backup og meta

หัดเยอรมัน อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

หัดเยอรมัน อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

หากมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ พร้อมผดผื่นจำนวนมากที่ปรากฏอยู่บนผิวหนัง อาจเป็นไปได้ว่ากำลังมีสัญญาณแรกเริ่มของโรค หัดเยอรมัน (Rubella) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด

คำจำกัดความ

หัดเยอรมัน (Rubella) คืออะไร

โรคหัดเยอรมัน (Rubella) คือ โรคติดต่ออีกประเภทหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลให้เกิดผื่นแดงจำนวนมากตามร่างกาย โรคนี้สามารถส่งต่อเชื้อจากคนสู่คนได้ ผ่านทางละอองฝอยน้ำลายจากการไอหรือจามของผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่การรับประทานอาหารในภาชนะเดียวกันกันกับผู้ติดเชื้อ

ถึงแม้ว่าโรคนี้อาจจะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากอาการต่าง ๆ อาจจางหายไปได้เองภายใน 3 วัน ถึง 1 สัปดาห์ แต่โรคนี้ก็อาจส่งผลรุนแรงได้กับสตรีตั้งครรภ์ เพราะเชื้อไวรัสดังกล่าวอาจเข้าไปขัดขวางพัฒนาการของทารก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติด้านการทำงานของหัวใจ และสมองได้เลยทีเดียว

โรคหัดเยอรมัน สามารถพบได้บ่อยเพียงใด

โรคหัดเยอรมันอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ และทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ จนส่งผลกระทบต่อไปยังทารกในครรภ์ที่อาจไดรับเชื้อไวรัสร่วมด้วยเช่นกัน

อาการ

อาการของ โรคหัดเยอรมัน

สัญญาณเตือนทางกายเบื้องต้นเมื่อได้รับเชื้อไวรัส อาจปรากฏออกมาหลังจากเชื้อฝักตัวแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งมีอาจมีอาการที่สังเกตได้ชัด ดังนี้

  • ไข้ขึ้นสูง
  • ปวดศีรษะ
  • คัดจมูก และมีน้ำมูกไหล
  • ปวดตามข้อกระดูก และกล้ามเนื้อ
  • ตาแดงอักเสบ
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • มีผื่นสีชมพู ถึงสีแดงขึ้นตามใบหน้า และกระจายไปทั่วทั้งร่างกาย

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดของโรคหัดเยอรมัน

เนื่องจาก โรคหัดเยอรมัน เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ง่าย สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หรืออาจสามารถแพร่กระจายเชื้อผ่านทางอากาศ ด้วยการไอหรือจาม ให้เชื้อปะปนไปในละอองฝอยน้ำลาย ดังนั้น การที่คุณจะได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย  อาจเป็นไปได้ว่ามาจากสาเหตุที่ได้กล่าวไปข้างต้น

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด โรคหัดเยอรมัน

ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด คุณก็สามารถอาจประสบกับโรคหัดเยอรมันได้ด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มของสตรีตั้งครรภ์ และผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน

ไวรัสที่ก่อให้เกิด โรคหัดเยอรมัน อาจมีความคล้ายกับไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบให้คุณล้มป่วย แพทย์จึงอาจต้องเริ่มการวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือด ทดสอบแอนติบอดี เพื่อเป็นข้อบ่งชี้ว่าในภูมิคุ้มกันคุณนั้นมีเชื้อไวรัสแทรกซ้อนอยู่หรือไม่ แล้วจึงทำการพิจารณาหาวิธีรักษาที่เหมาะสมแก่สภาวะทางร่างกายของคุณเป็นลำดับถัดไป

การรักษาโรคหัดเยอรมัน

ในการรักษา โรคหัดเยอรมัน สำหรับผู้ป่วยกรณีที่ไม่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้คุณตัวแยกออกจากผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ พร้อมใช้ยาบรรเทาอาการต่าง ๆ ตามที่คุณมี แต่สำหรับผู้ป่วยในกรณีรุนแรง โดยเฉพาะที่ผู้ป่วยที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ แพทย์อาจรักษาด้วยแอนติบอดี ที่มีชื่อว่า ไฮเปอร์อิมมูน โกลบูลิน (hyperimmune globulin) ที่มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อไวรัส และลดความเสี่ยงการเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาโรคหัดเยอรมัน

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • แยกห้องนอน เว้นระยะห่างจากผู้คนในครอบครัว
  • ไม่ทานอาหารโดยใช้ภาชนะร่วมกัน หรือรับประทานอาหารโดยผ่านช้อนกลาง

นอกจากนี้คุณควรรับประทานยาให้ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดร่วม เพื่อเป็นการพักฟื้นร่างกายให้หายจาก โรคหัดเยอรมัน โดยไว

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Rubella. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rubella/symptoms-causes/syc-20377310. Accessed January 14, 2021

German Measles (Rubella). https://www.healthline.com/health/rubella. Accessed January 14, 2021

Rubella. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/rubella. Accessed January 14, 2021

Rubella. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-rubella#1. Accessed January 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณและอาการของโรคคาวาซากิ มีอะไรบ้าง

โรคงูสวัด คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา