เตรียมตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ต้องใช้เวลาในการวางแผนและการเตรียมตัว ตั้งแต่เรื่องการเจริญพันธุ์ ไปจนถึงความเสี่ยงที่อาจมาพร้อมกับการตั้งครรภ์ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ เตรียมตั้งครรภ์ ตั้งแต่การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดไปจนถึงวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เตรียมตั้งครรภ์

วิธีนับรอบเดือน ช่วยคำนวณวันไข่ตก เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

วิธีนับรอบเดือน ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ด้วยการคำนวณวันไข่ตก การจดบันทึกรอบเดือนหรือประจำเดือนจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังช่วยให้คำนวณวันปลอดภัยในรอบเดือน เป็นการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ ประจำเดือน คืออะไร ในทุกเดือนไข่ 1 ใบจะเคลื่อนตัวออกจากรังไข่ โดยไข่ที่ออกมาจะเคลื่อนไปตามท่อรังไข่หรือปีกมดลูกไปยังมดลูก ในช่วงเวลานั้นหากไข่ผสมกับตัวอสุจิก็จะเคลื่อนไปฝังตัวที่มดลูก แต่หากไข่ไม่ได้รับการผสมกับตัวอสุจิ ผนังมดลูกและไข่จะหลุดลอกออกมาทางช่องคลอด เลือดที่ไหลออกมาทางช่องคลอดของผู้หญิง จะเรียกว่า ประจำเดือน แต่ละครั้งจะมีประมาณ 3-7 วัน วิธีนับรอบเดือน ช่วงเวลาระหว่างประจำเดือนแต่ละครั้งจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนมาจนถึงวันก่อนมีประจำเดือนครั้งต่อไป โดยทั่วไป ระยะห่างของแต่ละรอบเดือนอยู่ที่ 24-38 วัน สามารถลองเทียบได้จากวันแรกของประจำเดือนรอบนี้ กับวันแรกของประจำเดือนครั้งก่อน คำนวณหาวันปลอดภัยด้วยวิธีนับรอบเดือน การคำนวณหาวันปลอดภัยเป็นการคุมกำเนิดที่เหมาะกับผู้ที่มีรอบประจำเดือนสม่ำเสมอ ช่วงที่ปลอดภัยหรือมีเพศสัมพันธ์แล้วไม่ตั้งครรภ์ คือ ก่อน 7 หลัง 7 เป็นช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำ จึงต้องใช้วิธีนับรอบเดือนเพื่อหาช่วงก่อนมีประจำเดือน 7 วัน และหลังจากมีประจำเดือน 7 วัน วิธีนี้มีความผิดพลาดได้ค่อนข้างสูง หากใช้วิธีนับรอบเดือนเพื่อการคุมกำเนิด ควรใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย  วิธีคำนวณกรณีประจำเดือนมาสม่ำเสมอให้วันที่ 12 – 16 เป็นวันที่ ไม่ปลอดภัย เช่น หากประจำเดือนห่างกันรอบละ 30 วัน วันที่ 1-7 หลังมีประจำเดือน และก่อนมีประจำเดือน […]

สำรวจ เตรียมตั้งครรภ์

เตรียมตั้งครรภ์

ที่ตรวจครรภ์แบบหยด ใช้งานอย่างไร และวิธีอ่านผลการตรวจครรภ์

ที่ตรวจครรภ์แบบหยด (Pregnancy Test Cassette) เป็นชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่สามารถทราบผลได้ภายใน 5 นาที สามารถให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูงถึง 99% เมื่อใช้หลังจากประจำเดือนมาช้ากว่าปกติอย่างน้อย 1 สัปดาห์และใช้ตามวิธีที่แนะนำอย่างถูกต้อง ที่ตรวจครรภ์แบบหยด 1 ชุด จะประกอบด้วยหลอดหยด (Droper) ถ้วยรองปัสสาวะ และแท่งทดสอบปัสสาวะ (Strip) อย่างละ 1 ชิ้น และเพื่อป้องกันผลตรวจคลาดเคลื่อน ผู้ทดสอบควรตรวจสอบวันหมดอายุ และอ่านคำแนะนำที่แนบมากับผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดก่อนใช้งานทุกครั้ง [embed-health-tool-ovulation] ตรวจตั้งครรภ์ เร็วสุดกี่วัน หากสงสัยว่าตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถเริ่มตรวจการตั้งครรภ์ได้เมื่อประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนดอย่างน้อย 7 วัน โดยการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเอชซีจี (HCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่ผลิตจากเซลล์ของรกหลังจากไข่และอสุจิผสมกันเรียบร้อยแล้ว ฮอร์โมนนี้จะช่วยควบคุมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และเอสโตรเจน (Oestrogen) ทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปตามปกติ หากอาการประจำเดือนมาช้าอย่างน้อย 7 วันที่พบเกิดจากการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอชซีจีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอยู่ในระดับที่สามารถตรวจจับได้จากการตรวจเลือดและการตรวจปัสสาวะ แต่หากตรวจเร็วกว่านี้ ฮอร์โมนนี้อาจยังอยู่ในระดับต่ำเกินไปจนทำให้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้ การตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองด้วยที่ตรวจครรภ์แบบหยดควรทำในช่วงเช้าและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอน ซึ่งเป็นช่วงที่ปัสสาวะเข้มข้นและมีระดับฮอร์โมนเอชซีจีสูงกว่าช่วงอื่นของวัน หากมีแถบสีแดงขึ้นบนที่ตรวจครรภ์ 2 ขีด นั่นคือผลเป็นบวก […]


เตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์

ช่วงไข่สุกคือ ตอนไหน ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้อย่างไร

ช่วงไข่สุกคือ ช่วงก่อนถึงวันไข่ตกและวันไข่ตก เป็นช่วงที่มีการตกไข่จากรังไข่ไปยังท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิ ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะเจริญพันธุ์สูงสุดและมีโอกาสการตั้งครรภ์ในรอบเดือนนั้น ๆ โดยแต่ละรอบเดือนจะมีช่วงไข่สุกประมาณ 6 วัน การทราบว่าช่วงไข่สุกของตัวเองคือตอนไหนอาจช่วยให้สามารถวางแผนการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีคำนวณช่วงไข่สุกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนับวัน การตรวจมูกที่ปากมดลูก การใช้ที่ตรวจไข่ตก โดยการตรวจจะได้ผลแม่นยำมากที่สุดเมื่อใช้กับผู้หญิงที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ [embed-health-tool-ovulation] ช่วงไข่สุกคือ ตอนไหน Fertile window หรือ ช่วงไข่สุกคือ ช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงขึ้น จนทำให้ไข่สุกและเคลื่อนตัวออกจากรังไข่ ถือเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของผู้หญิงพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์หรืออยู่ในภาวะเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุดของรอบเดือนนั้น ๆ ช่วงไข่สุกคือ 5 วันก่อนถึงวันไข่ตกและวันไข่ตก รวมแล้วจะมีช่วงไข่สุกประมาณ 6 วัน โดยปกติแล้ว อสุจิที่เข้าสู่ช่องคลอดจะมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงได้ไม่เกิน 5 วัน และไข่ที่ถูกปล่อยออกมาจากรังไข่เพื่อรอปฏิสนธิที่ปลายท่อนำไข่จะสลายตัวไปภายใน 12-24 ชั่วโมง การทราบถึงช่วงเวลาที่เกิดการตกไข่ จึงอาจช่วยให้สามารถคาดคะเนเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการพยายามตั้งครรภ์ได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้คู่รักสามารถวางแผนการตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการเกิดการปฏิสนธิและตั้งครรภ์ ช่วงไข่สุก อาการ เป็นอย่างไร อาการที่แสดงว่าร่างกายของผู้หญิงอยู่ในช่วงไข่สุก อาจมีดังนี้ เมือกใสในช่องคลอดเพิ่มขึ้น เมือกใสในช่องคลอดที่มีลักษณะคล้ายไข่ขาว ใส ไม่ส่งกลิ่น สามารถยืดออกได้เป็นแผ่นบาง ๆ อาจเพิ่มปริมาณจนสังเกตหรือรู้สึกได้ การตกไข่มักเกิดขึ้นในวันที่ช่องคลอดหลั่งเมือกใสออกมาในปริมาณมากที่สุด และเมื่อพ้นวันไข่ตกไปเมือกใสก็จะมีปริมาณน้อยลง หนาตัวขึ้น และสังเกตเห็นได้น้อยลง อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนไป ในช่วงเริ่มต้นรอบเดือน […]


เตรียมตั้งครรภ์

วิธีตรวจครรภ์แบบจุ่ม และการอ่านผลการตรวจครรภ์

วิธีตรวจครรภ์แบบจุ่ม (Pregnancy Strip Test) เป็นชุดตั้งครรภ์ที่ใช้งานง่ายและช่วยให้รู้ผลตรวจครรภ์ได้อย่างรวดเร็ว มีราคาตั้งแต่ 50-90 บาท ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม 1 ชุดจะประกอบไปด้วยถ้วยรองปัสสาวะ และแผ่นตรวจหรือที่ตรวจครรภ์แบบพลาสติกอย่างละ 1 ชิ้น โดยทั่วไปการตรวจครรภ์แบบจุ่มมักให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำประมาณ 97-99% แต่ผลตรวจก็อาจคลาดเคลื่อนได้ หากชุดตรวจหมดอายุ หรือตรวจไม่ถูกวิธี จึงควรตรวจสอบวันหมดอายุก่อนใช้งานทุกครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับผลิตภัณฑ์ [embed-health-tool-due-date] ตรวจครรภ์ตอนไหนดี หากสังเกตว่าประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ ถึงวันที่ควรมาแล้วแต่กลับไม่มา และก่อนหน้านั้นมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือสงสัยว่าการป้องกันไม่ได้ผล อาจใช้ที่ตรวจครรภ์ได้หลังจากประจำเดือนมาช้าไปประมาณ 1 สัปดาห์ โดยใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอน เพราะมีระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์หรือเอชซีจี (HCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin) เข้มข้นกว่าช่วงอื่นของวัน ส่งผลให้ได้ผลตรวจการตั้งครรภ์ที่แม่นยำขึ้น โดยฮอร์โมนเอชซีจีเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากเซลล์รกที่เกิดขึ้นหลังจากไข่ที่ผสมแล้วฝังตัวในผนังมดลูก ส่วนใหญ่ฮอร์โมนนี้จะเริ่มหลั่งหลังการปฏิสนธิประมาณ 10 วัน หากตรวจครรภ์เร็วกว่านั้น อาจทำให้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้ และหลังจากตรวจครรภ์รอบแรกแล้วควรรออีกสัก 2-3 วันจึงตรวจซ้ำอีกรอบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แน่นอนขึ้น หากตรวจแล้วผลออกมาเป็นบวกเหมือนเดิม และแน่ใจว่าใช้ที่ตรวจครรภ์ถูกวิธี ที่ตรวจครรภ์ยังไม่หมดอายุ ส่วนใหญ่แปลว่าตั้งครรภ์แน่นอน วิธีตรวจครรภ์แบบจุ่ม วิธีตรวจครรภ์แบบจุ่ม อาจทำได้ดังนี้ ถ่ายปัสสาวะใส่ถ้วยรองปัสสาวะตามขีดที่กำหนด จุ่มส่วนปลายของแผ่นตรวจหรือปลายอุปกรณ์ตรวจลงไปในถ้วยรองปัสสาวะไม่ให้เกินขีดที่กำหนด ประมาณ 5 วินาที […]


เตรียมตั้งครรภ์

ANC คือ อะไร ดีต่อสุขภาพการตั้งครรภ์อย่างไร

ANC (Antenatal Care) คือ การฝากครรภ์ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรปฏิบัติโดยเร็วเมื่อทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้คุณหมอสามารถตรวจสุขภาพร่างกายของคุณแม่เพื่อป้องกันโรคที่อาจส่งต่อสู่ทารกในครรภ์ และสามารถติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ให้เติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งยังช่วยป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะแท้ง และวางแผนสำหรับช่วงเวลาและวิธีการคลอดที่เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละราย [embed-health-tool-due-date] ANC คืออะไร ANC คือ การฝากครรภ์ที่เป็นการดูแลสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์จากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ มีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมทั้งมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ ประเมินสิ่งต่างๆ เช่น หมู่เลือด ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจโรคประจำตัวของคุณแม่ที่อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ เพื่อสรุปเป็นความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ในคุณแม่แต่ละราย ซึ่งคุณแม่ควรเข้ารับการฝากครรภ์โดยเร็วที่สุดเมื่อทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ จากนั้นคุณหมอจะนัดหมายคุณแม่ในแต่ละสัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เพื่อตรวจการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และตอบคำถามเกี่ยวข้อสงสัยต่าง ๆ ของคุณแม่ ควรเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ คุณแม่ควรฝากครรภ์โดยเร็วที่สุดเมื่อทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยสามารถเข้าฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ได้ทุกโรงพยาบาล ซึ่งคุณหมออาจนัดหมายให้เข้ามาตรวจสุขภาพครรภ์ประมาณ 8-10 ครั้ง สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกและไม่มีปัญหาสุขภาพ แต่สำหรับผู้ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนคุณหมออาจนัดหมายประมาณ 7-9 ครั้ง หากไม่เคยมีปัญหาสุขภาพในระหว่างตั้งครรภ์ โดยอาจมีตารางการนัดหมาย โดยประมาณ ดังนี้ สัปดาห์ที่ 4-28 ของการตั้งครรภ์ พบคุณหมอ 1 ครั้ง/เดือน สัปดาห์ที่ 28-36 ของการตั้งครรภ์ […]


เตรียมตั้งครรภ์

ฝาก ไข่ ทางเลือกของคนอยากมีลูกในอนาคต

ฝาก ไข่ เป็นวิธีการเก็บรักษาเซลล์ไข่ของผู้หญิงที่ต้องการมีบุตร ด้วยการแช่แข็งไข่ในสารไนโตรเจนเหลว วิธีนี้เป็นกระบวนการซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ผู้สนใจควรศึกษาขั้นตอนในการฝากไข่และความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นอย่างละเอียด และควรปรึกษาคุณหมอให้เข้าใจถ่องแท้ก่อนตัดสินใจฝากไข่ [embed-health-tool-ovulation] การฝากไข่ คืออะไร การฝากไข่ คือ วิธีเก็บรักษาไข่ของผู้หญิงเอาไว้เพื่อให้ไข่ยังคงสมบูรณ์และสามารถผสมกับอสุจิจนเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนได้ในอนาคต วิธีนี้อาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี หากฝากไข่ตอนอายุเกิน 40 ปี อาจได้ปริมาณไข่น้อยกว่าและไข่มีคุณภาพด้อยกว่าผู้ที่ฝากไข่ตอนอายุยังน้อย จำนวนของไข่ที่สามารถดึงออกมาจากรังไข่ได้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากไข่ที่ดึงออกมาได้อาจไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมด ไข่บางส่วนอาจนำไปแช่แข็งไม่สำเร็จ บางส่วนอาจแช่แข็งสำเร็จแต่ใช้ไม่ได้เมื่อนำไปละลาย หรือบางส่วนอาจไม่สามารถปฏิสนธิแล้วพัฒนาไปเป็นเอ็มบริโอหรือตัวอ่อน (Embryos) ได้ ยิ่งฝากไข่ตอนอายุน้อยเท่าไหร่ ก็มักจะได้จำนวนไข่มากขึ้นเท่านั้น เช่น ผู้หญิงวัย 20-30 ปี อาจสามารถเก็บไข่ได้ครั้งละประมาณ 15-25 ฟอง ในขณะที่ผู้หญิงวัย 40 ปี อาจมีไข่ให้เก็บได้ครั้งละเพียง 8-10 ฟองเท่านั้น การฝากไข่สามารถใช้ได้กับทั้งผู้ที่ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ในช่วงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาโรคบางชนิดที่อาจกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธ์ุ มดลูก หรือไข่ของผู้หญิง เช่น โรคมะเร็งที่ต้องฉายรังสีและทำคีโม การฝากไข่เป็นการเก็บไข่ที่ยังไม่ได้ผสมออกมาแช่แข็งไว้ใช้ภายหลัง เมื่อถึงเวลาที่พร้อมสำหรับการมีลูก คุณหมอจะนำเซลล์ไข่ที่แช่แข็งมาละลายรวมกับอสุจิในห้องแล็บ เป็นการปฏิสนธินอกร่างกาย สามารถเลือกทำได้ 2 แบบ คือ การทำเด็กหลอดแก้ว (In-Vitro […]


เตรียมตั้งครรภ์

วิธีใช้ที่ตรวจครรภ์ และการอ่านผลทดสอบการตั้งครรภ์

วิธีใช้ที่ตรวจครรภ์ เป็นการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง เพื่อตรวจยืนยันว่าตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถเข้ารับการตรวจตรวจครรภ์จากคุณหมอได้อีกด้วย สำหรับคนที่ต้องการตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง ควรศึกษาวิธีใช้ที่ตรวจครรภ์อย่างละเอียด เพราะหากตรวจอย่างถูกวิธีตามคู่มือการใช้งาน ผลการทดสอบอาจแม่นยำถึง 99% [embed-health-tool-ovulation] ควรตรวจครรภ์เมื่อใด ควรตรวจครรภ์ทันทีหากมีสัญญาณเตือนทางร่างกาย ดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด เป็นอาการแรกเริ่มที่เกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ปฏิสนธิแล้วกำลังฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก บางคนอาจมีเลือดออกมาจากช่องคลอดเล็กน้อย ปวดท้องเกร็ง หรือมีตกขาว ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับตกขาวที่มีสีเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนเป็นสีขาวเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีกลิ่น ร่วมกับมีอาการแสบร้อนและคันช่องคลอด ควรเข้ารับการตรวจจากคุณหมอทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณจากติดเชื้อที่ช่องคลอด คลื่นไส้ อาเจียน อาจเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะตอนเช้า หรือเมื่อได้กลิ่นของอาหารบางชนิด แม้กระทั่งอาหารที่เคยชอบ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ อาการอาเจียนอาจบรรเทาลงเมื่อเข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 13-14 แต่สำหรับบางคนอาจไม่มีอาการแพ้ท้องคลื่นไส้ อาเจียนใด ๆ เหนื่อยล้า เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายอาจเพิ่มขึ้นสูงขึ้นเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของทารก ทำให้อาจรู้สึกเหนื่อยล้าง่าย อ่อนเพลีย รวมถึงอาจส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนง่ายอีกด้วย ปัสสาวะบ่อย มักเกิดขึ้นในช่วง 6-8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต ทำให้ปัสสาวะบ่อย และมดลูกเริ่มขยายตัวมากขึ้น คัดเต้านม หากสังเกตว่าเต้านมขยาย คัดเต้า เจ็บเต้านม หัวนมมีสีเข้ม […]


เตรียมตั้งครรภ์

มีลูกตอนอายุเท่าไหร่ดี วิธีเตรียมตัวและดูแลตัวเอง

สำหรับผู้ที่ต้องการมีลูก อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่า มีลูกตอนอายุเท่าไหร่ดี อายุของตัวเองน้อยไป หรือมากเกินไปสำหรับการมีลูกหรือไม่ และควรเตรียมตัวอย่างไร โดยปกติแล้ว อายุที่เหมาะสมที่จะมีลูกมักอยู่ในช่วง 20-30 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์มากที่สุด และมีลูกง่ายที่สุด การศึกษาข้อมูลเรื่องช่วงวัยที่เหมาะสมและวิธีการดูแลตัวเอง จะช่วยให้วางแผนมีลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีลูกตอนอายุเท่าไหร่ดี และอายุมีผลต่อการมีลูกอย่างไรบ้าง วัยที่เหมาะสมของผู้หญิงที่ต้องการมีลูก คือ อายุประมาณ 20-30 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเจริญพันธุ์และสามารถมีลูกได้ง่ายที่สุด มีโอกาสถึง 1 ใน 3 ที่ผู้หญิงจะตั้งครรภ์ได้ในหนึ่งรอบประจำเดือน หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้หญิงประมาณ 30 คนจาก 100 คน สามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จใน 1 เดือน และมีโอกาสแท้งลูกน้อยกว่า 15% ภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงจะเริ่มถดถอยลงเมื่อมีอายุได้ 35 ปี และจะลดลงเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอจนถึงวัยหมดประจำเดือน ในขณะที่โอกาสในการแท้งลูกจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ เช่น เมื่อตั้งครรภ์ในวัย 40 ปี ความเสี่ยงในการแท้งลูกอาจสูงถึง 40% และส่วนใหญ่ เมื่อถึงอายุ 45 ปี โอกาสในการตั้งครรภ์อาจแทบไม่มีเลย ความเสี่ยงเมื่อตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปี หากตั้งครรภ์ตอนอายุมากขึ้น […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

ทำหมันแล้วอยากมีลูก เป็นไปได้ไหม ต้องทำอย่างไรบ้าง

ทำหมันแล้วอยากมีลูก หมายถึง การที่หญิงหรือชายซึ่งทำหมันแบบถาวรไปแล้วต้องการกลับมามีลูกอีกครั้ง ซึ่งอาจทำได้ด้วย การแก้หมัน หรือการทำเด็กหลอดแก้ว โดยวิธีแก้หมันคือการผ่าตัดอีกครั้งให้ระบบสืบพันธุ์ซึ่งทำหมันแล้วกลับมาเป็นปกติ อสุจิและไข่สามารถปฏิสนธิกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติ ในขณะที่การทำเด็กหลอดแก้ว คือการปฏิสนธิระหว่างไข่และอสุจิภายนอกร่างกาย แล้วนำตัวอ่อนไปไว้ในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้ทารกเติบโตในครรภ์ต่อไป [embed-health-tool-ovulation] ทำหมันแล้วอยากมีลูกด้วยวิธีการแก้หมัน แก้หมัน หมายถึง การทำให้ชายหรือหญิงที่ทำหมันแล้ว กลับมามีลูกได้อีกครั้งด้วยการผ่าตัด โดยแบ่งเป็นการแก้หมันชายและแก้หมันหญิง แก้หมันชาย คือ การผ่าตัดต่อท่อนำอสุจิ หลังจากถูกตัดหรือผูกไว้เนื่องจากการทำหมัน เพื่อให้ตัวอสุจิสามารถผ่านท่อนำอสุจิออกไปรวมกับน้ำเชื้อได้อีกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายซึ่งทำหมันแล้วอยากมีลูก สามารถขอรับการแก้หมันได้ที่สถานพยาบาล โดยคุณหมอจะขอตรวจสุขภาพของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เพื่อตรวจดูโอกาสสำเร็จของการแก้หมัน รวมถึงโอกาสมีบุตรของทั้งคู่ หากโอกาสสำเร็จในการแก้หมันสูง รวมทั้งสภาพร่างกายของทั้งคู่พร้อมมีบุตร คุณหมออาจพิจารณาแก้หมันให้ ขั้นตอนการแก้หมันชาย ในการแก้หมันชายซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง คุณหมอจะเริ่มต้นด้วยการกรีดถุงอัณฑะของคนไข้ แล้วส่องกล้องจุลทรรศน์เข้าไปสำรวจหาท่อนำอสุจิ เมื่อพบแล้ว คุณหมอจะเย็บต่อท่ออสุจิเข้าด้วยกัน หากวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล คุณหมอจะเลือกเย็บท่อนำอสุจิเข้ากับหลอดเก็บตัวอสุจิโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่ซับซ้อนกว่า โอกาสสำเร็จในการแก้หมันชาย หลังแก้หมันแล้ว จะยังไม่พบตัวอสุจิในน้ำเชื้อทันที คุณหมอจะนัดตรวจจำนวนอสุจิเป็นระยะ เพื่อดูว่าการแก้หมันสำเร็จหรือไม่ โดยปกติจำนวนอสุจิอาจคืนกลับมาหลังการผ่าตัดแก้หมันภายใน 2-3 เดือน อย่างไรก็ตาม บางรายอาจต้องรอนานกว่านั้น ทั้งนี้ ความสำเร็จของการแก้หมัน ยังเกี่ยวข้องกับระยะห่างหลังจากทำหมัน หน่วยงาน National Health Service ของสหราชอาณาจักร ระบุว่า หากผู้ชายแก้หมันภายใน 3 ปีหลังทำหมัน โอกาสสำเร็จโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 75 […]


ปัญหามีบุตรยากและการรักษา

การทำเด็กหลอดแก้ว การเตรียมตัว และความเสี่ยง

การทำเด็กหลอดแก้ว เป็นวิธีการตั้งครรภ์โดยใช้เทคนิคทางการแพทย์เข้ามาช่วย โดยการนำไข่และอสุจิออกมาผสมกันในห้องปฏิบัติการ ก่อนจะนำไข่ที่ปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อนแล้วกลับเข้าสู่มดลูกเพื่อให้พัฒนาเป็นทารกในครรภ์ต่อไป การทำเด็กหลอดแก้วอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย และการเตรียมตัว เพื่อประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกวิธีนี้เพื่อมีบุตร [embed-health-tool-ovulation] การทำเด็กหลอดแก้ว คืออะไร การทำเด็กหลอดแก้ว เป็นเทคนิคการผสมเทียมในหลอดแก้ว โดยการคัดเลือกไข่และอสุจิที่มีสุขภาพดี มาผสมกันภายในหลอดแก้วในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจะนำไปไว้ในตู้ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรอจนเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน ก่อนจะนำกลับเข้าสู่มดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนได้ฝังตัวในมดลูก และพัฒนาเป็นทารกในครรภ์ วิธีการทำเด็กหลอดแก้วเหมาะสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก การตกไข่ผิดปกติ อสุจิอ่อนแอ และท่อนำไข่อุดตัน การเตรียมตัวก่อนทำเด็กหลอดแก้ว ก่อนเริ่มทำเด็กในหลอดแก้ว คุณหมออาจให้คุณพ่อคุณแม่เข้ารับการตรวจคัดกรอง ดังนี้ ตรวจปริมาณและคุณภาพของไข่ที่จะนำมาผสม โดยทดสอบความเข้มข้นของฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ (Follicle Stimulating Hormone: FSH) ฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน (Anti-Mullerian Hormone: AMH) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ เป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการทำงานของรังไข่หรือบอกจำนวนไข่ที่สามารถผลิตได้ และฮอร์โมนเอสตราไดออล (Estradiol) ร่วมกับการอัลตราซาวด์ เพื่อให้คุณหมอทราบว่ารังไข่จะตอบสนองต่อยารักษาภาวะเจริญพันธ์ุหรือไม่ ตรวจมดลูก คุณหมออาจใช้ของเหลวฉีดผ่านปากมดลูกเข้าไปด้านในแล้วทำอัลตราซาวด์ หรือใช้กล้องขนาดเล็กส่องภายใน เพื่อตรวจเยื่อบุมดลูกก่อนการทำเด็กในหลอดแก้ว จำลองการย้ายตัวอ่อนจำลองเข้าโพรงมดลูก คุณหมออาจจำลองการย้ายตัวอ่อนร่วมกับการใช้เทคนิคการย้ายตัวอ่อนที่เหมาะสม เพื่อให้ทราบความลึกของโพรงมดลูกที่ตัวอ่อนจะมีโอกาสฝังตัวในมดลูก ตรวจคุณภาพของน้ำอสุจิ เพื่อประเมินว่ามีภาวะเจริญพันธุุหรือไม่ และตรวจดูคุณภาพของตัวอสุจิว่าสมบูรณ์พร้อมหรือไม่ ตรวจคัดกรองโรค เช่น เอชไอวี (HIV) ซิฟิลิส […]


เตรียมตั้งครรภ์

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม อาจเป็นสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจมีสาเหตุจากสภาวะอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ความดันโลหิตต่ำ ลำไส้อุดตัน ความเครียด ดังนั้น หากสงสัยหรือกังวลใจว่าตนเองตั้งครรภ์ และประจำเดือนขาดนานกว่า 2 เดือน ควรตรวจครรภ์ด้วยตนเองหรือเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่ชัดเจนของอาการดังกล่าว [embed-health-tool-ovulation] สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์แรกเริ่ม อาจสังเกตได้จากอาการ เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม อาเจียน ประจำเดือนขาดนานกว่า 2 เดือน หรือบางคนอาจมีเลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการฝังตัวของตัวอ่อน และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนขาดอาจไม่ได้หมายความว่าตั้งครรภ์เสมอไป เพราะอาจมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความเครียด ความเหนื่อยล้า ยาคุมกำเนิด ดังนั้น จึงควรตรวจการตั้งครรภ์เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าตั้งครรภ์หรือไม่ สัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์อื่น ๆ มีดังนี้ ไวต่อกลิ่น อาการไวต่อกลิ่นอาจส่งผลให้รู้สึกเหม็นสิ่งรอบตัวที่แต่เดิมไม่รู้สึกว่าเหม็น เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นอาหาร  อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อความอยากอาหาร อาจรู้สึกอยากรับประทานอาหารแปลก ๆ อาการเหล่านี้อาจบรรเทาลงในช่วงสัปดาห์ที่ 13-14 ของการตั้งครรภ์ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม