backup og meta

ไอเป็นเลือด (Coughing blood)

ไอเป็นเลือด (Coughing blood)

ไอเป็นเลือด (Haemoptysis หรือ Coughing blood) หมายถึงอาการที่ไอแล้วมีเลือดไหลออกมาจากปอด อาการไอเป็นเลือดนี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อ โรคมะเร็ง หรือปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดภายในปอด

คำจำกัดความ

ไอเป็นเลือด คืออะไร

ไอเป็นเลือด (Haemoptysis หรือ Coughing up blood) หมายถึงอาการที่ไอแล้วมีเลือดไหลออกมาจากปอด อาการไอเป็นเลือดนี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อ โรคมะเร็ง ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดภายในปอด ที่ทำให้มีเลือดออกภายในปอดแล้วทำให้ไอออกมาเป็นเลือด ในบางครั้งอาจมีเสมหะปะปนมาด้วย

ประเภทของอาการไอเป็นเลือด อาจแบ่งได้ตามปริมาณของเลือดที่ไอออกมาภายใน 24 ชั่วโมง ดังต่อไปนี้

  • อาการไอเป็นเลือด ที่อันตรายถึงแก่ชีวิต แพทย์อาจจะมีเกณฑ์ที่ต่างกันในการแยกอาการไอเป็นเลือดในระดับนี้ แต่โดยปกติจะมีช่วงตั้งแต่การไอเป็นเลือดในปริมาณ 100-600 มล.
  • อาการไอเป็นเลือด ที่ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต หรือเรียกอีกอย่างว่าอาการไอเป็นเลือดในระดับปานกลาง โดยมีปริมาณเลือดในช่วงระหว่าง 20-200 มล.
  • อาการไอเป็นเลือด ในระดับเบา สำหรับผู้ที่มีอาการไอเป็นเลือดในปริมาณที่น้อยกว่า 20 มล.

ไอเป็นเลือดพบบ่อยแค่ไหน

อาการไอเป็นเลือด พบได้ทั่วไปในทุกวัย และมักส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ป้องกันได้โดยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของภาวะไอเป็นเลือด

อาการที่เห็นได้ชัดของ อาการไอเป็นเลือด คือการไอที่มีเลือดปะปนออกมา เนื่องจากมีเลือดอยู่ในปอดหรือระบบทางเดินหายใจ เลือดนี้อาจจะมีลักษณะเป็นฟอง เนื่องจากได้ผสมกับอากาศและเสมหะที่อยู่ภายในปอด สีของเลือดนั้นอาจมีตั้งแต่สีแดงสด ไปจนถึงสีน้ำขาว หรือสีขุ่น เนื่องจากมีเสมหะปะปน

อาการไอเป็นเลือดนั้นจะแตกต่างจากการมีแผลภายในปากแล้วทำให้มีเลือดออก หรืออาการเลือดออกตามไรฟัน ที่มักจะสังเกตเห็นได้ขณะรับประทานอาหารหรือแปรงฟัน

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

อาการไอเป็นเลือด อาจเป็นสัญญาณภาวะของโรคที่รุนแรงได้ โปรดปรึกษาแพทย์ในทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีเลือดปนในเสมหะนานกว่าหลายสัปดาห์ หรือมีอาการแย่ลง
  • เจ็บหน้าอก
  • น้ำหนักลด
  • มีเหงื่อออกในเวลากลางคืน
  • เป็นไข้สูง
  • หายใจลำบาก

สาเหตุ

สาเหตุของ อาการไอเป็นเลือด

มีสาเหตุหลายประการที่ก่อให้เกิดอาการไอเป็นเลือด ซึ่งได้แก่

  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease; COPD)
  • โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)
  • การใช้สารเสพติด เช่น โคเคน
  • โรคฝีในปอด
  • การติดเชื้อปรสิต
  • โรคปอดอักเสบ
  • ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
  • อาการบาดเจ็บที่หน้าอก
  • วัณโรค

สาเหตุเหล่านี้เป็นเพียงสาเหตุหลัก ๆ ที่พบได้ทั่วไปของอาการไอเป็นเลือด โปรดปรึกษากับแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและหาสาเหตุที่แน่ชัดของอาการไอเป็นเลือด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการไอเป็นเลือด

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด อาการไอเป็นเลือด ได้แก่

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • คนในครอบครัวมีประวัติมีปัญหาเกี่ยวกับลิ่มเลือด
  • เคยติดต่อกับผู้ที่เป็นวัณโรค
  • เพิ่งผ่านการผ่าตัด เป็นโรคมะเร็ง หรือเป็นโรคที่รุนแรงอื่นๆ
  • ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)
  • สูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน
  • เดินทางไกล อาจมีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด
  • ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย อาการไอเป็นเลือด

แพทย์อาจตั้งคำถามเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของภาวะเลือดออก เช่น บริเวณที่มีเลือดออก ปริมาณเลือดที่ออกมา ต่อจากนั้นอาจมีการทดสอบอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดของ อาการไอเป็นเลือด ได้แก่

  • การเอกซเรย์หน้าอก
  • การถ่ายภาพด้วยซีทีสแกน เพื่อให้ได้ภาพถ่ายอวัยวะภายในที่ชัดเจน
  • การส่องกล้องตรวจดูหลอดลม
  • การตรวจเลือด เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • การทดสอบอื่น ๆ เช่น การทดสอบและการเอกซเรย์แบบละเอียด

การรักษา อาการไอเป็นเลือด

การรักษามีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดภาวะเลือดออก และรักษาภาวะสุขภาพที่เป็นสาเหตุของ อาการไอเป็นเลือด

ในการหยุดภาวะเลือดออก อาจมีการผ่าตัดอุดหลอดเลือดในหลอดลม การส่องกล้องหลอดลม และการผ่าตัด

การรักษาอื่น ๆ สำหรับผู้ที่มีอาการไอเป็นเลือด ได้แก่

  • ยาปฏิชีวนะ สำหรับการรักษาปอดบวมและวัณโรค
  • เคมีบำบัด และการฉายแสงสำหรับการรักษาโรคมะเร็งปอด
  • ยาสเตียรอยด์ สำหรับลดการอักเสบ
  • ยาแก้ไอ

อาจมีการให้ยาห้ามเลือดหรือยาอื่น ๆ เพื่อยับยั้งการเสียเลือด โดยขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับอาการไอเป็นเลือด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลรักษาตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้รับมือกับ อาการไอเป็นเลือด

  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงสารระคายเคืองและสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้ไอ เช่น ฝุ่นควัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ
  • หมั่นออกกำลังเป็นประจำสม่ำเสมอ
  • ปฏิบัติตามวิธีการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการไอเป็นเลือด

หากมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Coughing up blood. http://www.mayoclinic.org/symptoms/coughing-up-blood/basics/definition/sym-20050934. Accessed November 18, 2021.

Hemoptysis (Coughing Up Blood). http://www.webmd.com/lung/coughing-up-blood.Accessed November 18, 2021.

Coughing up blood (blood in phlegm). https://www.nhs.uk/conditions/coughing-up-blood/. Accessed November 18, 2021.

Hemoptysis: Evaluation and Management. https://www.aafp.org/afp/2015/0215/p243.html. Accessed November 18, 2021.

The Diagnosis and Treatment of Hemoptysis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5478790/. Accessed November 18, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/11/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สาเหตุและการดูแลตัวเอง

น้ำผึ้งผสมมะนาว สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ช่วยบรรเทา อาการไอ ได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 18/11/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา