักษาการควบคุมของค่าเอพีทีที (aPTT) 6 ชั่วโมงไว้ที่ 1.5 เท่าหรือมากกว่า

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดอุดตัน (Thrombotic/Thromboembolic Disorder):

  • 100 หน่วย/มล. ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง สำหรับท่อสวนพีวีซี (PVC catheters) และชุดอุปกรณ์ให้ยาเฮพารินในหลอดเลือดดำส่วนปลาย (peripheral heparin locks) การให้ยาเพิ่มเติมควรให้เมื่อเลือดค้างนิ่งในท่อสวน หลังจากที่ใช้ท่อสวนเพื่อให้ยาหรือเลือด หรือหลังจากที่เลือดถอนออกจากท่อสวน
  • เพิ่มเติม 0.5 ถึง 1 หน่วย/มล. ในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำส่วนปลายและทางหลอดเลือดดำใหญ่นั้นแสดงให้เห็นความคงทนของหลอดเลือดเปิด หลอดเลือดแดงที่ได้ให้ยาเฮพารินที่ความเข้มข้นสุดท้ายคือ 1 หน่วย/มล

ขนาดยาเฮพารินสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดอุดตัน (Thrombotic/Thromboembolic Disorder): ท่อสวนยาเข้าหลอดเลือดดำ (IV line flush):

  • ขนาดยาสำหรับทารก: 10 หน่วย/มล. ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสำหรับเด็ก: 100 หน่วย/มล. ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง สำหรับท่อสวนพีวีซี (PVC catheters) และชุดอุปกรณ์ให้ยาเฮพารินในหลอดเลือดดำส่วนปลาย (peripheral heparin locks) การให้ยาเพิ่มเติมควรให้เมื่อเลือดค้างนิ่งในท่อสวน หลังจากที่ใช้ท่อสวนเพื่อให้ยาหรือเลือด หรือหลังจากที่เลือดถอนออกจากท่อสวน
  • เพิ่มเติม 0.5 ถึง 1 หน่วย/มล. ในการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำส่วนปลายและทางหลอดเลือดดำใหญ่นั้นแสดงให้เห็นความคงทนของหลอดเลือดเปิด หลอดเลือดแดงที่ได้ให้ยาเฮพารินที่ความเข้มข้นสุดท้ายคือ 1 หน่วย/มล

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • สารละลายแบบฉีด ในรูปเกลือโซเดียม: 1000 หน่วย (500 มล.) 2000 หน่วย (1000 มล.) 25 000 หน่วย (250 มล., 500 มล.) 1000 หน่วย/มล. (1 มล. 10 มล. 30 มล.); 2500 หน่วย/มล. (10 มล.); 5000 หน่วย/มล. (1 มล. 10 มล.) 10000 หน่วย / มล. (1 มล., 4 มล., 5 มล.) 20 000 หน่วย/มล. (1 มล.)
  • สารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ในรูปเกลือโซเดียม: 10 000 หน่วย (250 มล.) 12,500 หน่วย (250 มล.) 20 000 หน่วย (500 มล.) 25 000 หน่วย (250 มล., 500 มล.) 1 หน่วย/มล. (1 มล. 2 มล. 2.5 มล. 3 มล. 5 มล. 10 มล.) 2 หน่วย/มล. (3 มล.) 10 หน่วย/มล. (1 มล. 2 มล. 2.5 มล. 3 มล. 5 มล. 10 มล. 30 มล.) 100 หน่วย/มล 1 มล. 2 มล. 2.5 มล. 3 มล. 5 มล. 10 มล. 30 มล.) 2000 หน่วย/มล. (5 มล.)

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

อาการของการใช้ยาเกินขนาดมีดังนี้

  • เลือดกำเดาไหล
  • ปัสสาวะมีเลือด
  • อุจจะระสีดำคล้ายบางมะตอย
  • ช้ำง่าย
  • เลือดออกแบบผิดปกติ
  • มีเลือด
  • อาเจียนมีเลือดหรือเหมือนกากกาแฟ

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Heparin https://www.drugs.com/heparin.html. Accessed July 16, 2016.

Heparin http://www.webmd.com/drugs/2/drug-5664/heparin- bovine-injection/details. Accessed July 16, 2016.

Heparin http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/heparin- intravenous-route-subcutaneous-route/description/drg- 20068726. Accessed July 16, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะหลอดเลือดแข็ง หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง

เทคนิคการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา