ครีมกันแดด อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ แบบเคมิคอล (Chemical) และแบบฟิสิคอล (Physical) ดังนั้น การรู้ว่าครีมกันแดดแบบเคมิคอลและแบบฟิสิคอลต่างกันอย่างไรนั้น อาจช่วยให้สามารถเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิว ทั้งยังอาจช่วยครีมกันแดดช่วยป้องกันแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำความรู้จักกับ ครีมกันแดด
ครีมกันแดดแบบฟิสิคอลทำหน้าที่เสมือนเกราะที่ปกป้องผิวหนัง ด้วยการสะท้อนและเบี่ยงเบนทิศทางของรังสียูวี ในขณะที่ครีมกันแดดแบบเคมิคอลอาจทำหน้าที่ดูดซับรังสียูวี เป็นส่วนใหญ่ โดยตัวกรองรังสีบางชนิดอาจสามารถสลายรังสียูวีได้ ครีมกันแดดฟิสิคอลที่เป็นครีมกันแดดแบบสารอนินทรีย์ (Inorganic) ส่วนครีมกันแดดแบบเคมิคอลนั้นอาจเป็นมีทั้งแบบออร์แกนิกหรือแบบสารอินทรีย์ (Organic)
ตัวกรองแสงยูวีในครีมกันแดด
ตัวกรองแสงยูวี (UV Filters) ทำหน้าที่ปกป้องผิวจากรังสียูวี โดยตัวกรองยูวี คือ สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในครีมสำหรับป้องกันแสงแดด โดยสารออกฤทธิ์สำหรับครีมกันแดดแบบฟิสิคอลนั้น ส่วนใหญ่อาจเป็นไทเทเนียม ไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) และซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้ครีมกันแดดมีความเสถียร
ส่วนครีมกันแดดแบบเคมิคอลอาจใช้ส่วนประกอบที่หลากหลายชนิดกว่า ได้แก่ ออกทิลคลีลีน (Octylcrylene) ออกทีน็อกซ์เซต (Octinoxate) ออกทีซาเลต (Octisalate) ออกซีเบนโซน (Oxybenzone) โฮโมซาเลต (Homosalate) เฮลิโอเพล็กซ์ (Helioplex) 4-MBC เม็กซ์โซริล เอสเอ็กซ์ และ เอ็กซ์แอล (Mexoryl SX and XL) ทีโนซอร์บ เอส และ เอ็ม (Tinosorb S and M) ยูวีนัล ที 150 (Uvinul T 150) ยูวีนัล เอ พลัส (Uvinul A Plus) และอื่น ๆ
โดยสารบางตัวอาจทำงานได้อย่างมีสเถียรภาพ ในขณะที่บางตัวก็ไม่อาจทำงานได้อย่างเสถียร เช่น อโวเบนโซน (Avobenzone) เป็นสารที่ไม่มีความเสถียรอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้อาจแก้ไขได้ด้วยการใช้ส่วนผสมของสารออกฤทธิ์อื่นเข้าไปในสูตรด้วย
สารออกฤทธิ์เหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อผิว
ในกลุ่มครีมกันแดดแบบฟิสิคอล (Physical) แม้ไทเทเนียมไดออกไซด์อาจสามารถปกป้องรังสียูวีได้อย่างมีเสถียรภาพ แต่ก็อาจสร้างปัญหาบางประการให้กับผิวได้เช่นกัน หากเป็นสิวที่เกิดจากการใช้เครื่องสำอางและครีมกันแดดแบบฟิสิคอล ไทเทเนียมไดออกไซด์อาจทำให้สิวที่เกิดขึ้นมีอาการแย่ลง ในขณะที่ซิงก์ออกไซด์อาจมีความปลอดภัยต่อสุขภาพผิวมากกว่า แม้แต่กับผิวที่มีอาการแพ้ง่าย ซึ่งในความเป็นจริง สารเคมีตัวนี้อาจใช้ในการรักษาผื่นที่เกิดจากการแพ้ผ้าอ้อม
ตัวกรองแสงในครีมกันแดดแบบเคมิคอลนั้น ส่วนใหญ่อาจทำให้เกิดความระคายเคือง หากเผลอทำให้เข้าตาอาจทำให้แสบตาได้ ในบางคนอาจแพ้ต่อสารเคมีที่ใช้เป็นตัวกรองรังสียูวีในครีมกันแดดแบบเคมิคอล ส่งผลให้เกิดผดผื่นและสิวได้ ดังนั้น ผู้ที่มีอาการแพ้ง่ายไม่ควรใช้ครีมแดดแบบเคมิคอล เพราะอาจมีอาการแพ้อย่างรุนแรงได้
วิธี เลือกครีมกันแดด
การ เลือกครีมกันแดด อาจต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักในครีมกันแดด ขนาดของอนุภาคของตัวกรองแสง เสถียรภาพของส่วนประกอบหลัก และสูตรของผลิตภัณฑ์ที่ใช้
ไทเทเนียม ไดออกไซด์ มีประสิทธิภาพในการต่อต้านรังสียูวีบี แต่ไม่ปกป้องรังสียูวีเอ ส่วนซิงก์ออกไซด์ป้องกันทั้งรังสียูวีบีและรังสียูวีเอ โดยทั้งไทเทเนียม ไดออกไซด์ และซิงค์ออกไซด์ ต่างออกฤทธิ์ปกป้องทันทีหลังทาลงบนผิว ซึ่งเป็นคุณสมบัติของครีมกันแดดแบบฟิสิคอล (Physical)
ตัวกรองในครีมกันแดดแบบเคมิคอล โดยทั่วไปอาจมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่ระดับของการปกป้องแสงแดดอาจขึ้นอยู่ส่วนผสมเฉพาะอย่าง และอาจต้องรออย่างน้อย 30 นาทีหลังจากทาครีมกันแดด ก่อนที่จะออกไปโดนแสงแดด เพราะต้องรอเวลาทำปฎิกิริยากับผิวชั้นบนพอสมควรจึงจะมีฤทธิ์ปกป้องผิวจากแสงแดดได้
ครีมกันแดดแบบฟิสิคอลและแบบเคมิคอล ต่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยครีมกันแดดชนิดที่ดีที่สุด คือ ครีมกันแดดที่เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคล ในผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายก็อาจเหมาะกับครีมกันแดดแบบฟิสิคอล อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีผิวสีเข้ม ครีมกันแดดแบบฟิสิคอลก็อาจทิ้งคราบขาว ๆ ไว้บนผิว ส่วนครีมกันแดดแบบเคมิคอล อาจมีปัญหาเรื่องการทิ้งคราบขาวน้อยกว่า มีค่า SPF ได้สูงกว่า แต่ก็มีโอกาสแพ้หรือมีปฎิกริยากับผิวได้มากกว่าเช่นกัน
[embed-health-tool-heart-rate]