backup og meta

ยาเพรดนิโซโลน ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้จริงเหรอ

ยาเพรดนิโซโลน ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้จริงเหรอ

ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) หรือยาเพรดนิโซน (Prednisone) เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่ใช้เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ เช่น อาการอักเสบ ภูมิแพ้ ปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ปัญหาระบบการหายใจ โรคมะเร็ง โดยออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันและช่วยลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ บางครั้งคุณหมอก็อาจให้ยาเพรดนิโซโลนสำหรับผู้ที่มีปัญหามีบุตรยาก หรือมีปัญหาแท้งบุตรบ่อยครั้ง เพื่อช่วยลดเซลล์ที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการใช้ยาเพรดนิโซโลนเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

[embed-health-tool-ovulation]

เพรดนิโซนหรือ ยาเพรดนิโซโลน คืออะไร

เพรดนิโซน หรือเพรดนิโซโลน เป็นคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ ที่มีสรรพคุณในการยับยั้งการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ในบางครั้งมีการสั่งยาเพรดนิโซโลนสำหรับผู้หญิงที่มีการแท้งซ้ำ และผู้ที่มีเซลล์เอ็นเค (NK cells) ซึ่งเป็นเซลล์ที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ สำหรับผู้ชายยาเพรดนิโซโลนใช้เพื่อช่วยลดการสร้างแอนติบอดีที่ต้านอสุจิ

อย่างไรก็ดี เพรดนิโซโลน ไม่ได้ใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์เท่านั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด และมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจและผิวหนัง สามารถใช้ประโยชน์จากยาเพรดนิโซโลนได้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลดีจากสรรพคุณเกี่ยวกับการต้านการอักเสบและการกดภูมิคุ้มกัน

ยาเพรดนิโซโลนช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้จริงเหรอ

ถึงแม้ว่าเพรดนิโซโลน จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเวชปฏิบัติทั่วไป แต่สรรพคุณเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ยังไม่เป็นที่ยืนยัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้ยานี้ ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทที่น่าสงสัยของเพรดนิโซโลน ในการลดความเสี่ยงในการแท้ง และและอันตรายของเซลล์เอ็นเค อย่างไรก็ดี การศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็ก และจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังไม่มีการทดลองใช้อย่างกว้างขวาง

ผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียทำการศึกษา โดยการใช้ยาเพรดนิโซโลนในขนาดเล็กน้อยร่วมกับยาเจือจางเลือด Clexane ด้วยความหวังว่าจะช่วยยับยั้งเซลล์เอ็นเคในผู้หญิงที่มีการแท้งซ้ำ ผลลัพธ์เป็นไปในทางที่ดี และไม่เพียงพอที่จะได้ข้อสรุปที่หนักแน่น เนื่องจากมีกลุ่มตัวอย่างน้อย

การใช้ยาเพรดนิโซโลนสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก

ในผู้ป่วยหญิงทั่วไป คุณหมอจะสั่งยาเพรดนิโซโลนให้ในช่วงเวลาสั้นๆ ขนาดยาอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ดี ขนาดยาปกติคือ 5 มก.ต่อวัน จะให้ยาเม็ดเพรดนิโซโลนแก่ผู้ป่วย ในวันที่มีการตรวจหาไข่ อย่างไรก็ดีสำหรับผู้มีที่เซลล์เอ็นเคจำนวนมาก หรือมีภาวะการฝังไข่ล้มเหลว (failures of implantation) หลังเข้ารับการรักษา อาจมีการสั่งยาเพรดนิโซโลนล่วงหน้าสองสัปดาห์

เมื่อผลการตรวจฮอร์โมนเอชซีจีในเลือดมีผลเป็นลบ คุณจะต้องหยุดใช้ยา หากผลตรวจเป็นบวก คุณต้องใช้ยาต่อไปจนกว่าจะมีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ แน่นอนขนาดยาจะค่อยๆ ลดลง สำหรับการใช้ยาควรปรึกษาคุณหมอและอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด

ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้ยาเพรดนิโซโลน

การใช้ยาสเตียรอยด์มักมาพร้อมกับความเสี่ยงต่อสุขภาพเสมอ ผลข้างเคียงของยาเพรดนิโซโลน ได้แก่ อาการหงุดหงิด กังวล และนอนไม่หลับ นอกจากนี้ การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ก่อนคลอด ยังอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจใช้ยาเพรดนิโซโลน ให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อรับทราบข้อดีและข้อเสีย ของการใช้ยาดังกล่าว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prednisolone https://www.webmd.com/drugs/2/drug-6307-2333/prednisolone-oral/prednisolone-liquid-oral/details

Prednisolone. https://www.nhs.uk/medicines/prednisolone/

ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) 2.5 มิลลิกรัม ชนิดเม็ด
๕ มิลลิกรัม ชนิดเม็ด และชนิดแคปซูล. http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/drug_doc/SPC-Prednisolone-Tablet-19-5-59_edit_13-4-61.pdf. Accessed March 16, 2022.

Prednisolone. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a615042.html. Accessed March 16, 2022.

Prednisolone. https://www.drugs.com/mtm/prednisolone.html. Accessed March 16, 2022.

A review of systemic corticosteroid use in pregnancy and the risk of select pregnancy and birth outcomes. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5604866/. Accessed March 16, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2022

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย IUI คือ อะไร

ตั้งท้องขณะให้นมลูก มีโอกาสเป็นไปได้หากไม่คุมกำเนิดจริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา