ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้ มักจะมีการแสดงออกเมื่อได้รับผลกระทบในแง่ลบของการใช้งานเฟซบุ๊ก เช่น
- การมีส่วนร่วมในการทางสังคมที่ลดลง
- ชอบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์ (เมื่อเทียบกับคนอื่น)
- มักจะมีส่วนร่วมในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของตนเอง
วิธีดูแลตัวเองให้ห่างจากโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก
วิธีการเยียวยาที่ดีที่สุด คือ “งด/หลีกเลี่ยงการใช้งานเฟซบุ๊ก” ลง เช่น ลดจำนวนเวลา ความถี่ และ ความสนใจจากข้อความต่างๆ หรือความรู้สึกที่อยากจะโพสต์ลงบ้าง มันจะทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น
สำหรับวิธีรักษาและป้องกันโรคนั้นล้วนมีความเกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานเฟซบุ๊กจะต้องลด พฤติกรรมเสี่ยงที่เชื่อมโยงเฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้า ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการหลงใหลใน “อัตลักษณ์เสมือนจริง” และการรับรู้ของคนอื่น
- ลดอาการอิจฉาโดยปิดการใช้งานในการสังเกตชีวิตของคนอื่น
- หลีกเลี่ยงการยอมรับคำเชิญจากเพื่อนเก่าที่จะเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊ก
- ลดการโพสต์การอัปเดตสถานะและการโต้ตอบที่มากเกินไป
- ลดการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นในทางลบ
โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กเป็นเรื่องที่เกิดกับคนในสังคมที่อยู่ไกล้ตัวเรามาก การยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือการยึดติดกับความรู้สึกที่ไม่ดีจนนานเกินไป จะส่งผลร้ายกับตัวเราเอง สิ่งสำคัญที่สุด คือการเรียนรู้การใช้งานที่เหมาะสม การรู้จักตนเอง ทำสิ่งที่ตนเองมีความสุข ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้อย่างแน่นอน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย