backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

เป็น เบาหวาน ตอน ตั้ง ครรภ์ คลอด เอง ได้ ไหม

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 31/03/2023

เป็น เบาหวาน ตอน ตั้ง ครรภ์ คลอด เอง ได้ ไหม

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ และหากเป็นตอนตั้งครรภ์ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ หากสงสัยว่า เป็น เบาหวาน ตอน ตั้ง ครรภ์ คลอด เอง ได้ ไหม คำตอบคือได้ แต่หากพิจารณาพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ที่เป็นข้อห้ามหรือข้อระวังในการคลอดเองตามธรรมชาติอาจจะพิจารณาผ่าตัดคลอด เช่น คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ทำให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนัดตัวที่เยอะเกิณเกณฑ์มาก ๆ เป็นต้น

เบาหวาน คืออะไร

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ความดันสูง วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด

ทั้งนี้ แม้เบาหวานจะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ในบางครั้งอาจเกิดขึ้นชั่วคราว โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งพบประมาณ 2-10% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด และจะหายไปเองหลังคลอด

เบาหวาน เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์อย่างไร

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ทั้งก่อนตั้งครรภ์หรือขณะตั้งครรภ์ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และส่งผลเสียต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนี้

หญิงตั้งครรภ์

  • เพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคไต ในกรณีที่เป็นเบาหวานมานาน และมักเป็นกลุ่มที่เป็นมาก่อนตั้งครรภ์

ทารกในครรภ์

  • น้ำตาลในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • ออกซิเจนต่ำ
  • ธาตุเหล็กในเลือดต่ำ
  • หัวใจโตกว่าปกติ และทำงานผิดปกติ
  • พัฒนาการของระบบประสาทหรือปอดแย่ลง
  • เสียชีวิตในครรภ์
  • ตัวใหญ่กว่าปกติ หรือน้ำหนักตัวเกิน 4 กิโลกรัม
  • ในรายที่น้ำตาลในเลือดสูงมากจนเลือดไหวเวียนมาที่รกผิดปกติ อาจทำให้ทารกในครรภ์ไม่เจริญเติบโต หรือทารกตัวเล็กกว่าเกณฑ์ได้
  • ต้องคลอดก่อนกำหนด มีภาวะตายคลอด

ทารก หลังคลอด

  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • หายใจลำบาก
  • ตัวเหลือง
  • พิการแต่กำเนิด หัวใจ หลอดเลือด สมอง หรือไขสันหลัง
  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนตั้งแต่เด็ก หรือเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

เป็น เบาหวาน ตอน ตั้ง ครรภ์ คลอด เอง ได้ ไหม

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถคลอดบุตรเองได้ โดยคุณหมอมักแนะนำให้คลอดหลังสัปดาห์ที่ 38 เป็นต้นไป เพราะหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานจะทำให้ปอดของทารกในครรภ์พัฒนาได้ช้ากว่าปกติ แต่ใดๆก็ตามก็ขึ้นอยู่กับการควบคุมโรคในแต่ละคน หากพบว่าการคุมระดับน้ำตาลทำได้ยาก ต้องใช้ยาลดน้ำตาลในขนาดที่สูง หรือ เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ครรภ์เป็นพิษ อาจพิจารณาให้คลอดก่อนตามข้อบ่งชี้ของแต่ละราย

อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการพิจารณาการผ่าตัดคลอดในกรณีที่ประเมินแล้วพบข้อห้ามในการคลอดเองตามธรรมชาติ เช่น ทารกในครรภ์ตัวใหญ่ หรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงแทรกซ้อน เป็นต้น

นอกจากนี้ หากคุณหมอพิจารณาให้คลอด ต่ร่างกายยังไม่เข้าสู่การเจ็บท้องตามธรรมชาติ คุณหมออาจชักนำคลอดด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การสอดเจลเข้าไปในช่องคลอด เพื่อช่วยให้ปากมดลูกนุ่มลงและเปิดออก และทำให้มดลูกหดรัดตัวในเวลาเดียวกัน
  • การใช้ยาเหน็บช่องคลอดกระตั้นให้มีการกดรัดตัวของมดลูก  และทำให้ปากมดลูกมีความพร้อมในการเปิดเข้าสู่การคลอด
  • การให้ฮอร์โมนอ๊อกซิโตซิน (Oxytocin) ทางหลอดเลือดดำที่แขน เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัว วิธีนี้บางครั้งจะทำร่วมกับการสอดเจล
  • การสอดสายสวนแล้วปล่อยน้ำเข้าไป เพื่อดันให้ปากมดลูกเปิดออก และกระตุ้นให้มดลูกเกิดการหดรัดตัว
  • การเจาะถุงน้ำคร่ำ เป็นใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายตะขอด้ามยาวหรือกรรไกร เจาะถุงน้ำคร่ำให้แตก เพื่อชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดและหดรัดตัวของมดลูก

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างคลอด

ระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน สัมพันธ์โดยตรงกับสุขภาพของทารกในครรภ์ ดังนั้น ระหว่างตั้งครรภ์ คุณหมอจึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือฉีดอินซูลิน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป

นอกจากนี้ ระหว่างคลอด คุณหมออาจให้อินซูลินหญิงตั้งครรภ์ทางหลอดเลือดดำ และคอยตรวจสอบระดับน้ำตาล ผ่านเครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง หรือ Continuous Glucose Monitoring เพื่อให้แน่ใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม

การคลอดก่อนกำหนด

บางครั้ง หากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือบกพร่องในการใช้อินซูลิน รวมทั้งหากคุณหมอตรวจพบว่า ทารกตัวโตเกินไป หรือไม่เจริญเติบโตอย่างเหมาะสม รวมถึงมีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ คุณหมออาจแนะนำให้คลอดก่อนกำหนดเพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 31/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา