backup og meta

สมอง มีหน้าที่อะไร และวิธีดูแลสมองทำได้อย่างไรความสำคัญ

สมอง มีหน้าที่อะไร และวิธีดูแลสมองทำได้อย่างไรความสำคัญ

สมอง เป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่รับสัมผัสทั้ง 5 คิดวิเคราะห์ ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว และควบคุมให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ หากไม่ดูแลสุขภาพให้ดี สมองอาจเสื่อมสมรรถภาพ ป่วย หรือติดเชื้อ จนเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ได้ ดังนั้น เพื่อรักษาสุขภาพของสมองให้ดีและแข็งแรงอยู่เสมอ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการสูดดมควันของบุหรี่

[embed-health-tool-bmi]

สมองคืออะไร

สมองเป็นอวัยวะสำคัญของมนุษย์ อยู่ข้างในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะเป็นก้อนสีชมพูหรือแดงซึ่งเต็มไปด้วยรอยหยัก มีน้ำหนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม โดยสมองของผู้ชายจะหนักกว่าของผู้หญิงเล็กน้อย

สมอง ประกอบด้วยไขมัน 60 เปอร์เซ็นต์ และส่วนประกอบอื่น ๆ อีก 40 เปอร์เซ็นต์ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำ เซลล์ประสาท หลอดเลือด

ทั้งนี้ สมองสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

  • ซีรีบรัม (Cerebrum) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณครึ่งบนของกะโหลกศีรษะ คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สมองทั้งหมด หน้าที่ของซีรีบรัมสัมพันธ์กับสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ รวมถึงการพูด การคิด และการใช้เหตุผล
  • ซีรีเบลลัม (Cerebellum) เป็นส่วนเล็ก ๆ ด้านหลังสมอง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ
  • ก้านสมอง (Brain Stem) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อซีรีบรัมกับไขสันหลัง ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของร่างกายที่เจ้าของร่างกายไม่อาจควบคุมได้ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การหลับและการตื่น การกลืนอาหาร

สมอง มีหน้าที่อะไร

สมองของมนุษย์ มีหน้าที่หลายประการ ดังนี้

  • รับสัมผัสทั้ง 5 จากอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งทำให้มนุษย์รับรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้
  • ทำให้มนุษย์มีอารมณ์ความรู้สึก
  • จดจำสิ่งต่าง ๆ และเก็บความทรงจำตลอดชีวิต
  • คิดและตัดสินใจ
  • สร้างความเครียดหรือความกลัว ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจว่าจะเผชิญหน้ากับปัญหาหรืออันตรายหรือจะเลือกวิ่งหนีจากอุปสรรคนั้น ๆ
  • ทำให้มนุษย์เคลื่อนไหวได้
  • ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
  • รักษาสมดุลของร่างกายขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ช่วยให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้เป็นปกติ

ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เกี่ยวกับ สมอง

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับสมอง ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไป มีดังนี้

  • โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก (Stroke) เกิดจากการที่เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองได้ เนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือการรับรู้ หรือเป็นอัมพาตบริเวณใบหน้า แขน หรือขา
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm) เกิดจากการเสื่อมสภาพของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดบางบริเวณบางลงกว่าบริเวณอื่น เมื่อมีความดันหรือเลือดไหลผ่านจึงทำให้ผนังหลอดเลือดที่บางนั้นโป่งพองขึ้นคล้ายบอลลูน และอาจแตกออกได้ในเวลาต่อมา
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุมากที่สุด เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความทรงจำและความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันในแง่มุมต่าง ๆ เช่น การทำงานบ้าน การใช้จ่าย การคิด การตัดสินใจ
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในทุกช่วงวัย มีสาเหตุมากจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา บริเวณเยื่อหุ้มรอบสมองและไขสันหลัง ผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มักปวดศีรษะ คอแข็ง และเป็นไข้ บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้
  • โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นการส่งคลื่นไฟฟ้าอย่างผิดปกติจากเซลล์สมองไปยังสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดอาการชัก เช่น ร่างกายเกร็ง-กระตุก หมดสติ หายใจไม่ออก โดยในบางกรณีอาการชักอาจเกิดขึ้นติดกัน 2 ครั้ง และต้องไปพบคุณหมอทันทีเพื่อเข้ารับการรักษา
  • โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคทางจิตเวชที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมอง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง โดยทั่วไป เมื่อเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยมักมีอาการเศร้าสร้อย เหนื่อยหน่าย หมดหวัง อยากฆ่าตัวตาย รวมทั้งมีอาการปวดศีรษะหรือหลังร่วมด้วย

การดูแลและบำรุงรักษาสุขภาพ สมอง

เพื่อให้สมองสุขภาพดี และเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ น้อยลง ควรดูแลสุขภาพของสมองตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ป้องกันสมองบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ด้วยการสวมหมวกกันน็อคเมื่อขี่จักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ หรือรัดเข็มขัดนิรภัยเมื่อใช้รถยนต์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนของเลือดไปยังสมองอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อบรรเทาความเครียด หรือทำให้อารมณ์ดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคติน (Nicotine) มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดแคบลง ซึ่งมีผลให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงสมองได้ไม่สะดวก จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น
  • ทำความเข้าใจความคิดหรือความรู้สึกของตัวเองบ่อย ๆ เพื่อให้ตระหนักถึงสภาพจิตของตัวเอง โดยสภาพจิตที่แย่ลงอาจมีสาเหตุจากโรคทางจิตเวช
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้สมองและร่างกายพักจากความเหนื่อยล้า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Depression (major depressive disorder). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/symptoms-causes/syc-20356007. Accessed November 21, 2022

Epilepsy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/epilepsy/symptoms-causes/syc-20350093#:~:text=Epilepsy%20is%20a%20central%20nervous,and%20sometimes%20loss%20of%20awareness. Accessed November 21, 2022

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9A/. Accessed November 21, 2022

Alzheimer’s Disease and Related Dementias. https://www.cdc.gov/aging/aginginfo/alzheimers.htm#:~:text=Alzheimer’s%20disease%20is%20the%20most,thought%2C%20memory%2C%20and%20language. Accessed November 21, 2022

Stroke. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stroke/symptoms-causes/syc-20350113. Accessed November 21, 2022

ส่วนประกอบของสมองมนุษย์. http://www.student.chula.ac.th/~60370670/forebrain.html. Accessed November 21, 2022

Anatomy of the Brain.     https://mayfieldclinic.com/pe-anatbrain.htm.  Accessed November 21, 2022

Brain Anatomy and How the Brain Works. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/anatomy-of-the-brain#:~:text=The%20brain%20is%20a%20complex,central%20nervous%20system%2C%20or%20CNS. Accessed November 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/11/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแลสุขภาพดวงตา ก่อนภาวะสมองเสื่อมจะมาเยือน

ภาวะสมองเสื่อมหรือ Dementia คืออะไร และป้องกันได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 29/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา