backup og meta

การใช้ยาสแตติน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

การใช้ยาสแตติน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

การใช้ยาสแตติน อาจมีความสำคัญกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องควบคุมปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น คอเลสเตอรอลสูง ดังนั้น การใช้ยาสแตตินซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดไขมัน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดไขมัน โดยเฉพาะไขมันคอเลสเตอรอลความหนาแน่นต่ำหรือไขมันเลว (LDL) และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อความปลอดภัย

ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาสแตติน

สแตติน (Statin) เป็นยาในกลุ่มที่มีคุณสมบัตติช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่า เส้นเลือดในสมองแตก ผลการศึกษา พบว่า การใช้ยาสแตตินสามารถลดความเสี่ยงอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 25-35 นอกจากนี้ ยังช่วยลดโอกาสการเกิดหัวใจวายซ้ำ ได้ถึงร้อยละ 40

ยาสแตติน ส่งผลต่อการผลิตไขมันคอเลสเตอรอลของตับ ซึ่งช่วยลดระดับไขมันความหนาแน่นต่ำหรือไขมันเลว (LDL) และเพิ่มระดับไขมันความหนาแน่นสูงหรือไขมันดี (HDL)  การที่ใช้คำว่าไขมันดีและไขมันเลว นื่องจากไขมัน LDL ในระดับสูง เชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจที่สูงขึ้น ขณะที่ระดับไขมัน HDL ในระดับสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้

การใช้ยาสแตติน กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ยาสแตติน เป็นยาที่ช่วยลดไขมันเลวที่นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูง แต่ผลงานวิจัยล่าสุดจากประเทศฟินแลนด์ พบว่า ยาสแตตินที่ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึงร้อยละ 50 แม้จะจัดการกับปัจจัยอื่น ๆ ในการเกิดโรคแล้วก็ตาม

จากรายงานระบุว่า ยาสแตติน เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้หลายทาง โดยยาประเภทนี้ทำให้ร่างกายต่อต้านอินซูลิน หรือลดความสามารถของตับอ่อนในการหลั่งอินซูลิน นักวิจัยยังเผยให้เห็นอีกว่า ยานี้ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความสามารถในการตอบสนองการต่อต้านอินซูลินลดลง โดยการผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น

ปรึกษาคุณหมอ

ปัญหาไขมันคอเลสเตอรอลและโรคเบาหวาน ไม่สามารถรักษาได้เพียงการใช้ยาเท่านั้น ผู้ป่วยควรปรึกษาคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถึงทางเลือกอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกาย และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมัน LDL หากผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีระดับไขมัน LDL สูง อาจจำเป็นต้องใช้ ยาสแตติน

อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ยาสแตตินควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับระดับของไขมัน LDL เช่น ความเสี่ยง ข้อดี ข้อเสีย รวมถึงวิธีการจัดการกับผลข้างเคียงจากการใช้ยาสแตติน เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน

มีหลายวิธีที่ช่วยดูแลสุขภาพหัวใจได้ แต่หากเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน การใช้ยาสแตตินอาจเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันโรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองได้ แต่เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษาโรคอย่างถูกต้อง และแม่นยำ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยานี้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Statins. http://www.diabetes.co.uk/diabetes-medication/diabetes-and-statins.html. Accessed in February 9, 2017.

Statins linked to raised risk of type 2 diabetes. http://www.webmd.com/diabetes/news/20150304/statins-linked-to-raised-risk-of-type-2-diabetes#1. Accessed in February 9, 2017.

About Cholesterol. https://www.cdc.gov/cholesterol/about.htm. Accessed in February 9, 2017.

Statin use and cardiovascular risk factors in diabetic patients developing a first myocardial infarction. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4882784/pdf/12933_2016_Article_400.pdf. Accessed in February 9, 2017.

Guidelines and clinical practice at the primary level of healthcare in patients with type 2 diabetes mellitus with and without kidney disease in five European countries. http://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/1479164118795559?url_ver=Z39.88-2003&rfr_id=ori:rid:crossref.org&rfr_dat=cr_pub%3dpubmed. Accessed in February 9, 2017.

Application of Constrained Optimization Methods in Health Services Research: Report 2 of the ISPOR Optimization Methods Emerging Good Practices Task Force. https://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S1098-3015(18)32200-9. Accessed in February 9, 2017.

A Multi-Center, Open-Label, Two-Arm Parallel Group Non-inferiority Randomized Controlled Trial Evaluating the Effect of Pitavastatin, Compared to Atorvastatin, on Glucose Metabolism in Prediabetics with Hypertension and Dyslipidemia: Rationale and Design for the China Hemoglobin A1c Metabolism Protection Union Study (CAMPUS). https://link.springer.com/article/10.1007%2Fs10557-018-6826-6. Accessed in February 9, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2022

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ณัฐพงศ์ เดชธิดา

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลข้างเคียง โรคเบาหวาน เป็นอันตรายต่ออวัยวะส่วนไหนบ้าง

วิตามินดี ช่วยป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้จริงหรือ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ณัฐพงศ์ เดชธิดา

โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา