backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 18 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 18 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 18 หรือประมาณ 4 เดือน คือเด็กอาจเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ชอบหยิบจับของ ชอบทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ ในช่วงอาจควรต้องระวังภาวะต่าง ๆ เช่น อาการตาแดง น้ำหนักตัวน้อย รวมไปถึงระวังพฤติกรรมการดูดนิ้วของลูกที่อาจติดนิสัยและส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากและฟันได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโตและพฤติกรรม

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

เมื่อมาถึงตอนนี้ทารกอาจเล่นกับมือและเท้าของเขาครั้งละ 2-3 นาที เขามักชอบทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งเขาแน่ใจถึงผลลัพธ์แล้วนั่นแหละ ถึงจะเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น เพื่อดูว่าผลลัพธ์จะมีความแตกต่างกันหรือไม่

จู่ๆ ในห้องนอนก็จะเงียบผิดสังเกต ซึ่งเมื่อมองเข้าไปก็จะพบว่า ลูกน้อยซึ่งตอนนี้ต้องการความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่แทบจะทุกวินาทีที่ตื่นอยู่ กำลังเล่นสนุกอยู่คนเดียวในเปลของเขา

ในช่วงสัปดาห์ที่ 18 นี้ ลูกน้อยอาจจะ

  • ควบคุมศีรษะให้นิ่งได้เมื่อตั้งตัวขึ้น
  • ใช้มือยันอกขึ้นเมื่อนอนคว่ำ
  • จับของเล่นที่วางอยู่บนหลังหรือบนนิ้วมือ
  • ใช้มือและเท้าทั้งสองข้างพร้อมกันภายในไม่กี่นาที
  • เล่นอย่างอิสระในพื้นที่ส่วนตัวของเขา
  • ให้ความสนใจกับสิ่งของขนาดเล็ก (อย่าปล่อยให้สิ่งของเหล่านี้อยู่ในที่ที่เขาหยิบจับได้)
  • ชอบทำอะไรซ้ำๆ เพื่อดูผลลัพธ์ของการกระทำนั้น แล้วเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น เพื่อดูว่าจะต่างกันยังไง
  • จับสิ่งของได้
  • ชอบความตื่นเต้น

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

อาจเล่นเกมส์กับลูกน้อย มีเกมส์มากมายที่ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของเขาได้ ซึ่งจริงๆ แล้วลูกน้อยกำลังเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา อาจปล่อยให้เขาถือของเล่นต่างๆ โดยเลือกแบบที่พื้นผิวหรือสีสันต่างกันมาให้เขาเล่น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสและการมองเห็นให้เขาได้

เกมส์ที่เด็กทุกคนชอบนักชอบหน้าก็คือการเล่น ‘จ๊ะเอ๋‘  ถ้าจำเกมส์นี้ไม่ได้เราก็จะของเตือนความจำให้หน่อยนะ วิธีเล่นคือใช้มือทั้งสองข้างปิดหน้าเอาไว้ พอเปิดหน้าออกก็พูดด้วยน้ำเสียงอันตื่นเต้นว่า ‘จ๊ะเอ๋!’ ลูกน้อยจะต้องชอบเกมส์นี้แน่นอน

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

คุณหมอจะทำตรวจสอบสุขภาพลูกน้อย ตามรายการต่อไปนี้ทั้งหมดหรือบางรายการ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของลูก

  • ตรวจเช็คร่างกาย รวมถึงการตรวจเช็คอาการ ที่เคยเป็นปัญหาก่อนหน้านี้
  • ประเมินพัฒนาการของเด็ก โดยคุณหมอจะตรวจสอบการควบคุมศีรษะ การใช้มือ การมอง การฟัง และการปฏิสัมพันธ์ของเด็ก หรือวิเคราะห์จากการสังเกต และการบอกเล่า

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 18

เมื่อมีอายุได้ 18 สัปดาห์ ควรจดจำข้อมูลพวกนี้เอาไว้ใช้ในการดูแลสุขภาพลูกน้อย

  • ตาแดง

ตาแดงเป็นอาการติดเชื้อของตาที่เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และอาการแพ้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ในบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ที่บุตาขาวและเปลือกตาด้านใน ทำให้ตากลายเป็นสีแดงพร้อมกับมีขี้ตาสีขาว สีเหลือง หรือสีเขียว เด็กอาจมีอาการขี้ตาแฉะ และลืมตาในตอนเช้าๆ ได้ยาก เด็กอาจเป็นตาแดงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ หากลูกน้อยมีอาการตาแดง ก็ควรพบไปพบคุณหมอทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างทันท่วงที

ตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อได้ ฉะนั้นก็ควรระวังจะติดโรคจากลูกน้อย ควรล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนและหลังการทดสอบตา เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ไม่ควรพาลูกน้อยไปสนามเด็กเล่นหรือโรงเรียนอนุบาล และควรหมั่นทำความสะอาดที่นอน ผ้าเช็ดตัว และผ้าเช็ดมือของทารกบ่อยๆ ด้วย

ถ้าอาการตาแดงของลูกเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์สั่งยาปฏิชีวนะให้ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของยาหยอดตาหรือขี้ผึ้ง แต่ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัสและมีอาการไข้หวัดร่วมด้วย แพทย์อาจแนะนำหมั่นทำความสะอาดตาของลูกน้อย ด้วยผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น และถ้าอาการตาแดงนั้นเกิดจากอาการแพ้ แพทย์ก็จะช่วยหาสาเหตุให้ ซึ่งจะต้องแยกลูกน้อยออกสภาพแวดล้อม ที่ทำให้เกิดอาการแพ้นั้น นอกจากนี้แพทย์ก็จะให้ยาหยอดตาไว้สำหรับรักษาอาการด้วย

บางครั้งต่อมน้ำตาอาจเกิดการอุดตัน และทำให้ตาติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้นวดคลึงบริเวณหัวตา หรือใช้ลูกประคบอุ่นๆ ในบริเวณนั้น เพื่อช่วยกระตุ้นระบบหมุนเวียน บางครั้งก็ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งจะพบได้ค่อนข้างน้อย

  • น้ำหนักน้อย

โดยทั่วไปแล้ว ถ้าลูกน้อยมีอาการซนและมีพัฒนาการในทุกๆ ด้าน เขาจะมีน้ำหนักตัวที่คงที่ แต่ถ้าเด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ควรดูส่วนสูงของเด็กประกับกันด้วย ซี่งมีอยู่หลายปัจจัยเลยนะ ที่มีผลกระทบต่อขนาด และน้ำหนักตัวของลูกน้อย

นอกจากนี้ ก็ไม่ควรจำกัดปริมาณอาหารกับลูกน้อย พ่อแม่บางคนอยากให้ลูกน้อยมีสุขภาพดีเมื่อเติบโตขึ้น จึงจำกัดปริมาณแคลอรี่และไขมันตั้งแต่ยังอยู่ในช่วงแรกเกิดเลย ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายอย่างมาก เพราะในช่วงนี้เด็กต้องการสารอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเป็นปกติ ทางที่ดี อาจสร้างนิสัยการกินให้ลูกน้อยจะดีกว่า โดยให้ลูกน้อยกินแต่อาหารที่มีประโยชน์

ถ้าเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์นั้น คือเขาดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี หรือมีอัตราการเผาผลาญที่ไม่เป็นปกติ หรืออาจติดเชื้อ หรือมีความเจ็บป่วยเรื้อรัง ก็ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำรวมทั้งวิธีการรักษาที่เหมาะสม

สิ่งที่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 18

ในช่วงนี้ เขาอาจมีนิสัยหรือพฤติกรรม ที่ควรจะต้องใส่ใจเอาไว้

ในช่วงขวบปีแรก ทารกเกือบทั้งหมดจะชอบดูดนิ้วมือมาก ซึ่งหลายคนก็อาจเริ่มมีนิสัยแบบนี้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้ว นี่ไม่ใช่อาการผิดปกติ เพราะปากของทารกไม่ได้มีไว้สำหรับกินอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้เขาได้ทำอะไรสนุกๆ ด้วย ในช่วงแรๆ นั้นเขาอาจนำมือเข้าปากแบบสะเปะสะปะ แต่พอทำแล้วรู้สึกดีเขาก็จะติดเป็นนิสัย

ตอนแรก ๆ ที่เห็นลูกดูดนิ้วมือนั้น ก็อาจจะมองว่าน่ารักดี แต่ถ้าลูกน้อยดูดนิ้วมือไม่ยอมหยุด แม้จะถึงวัยไปโรงเรียนแล้วก็ตาม การเอามือเข้าปากตลอดเวลาอาจทำให้เด็กคนอื่นๆ ล้อได้ และคุณครูก็อาจตำหนิการกระทำนั้นด้วย แต่ไม่ต้องกังวลอะไร และควรปล่อยให้ทารกดูดนิ้วมือต่อไป  ยังไม่มีหลักฐานที่ระบุว่าการที่ชอบดูดนิ้วมือนั้น เป็นเพราะความเก็บกด หรือส่งผลต่อพัฒนาการของฟัน หรือมีส่วนทำให้ปากผิดรูป จริงๆ แล้ว เด็กส่วนจะเลิกนิสัยนี้ไปเอง เมื่อมีอายุ 4 ถึง 6 ขวบ ผู้เชี่ยวชาญจึงไม่แนะนำให้ควบคุมนิสัยดูดนิ้วมือนี้ก่อนเวลาอันควร

งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า เด็กเล็กเกือบครึ่งหนึ่งมีนิสัยดูดนิ้วมือตั้งแต่ยังเล็กๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของทารกวัย 18 ถึง 21 เดือน เกือบ 80% ของเด็กๆ จะเลิกนิสัยนี้ก่อนอายุ 5 ขวบ ในขณะที่ 95% ของเด็กอายุ 6 ขวบจะเลิกนิสัยนี้ได้ด้วยตัวเอง

เพื่อเอาชนะสถานการณ์ที่ลูกน้อยเริ่มดูดนิ้วมือให้เห็นทุกวัน ก็อาจหันเหความสนใจด้วยของเล่นหรือเกมส์ที่เด็กต้องใช้มือเล่น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Your Baby: Week 18. https://www.webmd.com/baby/your-baby-week-18.

Important Milestones: Your Baby By Four Months. https://www.cdc.gov/ncbddd/actearly/milestones/milestones-4mo.html. Accessed June 8, 2022.

Your baby’s developmental milestones at 4 months: Your Baby By Nine Months. https://www.unicef.org/parenting/child-development/your-babys-developmental-milestones-4-months. Accessed June 8, 2022.

Baby Development: Your 4-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-4-month-old. Accessed June 8, 2022.

4-5 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/4-5-months. Accessed June 8, 2022.

Your Child’s Development: 4 Months. https://kidshealth.org/en/parents/development-4mos.html. Accessed June 8, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/11/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกเป็นตาแดง คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี

ลูกวัยประถม น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ควรทำอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 17/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา