ไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) เป็นไวรัสที่แพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไวรัสเอชพีวีมีหลายประเภท ซึ่งบางประเภทเป็นสาเหตุของโรคหูดและโรคมะเร็งปากมดลูก
โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ถูกต้อง
โปรดแจ้งให้ทราบหากข้อมูลไม่ครบถ้วน
แม้ว่าเราอาจไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรค แต่เราก็พร้อมรับฟังความคิดเห็นของท่าน โปรดแสดงความคิดเห็นในกล่องข้อความด้านล่าง
ไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) เป็นไวรัสที่แพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไวรัสเอชพีวีมีหลายประเภท ซึ่งบางประเภทเป็นสาเหตุของโรคหูดและโรคมะเร็งปากมดลูก
ไวรัสเอชพีวี(human papillomavirus: HPV) คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของโรคหูด (warts) และโรคมะเร็งเป็นไวรัสที่แพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไวรัสเอชพีวีมีหลายประเภท ซึ่งบางประเภทเป็นสาเหตุของโรคหูดและโรคมะเร็งปากมดลูก
ทั้งผู้ชายและผู้หญิงสามารถติดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ โรคหูดมักเกิดกับผู้ใหญ่ และเยาวชนที่มีเพศสัมพันธ์ การเกิดโรคหูดมีอัตราสูงในผู้ชายอายุระหว่าง 20 ถึง 24 ปี และในผู้หญิงอายุระหว่าง 16 ถึง 19 ปี
บางครั้งไวรัสเอชพีวีก็หายไปได้เองโดยไม่มีการรักษา แต่ในบางสถานกาาณ์ เชื้อไวรัสเอชพีวีบางประเภทก็อาจคงอยู่ในร่างกาย และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศและโรคมะเร็งได้
โรคหูดที่อวัยวะเพศ (Genital warts) อาจเริ่มต้นจากการมีรอยแผลตะปุ่มตะป่ำ ซึ่งมีรอยแตก และเลือดออก ไปจนถึงเป็นแผลเปื่อย ซึ่งจะตกสะเก็ด และหายไปภายในสองสามวัน รอยแผลและแผลเปื่อยในโรคหูด มักเกิดร่วมกับอาการไข้ ดังนั้น อาการอาจเหมือนกับอาการไข้ และต่อมน้ำเหลืองโต คุณอาจสับสนได้ง่าย ระหว่างโรคหูดกับสิวที่เกิดจากขนคุด
โรคมะเร็งส่วนใหญ่ที่เกิดจากไวรัสเอชพีวี คือ มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) นอกจากนี้ยังมีโรคมะเร็งที่ลำคอและลิ้นด้วย อาการบ่งชี้ของมะเร็งปากมดลูกก็คือ มีเลือดออก และมีสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ อาการเลือดออกอาจพบระหว่างมีประจำเดือน หลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือเมื่อหมดประจำเดือนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่นๆ อย่างเช่น อาการปวดบริเวณท้องน้อย หรือบริเวณกระดูกเชิงกราน และอาการปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
อาจมีสัญญาณหรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์
ให้ไปพบหมอทันทีที่คุณสงสัยว่า ตัวคุณ หรือคู่นอนคนล่าสุด หรือคนปัจจุบัน ติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ถึงแม้จะยังไม่ปรากฏอาการใดๆ คุณสามารถค้นหาคำแนะนำเกี่ยวกับการทดสอบด้วยตนเอง และข้อควรปฏิบัติหากติดเชื้อ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะมั่นใจว่าคุณไม่ติดเชื้อไวรัสเอชพีวี เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
ไวรัสที่ชื่อว่า ฮิวแมน ปาปิลโลมาไวรัส หรือเอชพีวี เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหูด ไวรัสเอชพีวีประเภทที่ 6, 11, 16 และ 18 ก่อให้เกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศและโรคมะเร็งปากมดลูก
ไวรัสเอชพีวีแพร่กระจายทางการมีเพศสัมพันธ์ ไวรัสเอชพีวียังสามารถแพร่กระจายได้ แม้ว่าผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการหรือการเจ็บป่วยก็ตาม โรคหูดและโรคมะเร็งปากมดลูก สามารถก่อตัวขึ้นได้ ในเวลาหลายปีหลังจากได้รับเชื้อ
ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ที่จะอธิบายถึงปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ไวรัสเอชพีวีสามารถแพร่กระจายได้ในผู้คนทั่วไป ไม่ว่าเพศใดหรืออายุเท่าใดก็ตาม
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีการทดสอบการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในมนุษย์ได้ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ เมื่อหูดแสดงอาการ หรือตรวจพบก้อนเนื้อมะเร็งแล้ว
หูดบริเวณอวัยวะเพศ แพทย์จะทำการวินิจฉัยหูดโดยสังเกตที่ผิวหนัง หากไวรัสเอชพีวีไม่สามารถตรวจสอบได้ แพทย์จะนำชิ้นหูดตัวอย่าง (การตัดเนื้อออกตรวจ) สำหรับการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์
มะเร็ง การตรวจแปปสเมียร์ (Pap test) หรือการตรวจทางเซลล์วิทยาของปากมดลูก (cervical cytology) จะช่วยตรวจสอบสัญญาณก่อนการเป็นมะเร็ง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ปากมดลูก ที่อาจพัฒนาจนกลายเป็นมะเร็ง คุณควรเริ่มเข้ารับการตรวจแปปสเมียร์ตั้งแต่อายุ 21 ปี
เนื่องจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค จะแสดงอาการเมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลานาน การรักษาจึงขึ้นอยู่กับประเภทของโรค
การฉีดวัคซีน เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวี โดยเฉพาะวัคซีน Cervix และ Gardasil ในผู้หญิง และวัคซีน Gardasil ในผู้ชาย ในการมีเพศสัมพันธ์ให้ใช้ถุงยางอนามัยเสมอ อย่างไรก็ดี บริเวณที่ไม่ได้รับการป้องกันด้วยถุงยางอนามัย ยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี การใช้ถุงยางอนามัยไม่ได้ช่วยป้องกันได้ทั้งหมด แต่จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคนจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Ferri, Fred. Ferri’s Netter Patient Advisor. Philadelphia, PA: Saunders / Elsevier, 2012. Print edition. Page 535
Everything you Need to Know About Human Papillomavirus Infection. https://www.healthline.com/health/human-papillomavirus-infection. Accessed 6 January 2019
Genital HPV Infection – Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/hpv/stdfact-hpv.htm.Accessed 6 January 2019
What is human papillomavirus (HPV)? https://www.medicalnewstoday.com/articles/246670.php. Accessed 6 January 2019