โรคเอดส์ (AIDS) นั้นเกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human immunodeficiency virus; HIV) ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยาต้านไวรัส (Antiretroviral drugs) สำหรับเชื้อเอชไอวีนั้นมีอยู่ 6 กลุ่ม ซึ่งมีผลต่อวงจรชีวิตของเชื้อเอชไอวีที่แตกต่างกัน ยาพวกนี้ส่วนใหญ่ทำให้เกิด ผลข้างเคียง ต่อระบบร่างกาย จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ยาต้านไวรัสเอชไอวี ให้มากขึ้นกันเพื่อการรับประทานยาที่ถูกต้องและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
[embed-health-tool-bmi]
ผลข้างเคียง ของ ยาต้านไวรัสเอชไอวี
ผู้ที่เป็นโรคเอดส์ จำเป็นต้องได้รับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ดังนี้
เบื่ออาหาร
เกิดจาก ยาอะบาคาเวียร์ (Abacavir)
วิธีรับมือ ควรจะรับประทานอาหารในปริมาณน้อย ๆ หลายมื้อต่อวัน แทนที่จะรับประทานเป็นมื้อใหญ่ 3 มื้อ นอกจากนี้ ควรดื่มเครื่องดื่มเสริมสารอาหาร เพื่อให้แน่ว่าได้รับวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน เช่น รับประทานสารกระตุ้นให้อยากรับประทานอาหาร ดื่มน้ำผลไม้แทนการดื่มน้ำเปล่า
การเปลี่ยนแปลงของการกระจายไขมันในร่างกาย (Lipodystrophy)
เกิดจาก การใช้ยากลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (NRTI) และ ยาในกลุ่มยาต้านไวรัส Protease inhibitor
วิธีรับมือ จำเป็นอย่างที่ควรออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนักในบริเวณที่มีไขมันสะสม เช่น หน้าท้อง นอกจากนั้น ยังควรฉีด Polylactic acid เช่น New Fill®, Sculptra® บนใบหน้าในกรณีที่สูญเสียไขมันบริเวณนี้ นอกจากนี้ ยังสามารถดูดไขมันจากบริเวณที่มีไขมันสะสมออกไปได้ สอบถามคุณหมอเพื่อลองใช้ยาที่เรียกว่าเทซาโมเลลีน (Tesamorelin) เช่น เอกริฟตา (Egrifta®) ซึ่งช่วยลดไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้องสำหรับผู้ที่ใช้ ยาต้านไวรัสเอชไอวี
ท้องร่วง
เกิดจาก ยาต้านไวรัสกลุ่ม Protease inhibitors และยาอื่นๆ
วิธีรับมือ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมัน เลี่ยน เผ็ด และอาหารที่ทำจากนม แล้วรับประทานเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ผักดิบ ซีเรียลธัญพืช ถั่ว นอกจากนี้ ยังสามารถรับประทานยาแก้ท้องเสียที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น โลเพอราไมด์ (Loperamide) อย่าง อิโมเดียม (Imodium®) หรือ ไดฟินอกซิเลตและอะโทรพีน (Diphenoxylate) และ อโตรฟีน (Atropine) อย่างเช่นโลโมทิล (Lomotil®)
เหนื่อยล้า
เกิดจาก ยาหลายประเภท
วิธีรับมือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายปานกลางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที
คอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดสูง
เกิดจาก ยาต้านไวรัสกลุ่ม Protease inhibitors และยาอื่น ๆ
วิธีรับมือ ควรหยุดสูบบุหรี่ และออกกำลังกายให้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังควรลดปริมาณของไขมันในอาหาร (ปรึกษากับนักโภชนาการถึงวิธีการปรับอาหารการกินอย่างปลอดภัย) ด้วยการรับประทานปลาและอาหารอื่น ๆ ที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง แนะนำให้ตรวจเลือดกับคุณหมอเพื่อวัดระดับของคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอไรด์ และอาจรับประทานยาสแตติน (Statin) หรือยาลดไขมัน (Lipid-lowering medicines) อื่น ๆ หากจำเป็น
อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า และวิตกกังวล
เกิดจาก ยาเอฟฟาไวเร็นซ์ (Efavirenz)
วิธีรับมือ ควรเปลี่ยนจำนวนครั้งในการรับประทานยา หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และเข้ารับการบำบัดหรือใช้ยาต้านภาวะซึมเศร้า
คลื่นไส้ อาเจียน
เกิดจาก ยาเกือบทุกชนิด
วิธีรับมือ ควรรับประมาณอาหารในปริมาณน้อยหลายครั้งต่อวัน แทนการรับประทานเป็นมื้อใหญ่ 3 มื้อ และรับประทานอาหารรสจืด เช่น ข้าวเปล่า แครกเกอร์ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มันและเผ็ด และอย่าลืมรับประทานยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เพื่อควบคุมอาการคลื่นไส้
ผดผื่น
เกิดจาก ยาเนวิราปีน (Nevirapine) และยาอื่นๆ
วิธีรับมือ สิ่งสำคัญคือการรักษาความชุ่มชื้นที่ผิว และหลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น ควรอาบน้ำอุณหภูมิปกติ ใช้สบู่และผงซักฟอกที่อ่อนโยนต่อผิวและไม่ทำให้ระคายเคือง ควรสวมเสื้อผ้าที่ถ่ายเทอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย และปรึกษากับหมอว่า สามารถใช้ยาต้านฮิสตามีนได้หรือไม่
นอนไม่หลับ
เกิดจาก ยาเอฟฟาไวเร็นซ์ (Efavirenz) และยาอื่นๆ
วิธีรับมือ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับให้เป็นเวลา และหลีกเลี่ยงการงีบหลับระหว่างวัน แนะนำให้จัดห้องนอนให้สบายเหมาะแก่การนอนหลับ ผ่อนคลายให้เต็มที่ก่อนเวลานอน ด้วยการอาบน้ำอุ่นหรือทำกิจกรรมที่ทำให้สงบ และหลีกเลี่ยงการรับประทานคาเฟอีน (Caffeine) หรือสารกระตุ้นใด ๆ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเวลานอน นอกจากนี้ อาจจะปรึกษาเรื่องการใช้ยานอนหลับจากคุณหมอ หากผลข้างเคียงก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง
ผลข้างเคียง อื่น ๆ
- ปฏิกิริยาแพ้ยาอะบาคาเวียร์ (มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน และ ผลข้างเคียง อื่น ๆ จากการใช้ยาอะบาคาเวียร์)
- เลือดออก
- สูญเสียกระดูก
- โรคหัวใจ
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและโรคเบาหวาน
- มีระดับของกรดแลกติกในเลือดสูง หรือภาวะเลือดเป็นกรด
- ไต ตับ หรือตับอ่อน เกิดความเสียหาย
- มีอาการชา ปวดแสบปวดร้อน หรือปวดที่มือหรือเท้า จากปัญหาที่ระบบประสาท
โรคเอดส์นั้นเกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือผู้ที่คิดว่ามีความเสี่ยงจะติดเชื้อ สมควรจะได้การสนับสนุนและการรักษาโดยใช้ ยาต้านไวรัสเอชไอวี แม้จะต้องเผชิญกับผลข้างเคียงของยาก็ตาม หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีทานยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการแสดงอาการป่วย และสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไปได้ยาวนานเช่นเดียวกับคนทั่วไป