สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก

ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี เพื่อบรรเทาอาการ

อาการท้องเสียอาจมาพร้อมกับอาการขับถ่ายมาก ปวดท้อง ไม่สบายตัว และอ่อนแรง ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูก และอาจมีข้อสงสัยว่า ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ให้อาการดีขึ้น โดยทั่วไปอาหารอาจเป็นปัจจัยที่จะช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกกินของเหลวมากขึ้นเพื่อช่วยทดแทนน้ำที่สูญเสียไปได้ พร้อมทั้งเสริมด้วยการกินอาหารอ่อนย่อยง่ายและรสจืด เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยเติมพลังงานและป้องกันภาวะขาดน้ำในเด็กได้ [embed-health-tool-child-growth-chart] ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี คุณพ่อคุณแม่ที่มีคำถามว่าลูกท้องเสียให้กินอะไรดี เพื่อช่วยให้ลูกมีอาการที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเมื่อลูกท้องเสียร่างกายอาจมีภาวะขาดน้ำและสูญเสียสารอาหารจากการขับถ่ายอุจจาระมากเกินไป ดังนั้น จึงควรให้ลูกกินอาหารที่ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ระบบย่อยอาหารไม่ทำงานหนัก และช่วยทดแทนน้ำที่สูญเสียไป ดังนี้ เด็กทารก หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือนมผง ควรให้ลูกกินนมบ่อยขึ้นตามความเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อลูกถ่ายแต่ละครั้ง ให้ครั้งละ 5-10 นาที จะช่วยทดแทนน้ำที่สูญเสียไปได้ สำหรับนมผงควรเลือกนมผงสูตรที่ไม่มีแลคโตสหรือแลคโตสต่ำ เนื่องจากแลคโตสเป็นน้ำตาลในนมที่ย่อยยากอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักได้ โดยใช้ระยะสั้น เมื่อถ่ายดีแล้วให้กลับมากินนมสูตรปกติได้ หากลูกมีอาการท้องเสียรุนแรง สามารถให้เกลือแร่ละลายน้ำควบคู่ระหว่างกินนมไปด้วย เด็กเล็กหรือเด็กโตที่สามารถกินอาหารแข็งได้แล้ว ของเหลวเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับอาการท้องเสีย ไม่ควรบังคับให้ลูกกินอาหารแข็งในระหว่างที่ท้องเสีย แต่ควรให้ลูกกินของเหลวมากขึ้น เช่น น้ำเปล่า น้ำเกลือแร่ นมถั่วเหลือง สำหรับเด็กเล็กที่ยังต้องกินนมผงหรือนมแม่ควบคู่ไปกับอาหารแข็ง ควรให้เด็กกินนมต่อไปและให้เด็กกินนมบ่อยขึ้นทุก ๆ 4 ชั่วโมง ประมาณครั้งละ 5-10 นาที โดยสามารถกินควบคู่ไปกับอาหารแข็ง เช่น กล้วยบด ข้าวต้มบด มันบด […]


สุขภาพเด็ก

ยาแก้ท้องเสียเด็ก มีอะไรบ้าง และวิธีดูแลเมื่อเด็กท้องเสีย

การรักษาหลักสำหรับเด็กที่มีอาการท้องเสียมักเน้นรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดจากการถ่ายอุจจาระ ด้วยการดื่มสารน้ำและเกลือแร่ทดแทน อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ซื้อ ยาแก้ท้องเสียเด็ก มาใช้เองโดยเฉพาะในเด็กเล็กมาก ดังนั้น จึงควรพาเด็กเข้าพบคุณหมอหากมีอาการท้องเสียเกิดขึ้น เพื่อให้คุณหมอจ่ายยา [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการท้องเสียในเด็ก เกิดจากอะไร อาการท้องเสียในเด็ก เกิดขึ้นเมื่อร่างกายต้องการกำจัดเชื้อโรคที่เป็นอันตรายออก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ปวดท้องอุจจาระ มีไข้ อุจจาระเป็นเลือด ภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด อ่อนเพลีย ผิวแห้งและเย็น โดยอาการท้องเสียในเด็กเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสหรือปรสิต เช่น โรต้าไวรัส (Rotavirus) ซาลโมเนลลา (Salmonella) ไกอาเดีย แลมเบลีย (Giardia Lamblia) ปัญหาระบบย่อยอาหาร เช่น แพ้อาหาร อาหารเป็นพิษ ปฏิกิริยาต่อยาบางชนิด เช่น ยาระบาย ยาปฏิชีวนะ โรคที่เกี่ยวกับลำไส้และระบบย่อยอาหาร เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอค (Celiac Disease) อาการลำไส้แปรปรวน การผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือถุงน้ำดี ยาแก้ท้องเสียเด็ก มีอะไรบ้าง เด็กที่มีอาการท้องเสียส่วนใหญ่มักรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ โดยการรักษาอาการท้องเสียในเด็กจะเน้นการรักษาภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำจากการถ่ายอุจจาระ พร้อมกับอาจให้จุลินทรีย์ที่ดี (Probiotics) เพื่อบำรุงลำไส้  […]


สุขภาพเด็ก

ยาลดไข้เด็ก มีอะไรบ้าง และควรบรรเทาอาการไข้อย่างไร

ยาลดไข้เด็ก เป็นยาที่ช่วยรักษาอาการไข้และช่วยลดอุณหภูมิในร่ายกาย ซึ่งมักใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ในการรักษาอาการไข้ในเด็ก อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีอายุต่ำกว่า 2 เดือน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและรับยาตามขนาดที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อป้องกันการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เด็กได้รับยาเกินขนาดและเป็นอันตรายได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ยาลดไข้เด็ก มีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่คุณหมอจะทำการรักษาด้วยการให้ยาลดไข้เด็กต่อเมื่อเด็กมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือหากเด็กมีอาการไม่สบายตัวมาก โดยทั่วไปอาการไข้ในเด็กจะไม่คงอยู่เป็นเวลานาน สามารถควบคุมได้ และไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยคุณหมอจะประเมินระดับความรุนแรงของอาการไข้ก่อนจ่ายยาลดไข้เด็ก เพื่อให้ขนาดยาตามความเหมาะสม ซึ่งยาลดไข้เด็กที่มักใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้ อะเซตามิโนเฟน หรือพาราเซตามอล จะให้ในขนาด 10-15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อช่วยรักษาอาการไข้และลดอุณหภูมิร่างกาย โดยเด็กจะมีอุณหภูมิลดลงภายใน 30-60 นาทีแรกหลังจากให้ยา ไอบูโพรเฟน จะให้ในขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดไข้และลดอุณหภูมิ มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับอะเซตามิโนเฟน และอาจมีผลในการลดอุณหภูมิร่างกายได้นานกว่า การรักษาแบบผสม โดยการใช้ยาอะเซตามิโนเฟนร่วมกับยาไอบูโพรเฟนรักษาอาการไข้ในเด็ก ซึ่งเป็นการให้ยาทั้ง 2 ชนิดสลับกัน อาจมีประสิทธิภาพในการลดไข้เด็กได้ดีกว่าการใช้ยาเพียงชนิดเดียวในการรักษา อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้รักษาด้วยวิธีนี้เองที่บ้าน เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่อาจไม่เข้าใจการใช้สูตรยาทำให้เกิดความกังวลในแง่การใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง […]


โรคระบบประสาทในเด็ก

Hirschsprung disease คือ โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคเฮิร์ซปรุง หรือ Hirschsprung disease คือ โรคลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด พบได้ในทารกแรกเกิด โรคนี้เกิดจากเซลล์ประสาทในลำไส้บางส่วนหายไปตั้งแต่กำเนิด มักทำให้เกิดอาการผิดปกติภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด เช่น ท้องผูก ไม่ถ่ายขี้เทา ท้องบวม ในกรณีที่ไม่รุนแรงมากอาจตรวจไม่พบโรคนี้จนกระทั่งเด็กโตขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว และโรคนี้วินิจฉัยพบในวัยผู้ใหญ่น้อยมาก โดยทั่วไปสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดนำลำไส้ใหญ่บางส่วนของเด็กออก เพื่อให้ระบบขับถ่ายกลับมาทำงานได้ตามปกติ [embed-health-tool-bmi] Hirschsprung disease คืออะไร Hirschsprung disease คือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่หายไปตั้งแต่กำเนิด ตั้งชื่อโรคตามคุณหมอฮาราลด์ เฮิร์ชสปรุง (Harald Hirschsprung) ซึ่งเป็นผู้อธิบายโรคนี้เป็นคนแรก Hirschsprung disease อาจพัฒนาตั้งแต่ในระหว่างตั้งครรภ์และแสดงอาการหลังคลอด เมื่อเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่ไม่สมบูรณ์ ก็จะส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่เคลื่อนอาหารผ่านลำไส้ ทำให้มีอุจจาระค้างและก่อตัวเป็นก้อนอยู่ในลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถส่งอุจจาระไปยังทวารหนักเพื่อขับถ่ายออกไปได้ตามปกติ ส่วนใหญ่แล้ว เซลล์ประสาทบริเวณส่วนท้ายของลำไส้เล็ก ก่อนถึงไส้ตรงและทวารหนักของทารกที่เป็นโรคนี้มักหยุดเจริญเติบโต และบางรายอาจมีเซลล์ประสาทที่บริเวณอื่นในระบบย่อยอาหารหายไปด้วย Hirschsprung disease อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างลำไส้ใหญ่อุดตัน ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์ (Clostridium difficile) เชื้อสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส (S. aureus) เชื้อโคลิฟอร์ม (Coliform) จนส่งผลให้เกิดการอักเสบรุนแรงจนลำไส้โป่งพองมาก หรือเกิดภาวะมีโปรตีนในเลือดต่ำ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ไฮเปอร์ คือ ภาวะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข สาเหตุและการรักษา

ไฮเปอร์ คือ ภาวะอยู่ไม่นิ่ง และไม่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่กับที่ได้เหมือนกับคนทั่วไป มักพบในเด็กวัยเรียน แต่ก็อาจวินิจฉัยพบในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน คนที่เป็นไฮเปอร์อาจมีปัญหาในการเข้ากับผู้อื่น การหาเพื่อน และการใช้ชีวิตประจำวัน หากสงสัยว่าเด็กมีอาการไฮเปอร์ ควรพาเด็กไปรับการวินิจฉัยและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนกับเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ไฮเปอร์ คือ อะไร ไฮเปอร์แอกทิวิตี (Hyperactivity) หรือ ไฮเปอร์ เป็นภาวะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข ชอบขัดจังหวะผู้อื่นขณะพูด วอกแวกง่าย ทั้งยังอาจมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ไม่มีสมาธิ ก้าวร้าว อาจเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มักพบได้บ่อยในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น โดยทั่วไปมักจะได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุยังน้อย แต่บางคนก็พบได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยทั่วไป การเป็นเด็กไฮเปอร์อาจถูกมองว่าเป็นปัญหาสำหรับคนรอบข้างและทางโรงเรียนมากกว่าตัวเด็กเอง อย่างไรก็ตาม การมีภาวะไฮเปอร์อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของตัวเด็กได้เช่นกัน เช่น ทำให้ไม่มีความสุขในการเข้าสังคม เสี่ยงมีภาวะซึมเศร้า อาจทำให้เด็กตกเป็นเป้าของการกลั่นแกล้งกัน หรือเด็กอาจโดนทำโทษเนื่องจากมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ สาเหตุของ ไฮเปอร์ คืออะไร สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะ ไฮเปอร์ คือ โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะไฮเปอร์ โดย ไฮเปอร์ คือ หนึ่งในอาการของโรคสมาธิสั้น ทำให้เด็กมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ซุกซน […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Asperger syndrome คือ โรคแอสเพอร์เกอร์ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

โรคแอสเพอร์เกอร์ หรือ Asperger syndrome คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติด้านพัฒนาการและการทำงานของสมองและระบบประสาท จัดเป็นโรคในกลุ่มอาการออทิสติกสเปกตรัมเช่นเดียวกับโรคออทิสติก โรคนี้ส่งผลต่อพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อสาร และพฤติกรรม ผู้ป่วยมักแสดงอาการน้อยและไม่รุนแรงมาก และมักมีระดับสติปัญญาสูงกว่าค่าเฉลี่ย ผู้ที่เป็นโรคแอสเพอร์เกอร์จะมีทักษะทางภาษาที่ดีกว่าผู้ที่เป็นโรคอื่นในกลุ่มอาการออทิสติกสเปกตรัม แต่มีข้อบกพร่องด้านทักษะทางสังคม อารมณ์ ความรู้สึก โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป้าหมายของการรักษาจะอยู่ที่การกระตุ้นและฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เพื่อให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] Asperger syndrome คือ อะไร โรคแอสเพอร์เกอร์ หรือ Asperger syndrome คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก ทั้งด้านพฤติกรรมการแสดงออก การมองและเข้าใจโลก การใช้ภาษา และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ภาวะนี้จัดอยู่ในกลุ่มอาการออทิสติกสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder) แต่จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าโรคอื่น ๆ ในกลุ่มอาการเดียวกัน ผู้ที่มีอาการของแอสเพอร์เกอร์จัดเป็นกลุ่มออทิสติกที่มีศักยภาพสูง (High functioning autism) หรือที่เรียกว่าเด็กอัจฉริยะ ส่วนใหญ่มักมีระดับสติปัญญาเป็นปกติหรือสูงกว่าคนทั่วไป มีทักษะการใช้ภาษาและการพูดอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่อาจไม่เข้าใจเนื้อหาที่ซับซ้อน ลึกซึ้ง การเปรียบเทียบ หรือความหมายโดยนัย อาจมีความสนใจในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ เป็นแบบแผนไม่ยืดหยุ่น จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และมักจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวเนื่องจากมีทักษะทางสังคมต่ำ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ควรรักษาอย่างไร

ลูกหายใจครืดคราด อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในทางเดินหายใจ ความผิดปกติของกล่องเสียง การอุดตันในทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงจนเกิดเป็นเสียงครืดคราดเมื่อหายใจ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุหลักของอาการจึงเป็นวิธีที่จะสามารถช่วยรักษาอาการลูกหายใจครืดคราดได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกหายใจครืดคราด เกิดจากอะไร ลูกหายใจครืดคราด เป็นอาการทั่วไปที่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีความเจ็บป่วยเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจที่ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลง ส่งผลให้ลูกหายใจลำบาก หายใจมีเสียงครืดคราด ไอ จาม หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหยุดหายใจ โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกหายใจครืดคราดที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจากไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น โรคหวัด หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ไอกรน โรคปอดบวม โรคภูมิแพ้ กล่องเสียงอักเสบ ที่เกิดจากเนื้อเยื่อในกล่องเสียงกีดขวางทางเดินหายใจบางส่วน ทางเดินหายใจผิดรูป ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดหรืออาจเกิดขึ้นหลังจากการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่ทางเดินหายใจ การอุดตันที่ผิดปกติในทางเดินหายใจ เนื่องจากมีแผลเป็นในทางเดินหายใจที่อาจบวมหรือโต อาการกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจตีบแคบ หดตัว ที่เกิดจากโรคหอบหืดหรือสิ่งระคายเคืองในแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน ควันบุหรี่ กล่องเสียงเป็นอัมพาตตั้งแต่แรกเกิดหรือพัฒนาในภายหลัง การสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในทางเดินหายใจ ทำให้ลูกมีอาการไออย่างกะทันหัน โรคประจำตัวที่พบไม่บ่อย เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis หรือ CF) ซึ่งส่งผลต่อปอดหรือทางเดินหายใจ ภาวะทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น […]


สุขภาพเด็ก

ลูกปวดฟัน อาการ สาเหตุและการรักษา

ลูกปวดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาฟันผุ หนองในฟัน เคลือบฟันแตก โรคเหงือก อาหารติดซอกฟัน หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่เหมาะสม จนทำให้ลูกมีอาการปวดฟันเกิดขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพช่องปากของลูกอยู่เสมอ และหากลูกปวดฟันควรพาลูกเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกปวดฟัน เกิดจากสาเหตุอะไร อาการลูกปวดฟันอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก จนทำให้เยื่อฟันที่เต็มไปด้วยเส้นประสาท เนื้อเยื่อ และหลอดเลือดที่บอบบางระคายเคืองหรือติดเชื้อแบคทีเรีย จนก่อให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรงตามมา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกปวดฟันที่พบได้บ่อยนั่นคือฟันผุ นอกจากนี้ อาการลูกปวดฟันยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ หนองในฟัน เกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาฟันผุทำให้เกิดหนองภายในรากฟันซี่ที่ผุ ส่งผลให้มีอาการปวดรุนแรงและปวดมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับฟัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้หนองเพิ่มมากขึ้นภายในเหงือกและทำให้เหงือกบวมแดง เคลือบฟันแตก เกิดจากการกัดวัตถุแข็ง ๆ จนทำให้ฟันแตก โดยแนวการแตกหักของฟันอาจอยู่ต่ำกว่าขอบเหงือกที่อาจมองเห็นได้ยาก และอาจทำให้มีอาการเสียวฟัน ปวดฟันเมื่อรับประทานของเหลวร้อนหรือเย็น โรคเหงือก เป็นปัญหาเหงือกอักเสบเนื่องจากการไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ส่งผลให้มีอาการเหงือกระคายเคือง บวมแดง เจ็บปวด และอาจมีเลือดออก อาหารติดซอกฟัน การรับประทานอาหารอาจทำให้มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้น การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหารอาจช่วยลดอาการปวดฟันได้ ฟันคุด เป็นการงอกขึ้นมาของฟันกรามซี่ในสุด ซึ่งส่วนใหญ่ฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-21 ปีขึ้นไป แต่สำหรับเด็กที่ฟันคุดงอกเร็วอาจทำให้มีอาการปวดฟันเกิดขึ้นได้ การเคลื่อนไหวฟันในการบดเคี้ยวซ้ำ ๆ เช่น […]


สุขภาพเด็ก

เด็ก แปรง ฟัน ได้เมื่อไหร่ ควรสอนอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ เด็ก แปรง ฟัน ได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น ด้วยการใช้แปรงสีฟันขนนุ่มชุบน้ำพอหมาดแปรงฟันให้เด็ก และเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นจนสามารถเรียนรู้ทักษะการแปรงฟันได้เอง สามารถใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เล็กน้อยเพื่อช่วยส่งเสริมให้ฟันแข็งแรง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบังคับหรือใช้เสียงขู่ให้เด็กแปรงฟัน เพราะอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านและไม่อยากแปรงฟันได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็ก แปรง ฟัน ได้เมื่อไหร่ ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น ด้วยการทำความสะอาดเหงือกเป็นประจำทุกวันโดยการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดเหงือกของเด็กหลังกินนมและก่อนนอน เมื่อเด็กเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนให้เด็กแปรงฟันได้ทันที ด้วยการใช้แปรงสีฟันขนนุ่มสำหรับเด็กชุบน้ำพอหมาด โดยควรแปรงฟันให้เด็กอย่างน้อย 1-2 ครั้ง/วัน เพื่อขจัดเศษอาหารภายในปาก และหากเด็กสามารถโตพอที่จะสามารถบ้วนยาสีฟันเองได้โดยไม่กลืน คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เด็กแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณเล็กน้อย จากนั้น จึงค่อย ๆ สอนให้เด็กแปรงฟันให้ทั่วฟันทุกซี่ รวมถึงทำความสะอาดเหงือกและลิ้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 นาที/ครั้ง เพื่อขจัดเศษอาหารทั้งหมดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาฟันผุในอนาคต คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นต้องช่วยเหลือเด็กในการแปรงฟันจนกว่าเด็กจะอายุ 7-8 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เด็กสามารถแปรงฟันได้ด้วยตัวเองแล้ว และควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-6 เดือนหรือเมื่อขนแปรงเก่าแล้ว นอกจากนี้ ควรสอนให้เด็กใช้ไหมขัดฟันหลังจากแปรงฟันอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน เพื่อช่วยขจัดเศษอาหารที่แปรงสีฟันไม่สามารถขจัดออกได้หมด วิธีสอนให้เด็กแปรงฟัน วิธีสอนให้เด็กแปรงฟัน คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็น ไม่ควรบังคับหรือใช้น้ำเสียงขู่ เพราะจะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกไม่อยากแปรงฟันมากขึ้น ซึ่งการสอนให้เด็กแปรงฟันอาจทำได้ ดังนี้ ตอบสนองความต้องการของเด็ก เช่น หากเด็กต้องการเปลี่ยนรสชาติยาสีฟันหรือต้องการใช้แปรงสีฟันสีใหม่ ควรให้เด็กได้ทดลองใช้ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Cretinism คือ โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม สาเหตุ อาการ การรักษา

Cretinism คือ โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีความผิดปกติด้านร่างกาย สมอง ระบบประสาท และสติปัญญา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้สมองของเด็กถูกทำลายถาวรและเด็กมีพัฒนาการผิดปกติ เช่น เจริญเติบโตช้า ตาเหล่ หูหนวก เป็นใบ้ มีท่าเดินผิดปกติ สมองพิการ ทั้งนี้ การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการให้ฮอร์โมนชดเชยตั้งแต่แรกเกิดและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด อาจช่วยให้เด็กสามารถกลับมามีพัฒนาการตามปกติได้เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป [embed-health-tool-vaccination-tool] Cretinism คือ อะไร เครทินิซึม หรือ Cretinism คือ กลุ่มอาการผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง หรือที่เรียกว่าโรคเอ๋อ เกิดจากภาวะขาดไทรอยด์อย่างรุนแรงในเด็กแรกเกิด ทำให้เด็กมีภาวะปัญญาอ่อน รูปร่างเตี้ยแคระแกร็น ไอคิวต่ำ หูหนวก เป็นใบ้ เป็นต้น โดยทั่วไป ฮอร์โมนไทรอยด์มีหน้าที่สำคัญในการสร้างโปรตีนหรือเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เผาผลาญพลังงาน ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมอง หากฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากเด็กไม่มีต่อมไทรอยด์มาตั้งแต่กำเนิด ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือคุณแม่ขาดไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย โครงสร้างของกระดูกและผิวหนัง รวมไปถึงการทำงานของสมองและระบบประสาทส่วนกลางของเด็กแรกเกิด สาเหตุของ Cretinism คือ อะไร สาเหตุที่พบบ่อยของ Cretinism คือ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน