สายตาสั้น ในเด็ก อาจเกิดจากพันธุกรรมที่ได้รับสืบทอดกันมาในครอบครัว โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น เช่น การใช้สายตาอย่างหนัก การใช้สายตาในที่มืด การมองจอมือถือ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรเรียนรู้วิธีการดูแลและแก้ไขปัญหาสายตาสั้นให้ลูกน้อย
[embed-health-tool-vaccination-tool]
สายตาสั้น ในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ส่วนใหญ่แล้ว “สายตาสั้น” มักเกิดขึ้นจากการได้รับพันธุกรรม ของคุณพ่อคุณแม่โดยตรง ซึ่งเมื่อเด็กมีสายตาสั้น จะทำให้พวกเขา เห็นภาพในระยะไกลไม่ชัดเจน หรือภาพที่เห็น อาจจะพร่ามัว แต่นอกจากการได้รับพันธุกรรมแล้ว สายตาสั้น ยังเกิดขึ้นได้เมื่อเด็ก ใช้สายตาอย่างละเอียด หรือใช้สายตาอย่างใกล้ชิดจนเกินไป นอกจากนั้นการอ่านหนังสือ เล่นเกมบนมือถือ หรือแท็บเลต หนักมากเกินไปก็อาจส่งผลให้ สายตาสั้นได้
ภาวะสายตาสั้นในเด็ก มีสัญญาณอะไรบ่งบอก
สำหรับ ภาวะสายตาสั้นในเด็กนั้น มักจะถูกพบ ในช่วงอายุ 9-10 ปี ซึ่งสัญญาณเริ่มแรกที่เกิดขึ้น คือ ลูกของคุณจะไม่สามารถอ่านข้อความบนกระดานดำจากหลังห้องได้ แต่ยังสามารถอ่านและเขียนได้โดยไม่มีปัญหาอะไร นอกจาก หากมีอาการเหล่านี้ปรากฏร่วมด้วย ก็ถือว่า เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกของคุณกำลังสายตาสั้น ซึ่งอาการต่างๆ มีดังนี้
- ปวดศีรษะ
- มีอาการคลื่นไส้ หลังจากอ่านหนังสือ
- ถือหนังสือใกล้ใบหน้ามากกว่าปกติ
- เวลาเขียนหนังสือ จะมีพฤติกรรมเอาหน้าชิดโต๊ะ
- นั่งดูโทรทัศน์ในระยะใกล้ขึ้น
- พยายามหรี่ตา เมื่อต้องมองสิ่งที่อยู่ไกล
สามารถป้องกัน สายตาสั้นได้หรือไม่?
ความจริงแล้ว “สายตาสั้น” ไม่สามารถป้องกันได้ แต่จากงานวิจัยของ Mayo Clinic ชี้ให้เห็นว่า ภาวะสายตาสั้น สามารถชะลอการพัฒนาได้ โดยสามารถทำได้ ดังนี้
- ใส่แว่นตามที่จักษุแพทย์ให้คำแนะนำ
- บริโภคอาหารที่อุดมไปด้วย ผัก ผลไม้ และกรดโอเมก้า 3
- ให้ลูกสวมแว่นกันแดด เมื่อต้องออกไปข้างนอก เวลามีแสงแดดจ้า เพื่อป้องกันดวงตาจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
- หากต้องทำกิจกรรม ที่มีความเสี่ยงต่อสายตา ก็ควรต้องใส่แว่นป้องกัน
- พักสายตาจาก หน้าจอคอมพิวเตอร์ การดูโทรทัศน์ และการเล่นเกมบ้าง
- อย่าอ่านหนังสือ ในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เพื่อลดการใช้งานของสายตา
วิธีการแก้ไขสายตาสั้นที่ถูกต้อง
สำหรับการรักษา สายตาสั้น ที่ถูกต้องนั้น สามารถทำได้ ดังนี้
- เข้าพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการตรวจตาอย่างสมบูรณ์
- แก้ไขด้วยการตัดแว่น หรือใส่คอนแทคเลนส์
- รักษาด้วยการหักเหของกระจกตา
- ผ่าตัดแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ
สำหรับการใส่แว่น จะช่วยชดเชยความโค้งของกระจกตา นอกจากนั้น ยังช่วยยืดอายุสายตา ด้วยการเปลี่ยนโฟกัสของแสง เมื่อเข้าสู่ดวงตา ส่วนระยะความสั้นของแว่นสายตาที่ลูกจะต้องใส่ ก็ขึ้นอยู่กับการมองเห็นว่า พวกเขาสามารถมองระยะไกลได้ขนาดไหน
ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการมองเห็นของลูก ควรพาพวกเขาไปปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อการดูแลและรักษาที่ถูกต้อง