backup og meta

เช็คด่วน 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก

เช็คด่วน 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) ถือเป็น 1 ใน 5 โรคฮิตจากโซเชียลมีเดีย หลายคนอาจสงสัยว่า เล่นเฟซบุ๊กก็มีเพื่อนตั้งมากแล้วจะเป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างไร แต่อาการนี้เกิดขึ้นได้จริง ๆ เพราะคนเราเมื่อติดอยู่แต่หน้าจอ จิ้มๆ กดๆ คุยกับคนในโลกออนไลน์ ก็กลายเป็นไปเพิกเฉยต่อคนในโลกจริง แถมหลายคนใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาเราว้าเหว่ เหงา เดียวดาย ก็ยิ่งโพสต์เยอะ วันนี้ Hello คุณหมอ พามาทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียด เราจะได้รู้ทันและป้องกันก่อนสายเกินแก้

โรคฮิตของคนติดจอ โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome)

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก(Facebook Depression Syndrome)เกิดจากการใช้งานเฟซบุ๊ก จนอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้หากเครือข่ายสังคมก่อให้เกิดความอิจฉาในหมู่ผู้ใช้ ขณะเดียวกัน เฟสบุ๊กอาจเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและส่งผลให้สุขภาพดีหากผู้ใช้ใช้ประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อกับครอบครัว และเพื่อนเก่าเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจและมีความสำคัญในชีวิตในรูปแบบที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากเฝ้ามองเพื่อนที่กำลังทำเงินหรือสร้างความสุข เฟซบุ๊กก็สามารถดึงคุณให้ไปสู่ความรู้สึกที่หดหู่ใจได้

5 สัญญาณเตือน คุณมีภาวะเสี่ยง โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กหรือไม่?

ลองมาดูกันว่าโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กหากคุณมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 2ข้อ แสดงว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก

  • มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เป็นสุข ของเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊ก
  • ตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของกิจกรรมชีวิตประจำวันของผู้อื่นๆ
  • มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตนเองกับเพื่อนๆ อยู่เสมอ
  • รู้สึกกระวนกระวายใจ เมื่อไม่สามารถเช็คข้อความ ข่าวสาร หรือ สถานะของคุณได้เหมือนที่ทำเป็นปกติ
  • คุณมักลับสมองและค้นหาข้อความขำขัน แหลมคม อัพเดทสถานะแบบดึงดูด  ที่สร้างภาพหลอกลวงว่าคุณเก่ง คุณเจ๋ง คุณเกาะติด หรือเป็นผู้นำ มีความสุขและน่าตลกขบขัน

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้ มักจะมีการแสดงออกเมื่อได้รับผลกระทบในแง่ลบของการใช้งานเฟซบุ๊ก เช่น

  • การมีส่วนร่วมในการทางสังคมที่ลดลง
  • ชอบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์ (เมื่อเทียบกับคนอื่น)
  • มักจะมีส่วนร่วมในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของตนเอง

วิธีดูแลตัวเองให้ห่างจากโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก

วิธีการเยียวยาที่ดีที่สุด คือ “งด/หลีกเลี่ยงการใช้งานเฟซบุ๊ก’ ลง เช่น ลดจำนวนเวลา ความถี่ และ ความสนใจจากข้อความต่างๆ หรือความรู้สึกที่อยากจะโพสต์ลงบ้าง มันจะทำให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น

สำหรับวิธีรักษาและป้องกันโรคนั้นล้วนมีความเกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานเฟซบุ๊กจะต้องลด พฤติกรรมเสี่ยงที่เชื่อมโยงเฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้า ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการหลงใหลใน “อัตลักษณ์เสมือนจริง” และการรับรู้ของคนอื่น
  • ลดอาการอิจฉาโดยปิดการใช้งานในการสังเกตชีวิตของคนอื่น
  • หลีกเลี่ยงการยอมรับคำเชิญจากเพื่อนเก่าที่จะเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊ก
  • ลดการโพสต์การอัปเดตสถานะและการโต้ตอบที่มากเกินไป
  • ลดการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นในทางลบ

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กเป็นเรื่องที่เกิดกับคนในสังคมที่อยู่ไกล้ตัวเรามาก การยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือการยึดติดกับความรู้สึกที่ไม่ดีจนนานเกินไป จะส่งผลร้ายกับตัวเราเอง สิ่งสำคัญที่สุด คือการเรียนรู้การใช้งานที่เหมาะสม การรู้จักตนเอง ทำสิ่งที่ตนเองมีความสุข ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้อย่างแน่นอน

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is ‘Facebook Depression’ For Real?. https://www.socialworktoday.com/archive/exc_080811.shtml

The FOMO Is Real: How Social Media Increases Depression and Loneliness. https://www.healthline.com/health-news/social-media-use-increases-depression-and-loneliness Accessed 9 Dcember  2018

Pediatrics Gets it Wrong about ‘Facebook Depression’. https://psychcentral.com/blog/pediatrics-gets-it-wrong-about-facebook-depression/. Accessed 8 Jul  2018

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกลัวรู (Trypophobia) ขนลุกแบบขำๆ หรืออันตรายที่ต้องระวัง

Computer Vision Syndrome สาเหุต อาการ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา