backup og meta

อาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)

อาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)

หลายคนคงเคยประสบกับ อาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว บทความนี้มาพร้อมกับข้อมูลดี ๆ ให้คุณรู้จักอาการนี้ดีขึ้น

คำจำกัดความ

อาการอาหารไม่ย่อย คืออะไร

อาการอาหารไม่ย่อย หรือทางการแพทย์เรียกว่า ดิสเพปเซีย (Dyspepsia) คือ ความรู้สึกอึดอัดและปวดบริเวณทางเดินอาหารส่วนบน (กระเพาะอาหาร, หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น) อาหารไม่ย่อยประกอบไปด้วยหลายกลุ่มอาการ เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ และเรอ ซึ่งเป็นอาการพื้นฐานของอาหารไม่ย่อย

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการอาหารไม่ย่อยไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มโรค แต่คือการแสดงออกทางอาการพื้นฐานของความผิดปกติทางสุขภาพและเกิดขึ้นได้กับทุกคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการ ควรทำการปรึกษาแพทย์เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการทั่วไปของอาการอาหารไม่ย่อย ได้แก่

  • ท้องอืด
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • แสบร้อนในกระเพาะอาหาร
  • อิ่มง่าย แม้รับประทานอาหารในขนาดปกติ
  • รับรู้ได้ถึงรสชาติกรดภายในปาก
  • ปวดท้อง
  • เรอเปรี้ยว

อาจมีอีกหลายอาการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ กรุณาปรึกษาแพทย์เพื่อรักข้อมูลเพิ่มเติม

ควรไปพบหมอเมื่อใด

คุณควรไปพบหมอหากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้

  • อาเจียนรุนแรงหรืออาเจียนเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • มีปัญหาในการกลืน
  • เจ็บปวดหน้าอก
  • ตาและผิวเหลือง
  • หายใจลำบาก
  • กรดไหลย้อน

หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ ทั้งนี้แต่ละคนมีการแสดงออกของอาการแตกต่างกันไป การเข้ารับการรักษากับแพทย์เป็นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

สาเหตุ

สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อย

ดิสเพปเซียเป็นการแสดงออกของอาการมากกว่ากลุ่มโรค อาการเจ็บป่วยที่อาจก่อให้เกิดอาการดิสเพปเซีย ได้แก่

  • โรคกรดไหลย้อน (GERD) อาการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหาร ก่อให้เกิดการระคายเคืองและสร้างความเสียหายแก่ทางเดินอาหาร
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาหารไม่ย่อย
  • ความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป
  • โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ความผิดปกติในการทำงานของลำไส้ใหญ่
  • การติดเชื้อในกระเพาะอาหารสาเหตุจากเชื้อเอชไพโลไร
  • แผลในกระเพาะอาหาร รอยขีด หรือรูในผนังกระเพาะอาหาร
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร

ยาที่อาจก่อให้เกิดอาการดิสเพปเซีย

  • แอสไพรินและยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์)
  • ยาที่มีส่วนผสมของไนเตรท (เช่น ยาลดความดันโลหิต)
  • เอสโตรเจนและยาคุมกำเนิด
  • ยาสเตียรอยด์
  • ยาปฏิชีวนะบางชนิด
  • ยารักษาไทรอยด์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการอาหารไม่ย่อย

กิจวัตรประจำวันอาจมีผลต่อการเกิดอาการอาหารไม่ย่อย นอกจากนี้โรคและสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
  • รับประทานอาหารมากเกินไปและเร็วเกินไป
  • ความเครียดและเหนื่อยล้า

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลต่อไปนี้ไม่ใช่คำแนะนำการรักษาทางการแพทย์ โปรดเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ทุกครั้งเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการอาหารไม่ย่อย

แพทย์อาจสอบถามอาการของโรค ประวัติการใช้ยา และอาจตรวจสอบกระเพาะและทรวงอกร่วมด้วย แพทย์อาจทำการทดสอบเพื่อทำความเข้ากับอาการและวินิจฉัยโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาหารไม่ย่อย

  • การส่องกล้อง วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่การรักษาอื่นไม่ได้ผล ทำโดยการสอดท่อที่มีกล้องมีกล้องติดอยู่ลงไปในกระเพาะอาหารเพื่อสำรวจ
  • การตรวหาเชื้อเอชไพโลไร การทดสอบเพื่อวิเคราะห์หาเชื้อเอชไพโลไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและปัจจัยอื่นๆ การทดสอบประกอบด้วย การตรวจอุจจาระ การตรวลมหายใจและการตรวจเลือด
  • การทดสอบการทำงานของตับ (Liver function test) ตับทำหน้าที่ผลิตน้ำดี ของเหลวในทางเดินอาหารที่ทำหน้าที่ย่อยไขมัน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตับทำให้การผลิตน้ำดีลดต่ำลงส่งผลให้อาหารไม่ย่อย
  • เอ๊กซเรย์และอัลตราซาวด์ท้อง เพื่อตรวจหาสิ่งที่ตกค้างในกระเพาะอาหาร

การรักษาอาการอาหารไม่ย่อย

วิธีการรักษาที่เหมาะสมมีจุดประสงค์เพื่อลดอาการอาหารไม่ย่อยและช่วยให้อาการของคุณทุเลาขึ้น รวมถึงรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการ ดังนั้นแพทย์อาจทำการรักษาและจ่ายยาที่ช่วยบรรเทาอาการพื้นฐานของโรค

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการอาการอาหารไม่ย่อย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการอาการอาหารไม่ย่อยได้

  • รับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละมื้อ
  • หลีกเลี่ยงการทานมื้อดึก หากมีอาการอาหารไม่ย่อยก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ไขมันสูง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน
  • ทานให้ช้าลง
  • พยายามเลิกสูบบุหรี่
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
  • ลดการดื่มกาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
  • ลดความเครียดในชีวิตประจำวัน

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณาปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจที่ดีกว่าในการเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What causes indigestion? http://www.healthline.com/symptom/indigestion. Accessed June 13, 2016.

Indigestion. http://www.webmd.com/heartburn-gerd/indigestion?page=1#2. Accessed June 13, 2016.

Dyspepsia (Indigestion). http://patient.info/health/dyspepsia-indigestion. Accessed June 13, 2016.

Indigestion. http://www.nhs.uk/Conditions/Indigestion/Pages/Diagnosis.aspx. Accessed June 13, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/04/2020

เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษากรดไหลย้อน ได้ง่ายๆ ด้วย 6 วิธีต่อไปนี้

เรอบ่อย หลังกินอาหาร เพราะไม่ย่อยหรือเป็นกรดไหลย้อน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 23/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา