backup og meta

โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ คืออะไร ทำแล้วดีต่อสุขภาพจิตหรือเปล่า

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ คืออะไร ทำแล้วดีต่อสุขภาพจิตหรือเปล่า

    ทุกวันนี้ โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตเราอย่างมาก และจากการสำรวจพบว่าคนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ 51 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 69.24 ล้านคน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นประจำ Hello คุณหมอ ชวนให้คุณลองใช้วิธี โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ ดังต่อไปนี้

    เหตุผลที่คุณควรทำโซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์

    หากคุณใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือโซเชียลมีเดีย จนกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ ก็ถึงเวลาแล้วที่คุณควรจะลองห่างกันสักพักกับโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตบ้าง นอกจากนี้การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตดังนี้

    สามารถส่งผลต่อสุขภาพจิต

    งานวิจัยในปี 2016 ให้ข้อมูลว่า ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย วัยประมาณ 20-30 ปี มีภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลเพิ่มขึ้น มากไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า ในโลกโซเชียลมีมาตรฐานความสวยความงาม และความสำเร็จที่ไม่อาจบรรลุได้ จนมีแนวโน้มว่าจะทำให้วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้รับผลกระทบ จากการอยู่ภายใต้ความกดดันของความสมบูรณ์แบบเหล่านี้

    อาจส่งผลต่อการนอนหลับ

    งานวิจัยในปี 2014 ที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง วัย 19-32 ปี ที่ใช้โซเชียลมีเดียมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉลี่ย และประมาณ 30 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า 57% รายงานว่าพวกเขามีปัญหาการนอนหลับ ซึ่งถ้าการนอนหลับถูกรบกวน จะส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดความเครียด และมีปัญหาสุขภาพตามมาในที่สุด

    โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ ทำอย่างไรบ้าง

    คุณสามารถเริ่มต้นทำโซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ ได้ดังนี้

    ปล่อยโทรศัพท์ไว้บ้าง

    ลองเปลี่ยนโทรศัพท์หรือแท็บแลต  เป็นแอร์เพลนโหมด (Airplane mode) หรือวางโทรศัพท์ไว้ในห้องอื่นๆ ในบ้าน เพื่อให้คุณมีเวลาไปทำอย่างอื่น เช่น ใช้เวลากับครอบครัว ทำอาหาร ทำงานบ้าน หรืออ่านหนังสือ ซึ่งเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงที่ไม่ได้ใช้โทรศัพท์ ก็ช่วยลดอาการติดโทรศัพท์ได้บ้างแล้ว

    ปิดการแจ้งเตือน

    เพียงแค่ปิดการแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ในโทรศัพท์ ก็ช่วยได้มากแล้ว เนื่องจากเสียงแจ้งเตือนมักจะดึงความสนใจจากเรา และบางครั้งทำให้เสียสมาธิ ดังนั้นถ้าปิดการแจ้งเตือนอาจช่วยให้ละความสนใจจากโทรศัพท์ไปได้บ้าง

    กำหนดเวลาที่ห้ามเล่นโทรศัพท์

    คุณอาจตั้งกฎกับตัวเองว่า 1-2 ชั่วโมงก่อนนอนจะไม่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรืออยู่หน้าจอก่อนนอน ถ้าจะให้ดี คุณอาจใช้นาฬิกาปลุก แทนการตั้งนาฬิกาปลุกในโทรศัพท์ และเอาโทรศัพท์ไว้นอกห้องนอน เพื่อการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

    ไม่ควรตื่นมา แล้วเช็คโทรศัพท์เป็นอย่างแรก

    สิ่งแรกที่ควรทำในตอนเช้า ไม่ควรเป็นการหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาและเลื่อนดูไปเรื่อยๆ และ 1 ชั่วโมงแรกตั้งแต่ตื่นนอน คุณอาจทำอย่างอื่น เช่น ออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณรู้สึกว่า 1 ชั่วโมงนานเกินไป อาจเริ่มที่ 15 นาทีหลังตื่นนอนจะไม่จับโทรศัพท์

    เขตปลอดโทรศัพท์

    ให้สร้างกฎกับตัวเองว่า สถานที่หรือมุมบางมุมในบ้านจะต้องเป็นเขตปลอดโทรศัพท์ เช่น โต๊ะกินข้าวเวลาที่กินอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัว หรือในห้องนอน รวมถึงร้านอาหารเวลาที่ไปเจอเพื่อน

    ให้รางวัลตัวเอง ด้วยเวลาว่าง

    ในแต่ละวัน คุณควรให้รางวัลตัวเองด้วยเวลาว่าง 1 ชั่วโมง โดยเงื่อนไขคือในเวลานี้คุณจะไม่ใช้อินเทอร์เน็ต หรือเข้าโซเชียลมีเดีย เพื่อให้มีเวลาอยู่กับตัวเองจริงๆ โดยคุณอาจใช้เวลา 1 ชั่วโมงนี้ไปกับการดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นบอร์ดเกมส์ ทำกิจกรรมที่ชอบ หรือออกกำลังกาย

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา