backup og meta

นอกจากเจออากาศร้อนแล้ว อย่าลืมรับมือกับ อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อนด้วย

นอกจากเจออากาศร้อนแล้ว อย่าลืมรับมือกับ อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อนด้วย

เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน สิ่งแรกที่นึกถึงก็คงเป็นแสงแดดจ้า ๆ ที่มาพร้อมกับความร้อนที่ทำให้แสบไปทั่วทั้งผิวกาย และยังตามมาด้วยเหงื่อ ที่ไหลย้อยจนชุ่มไปทั้งร่างกาย บ้างก็ส่งผลให้เกิดอาการคัน ผดผื่นในหน้าร้อน แต่ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่มาในหน้าร้อน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคาดคิดไม่ถึง นั่นก็คือ อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อน เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า ฤดูร้อนและอาการซึมเศร้านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

อาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อน (Summer Depression) คืออะไร

SAD หรือ Seasonal Affective Disorder คือ อาการซึมเศร้าตามฤดูกาล ซึ่งมักจะเริ่มต้นตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง ยาวไปจนถึงฤดูหนาว แต่บางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นในปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงฤดูร้อนได้เช่นกัน โดย อาการซึมเศร้าในฤดูร้อน (Summer Depression) ถือเป็นอาการซึมเศร้าตามฤดูกาลอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในฤดูร้อน

โดยทั่วไปแล้ว อาการซึมเศร้าตามฤดูกาลมักจะเกิดในช่วงฤดูหนาวที่กลางคืนยาวกว่ากลางวัน บวกกับอากาศที่หนาวเย็นจึงทำให้คนรู้สึกเหงาและเศร้ามากขึ้น แต่ก็มีคนอยู่ประมาณร้อยละ 10 ที่มีภาวะซึมเศร้าในช่วงฤดูร้อนที่มีเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดก็ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นมาได้

จากการศึกษาพบว่า ประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อย่างประเทศอินเดีย จะพบว่าผู้คนมักจะมีอาการซึมเศร้าในฤดูร้อนมากกว่าในช่วงฤดูหนาว แม้การศึกษานี้จะระบุแน่ชัดไม่ได้ว่า อาการซึมเศร้าในฤดูร้อนนั้นเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ แต่ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด ความชื้น และเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ รวมทั้งอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร มีปัญหาการหลับ เกิดความวิตกกังวล

วิธีรับมือกับอาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อน สำหรับหน้าร้อนที่กำลังจะถึง

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 

หากคุณมีอาการต่าง ๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้น และเกิดความสงสัยว่าอาจเข้าข่ายมีอาการซึมเศร้าตามฤดูกาล ไม่ว่าคุณจะมีอาการซึมเศร้าในช่วงฤดูกาลใดก็ตาม สิ่งที่ควรทำคือ การเข้ารับการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการประเมินอาการว่าอยู่ในขั้นใด ที่สำคัญเลยคือ คุณไม่ควรปล่อยปละละเลยอาการที่เผชิญอยู่ เพราะอาการซึมเศร้าตามฤดูกาลที่เป็นอยู่อาจพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

วางแผนล่วงหน้า

หากคุณมีประวัติเคยมีอาการซึมเศร้า เมื่อเข้าฤดูร้อนมาก่อน สิ่งแรกที่ควรทำคือการวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรับมือกับอาการที่อาจจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนที่จะถึง เช่น คุณจะผ่อนคลายความเครียดที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง โดยอาจจะใช้วิธีที่เคยในปีก่อนหน้ามาปรับใช้สำหรับฤดูร้อนนี้

นอนให้เพียงพอ

ช่วงฤดูร้อน ถือเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ ที่ถือเป็นช่วงที่หยุดติดต่อกันหลายวัน ซึ่งในฤดูร้อนเป็นช่วงที่กลางวันนั้นยาวกว่ากลางคืน จึงอาจทำให้หลาย ๆ คนเผลอนอนดึก จนนอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออาการซึมเศร้าได้ ดังนั้น คุณควรจัดตารางเวลาการนอนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้เกิดอาการซึมเศร้า

ออกกำลังกาย 

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นได้ แต่ในช่วงฤดูร้อนนั้นอาจจะร้อนเกิดไปที่จะออกกำลังกายกลางแจ้ง ดังนั้น คุณควรเลือกช่วงเวลาในการออกกำลังกายให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้ามืด หรือช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด และอากาศที่ร้อนมากเกินไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Tips for Summer Depression

https://www.webmd.com/depression/summer-depression#1

12 Signs You Suffer From Summer Depression

https://www.health.com/condition/depression/12-signs-you-suffer-from-summer-depression?slide=165a7020-0fc7-41f6-bf7d-b21ef7e0108a#165a7020-0fc7-41f6-bf7d-b21ef7e0108a

An Overview of Summer Depression

https://www.verywellmind.com/summer-depression-symptoms-risk-factors-diagnosis-treatment-and-coping-4768191

It Turns Out You Really Can Get That Summertime Sadness

https://www.healthline.com/health/summer-SAD-is-all-too-real

10 Summer Depression Busters

https://www.everydayhealth.com/columns/therese-borchard-sanity-break/summer-depression-busters/

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/09/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ คืออะไร ทำแล้วดีต่อสุขภาพจิตหรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 14/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา