backup og meta

ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้หญิง มีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้หญิง มีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้หญิง อาจเกิดจากภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งของการพยายามตั้งครรภ์ ถึงแม้จะพยายามมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งก็ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ สาเหตุอาจเกิดจากโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก และโรคต่อมไทรอยด์ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะยิ่งผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี อาจเพิ่มโอกาสภาวะมีบุตรยากสูงขึ้น

[embed-health-tool-ovulation]

ภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง คืออะไร

ภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง เป็นภาวะหนึ่งของการพยายามตั้งครรภ์ ถึงแม้จะพยายามมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งก็ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ สาเหตุอาจเกิดจากโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก และโรคต่อมไทรอยด์ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี อาจเพิ่มโอกาสภาวะมีบุตรยากสูงขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงมีลูกยากในผู้หญิง มีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้มีลูกยากในผู้หญิงมีด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้

ความผิดปกติของการตกไข่

ความผิดปกติของการตกไข่ เป็นภาวะที่ไข่ตกน้อยหรือไม่ตกเลย ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนสืบพันธ์ุ ต่อมใต้สมอง หรือปัญหาในรังไข่ที่ส่งผลต่อความผิดปกติของการตกไข่

  • ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนส่งผลต่อการตกไข่ มีความเกี่ยวข้องกับอินซูลินและโรคอ้วน ทำให้ขนขึ้นผิดปกติบนใบหน้าหรือร่างกาย มีสิว
  • ความผิดปกติของไฮโปทาลามิค (Hypothalamic Dysfunction) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมใต้สมอง ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการตกไข่ในแต่ละเดือน ความเครียดทางร่างกายและอารมณ์ น้ำหนักตัวที่สูงและต่ำเกินไป หรือเพิ่มและลดลงอย่างรวดเร็ว อาจเข้าไปขัดขวางการผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้ส่งผลกระทบต่อการตกไข่
  • ภาวะรังไข่หยุดทำงาน (Premature Ovarian Failure) มักเกิดจากการตอบสนองของภูมิต้านทานที่ผิดปกติ รังไข่ไม่ผลิตไข่และลดการผลิตเอสโตรเจนในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 40 ปี
  • ภาวะโปรแลคตินในเลือดสูง (Hyperprolactinemia) เกิดจากต่อมใต้สมองผลิตโปรแลคตินมากเกินไป ส่งผลทำให้ลดการผลิตเอสโตรเจนและอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง ซึ่งภาวะนี้มักเกี่ยวข้องกับปัญหาต่อมใต้สมอง

ท่อนำไข่เสียหาย

ท่อนำไข่เสียหาย คือ การที่ท่อนำไข่ถูกปิดกั้น ทำให้สเปิร์มไม่สามารถเข้าถึงไข่ หรือปิดกั้นทางเดินไข่ที่จะเข้าไปปฏิสนธิในมดลูก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

  • โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID) เกิดขึ้นเมื่ออวัยวะสืบพันธ์ุเพศหญิงติดเชื้อ ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวของกับการตั้งครรภ์ อวัยวะที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ มดลูก รังไข่ และท่อนำไข่ คุณอาจมีอาการปวดท้องส่วนล่าง หรือมีสารคัดหลั่งออกจากช่องคลอด ส่วนใหญ่ ผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ มีผลมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ทำให้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • เคยผ่าตัดช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน หรือเคยตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นเมื่อไข่ปฏิสนธิและฝังตัวนอกมดลูก มักเกิดขึ้นจากการที่ท่อนำไข่ไม่สามารถรองรับการตั้งครรภ์ได้ ทั้งยังอาจส่งผลทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ความผิดปกติของปากมดลูก

ความผิดปกติของมดลูกนั้น อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง ซึ่งความผิดปกตินี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • เนื้องอก มักพบในมดลูก โดยเนื้องอกบางชนิดอาจปิดกั้นท่อนำไข่หรือขัดขวางการฝังตัว ส่งผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
  • เกิดแผลเป็นจากเยื่อบุโพรงมดลูกหรือการอักเสบภายในมดลูก สิ่งเหล่านี้อาจขัดขวางการฝังตัวของไข่ จนอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
  • มดลูกผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด โดยมดลูกอาจมีรูปร่างผิดปกติจนส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
  • ปากมดลูกตีบ อาจเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรมหรือปากมดลูกเกิดความเสียหายบางอย่าง
  • มดลูกแห้ง โดยปกติมดลูกจะผลิตมูกที่ดี เพื่อให้อสุจิสามารถเดินทางผ่านปากมดลูกเข้าสู่มดลูกได้ เมื่อมดลูกแห้งจึงอาจทำให้การเกิดทางของอสุจิไปยังมดลูกเกิดปัญหา จนทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงขึ้นได้
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตนอกมดลูก อาจเกิดขึ้นบริเวณผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก หรือบริเวณช่องท้องจนไปเจริญเติบโตในอวัยวะต่าง ๆ เช่น เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังลำไส้ ผนังกระเพาะปัสสาวะ การเจริญผิดที่นี้และการผ่าตัดเอาออกอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งเป็นการขัดขวางท่อนำไข่ทำให้ไข่กับสเปิร์มไม่สามารถปฏิสนธิกันได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Infertility. https://www.womenshealth.gov/a-z-topics/infertility. Accessed July 15, 2021

What are some causes of infertility?. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/infertility/conditioninfo/causes. Accessed July 15, 2021

Infertility in women. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/ConditionsAndTreatments/infertility-in-women. Accessed July 15, 2021

MANAGEMENT OF ENDOCRINE DISEASE: Thyroid and female infertility: more questions than answers?!. https://eje.bioscientifica.com/view/journals/eje/184/4/EJE-20-1284.xml. Accessed July 15, 2021

Pelvic Inflammatory Disease (PID). https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9129-pelvic-inflammatory-disease-pid. Accessed July 15, 2021

Infertility Causes. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16083-infertility-causes. Accessed July 15, 2021

Female infertility. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/female-infertility/symptoms-causes/syc-20354308. Accessed July 15, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/03/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจภาวะมีบุตรยาก เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปพบคุณหมอ

รักษาภาวะมีบุตรยาก ทำได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 11/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา