backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ทาครีมกันแดด อย่างไรให้ปลอดภัยจากรังสียูวี

ทาครีมกันแดด อย่างไรให้ปลอดภัยจากรังสียูวี

ทาครีมกันแดด อาจช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด รังสีอัลตราไวโอเลตเอ (UVA) และรังสีอัลตราไวโอเลตบี (UVB) ที่อาจเป็นอันตรายต่อผิว นอกจากนี้ ยังอาจช่วยป้องกันไม่ให้ผิวไหม้แดด เกิดริ้วรอย จุดด่างดำ ฝ้า กระ และปัญหาผิวอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การทาครีมกันแดดอย่างถูกวิธีอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากแสงแดดได้ดียิ่งขึ้น

ทาครีมกันแดด ให้ผิวปลอดภัยจากรังสียูวี

การทาครีมกันแดดที่อาจช่วยให้ผิวปลอดภัยจากรังสียูวี อาจมีดังนี้

1. ไม่ควรทาครีมกันแดดเฉพาะเวลาไปทะเล

อันตรายของรังสียูวีเอและยูวีบีในแสงแดด ไม่ได้มีอยู่เฉพาะในแสงแดดเวลาไปเที่ยวทะเลเท่านั้น แต่การอยู่ในที่ร่ม ๆ รังสียูวีก็อาจทำร้ายผิวได้เช่นกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะต้องออกไปข้างนอก หรือต้องไปทำกิจกรรมกลางแดด การทาครีมกันแดดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยควรทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง

2. อ่านฉลากส่วนผสม

การอ่านฉลากส่วนผสมบนผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดเป็นอีกสิ่งที่ควรใส่ใจ เนื่องจาก การที่ไม่รู้ว่าครีมกันแดดมีส่วนผสมอะไรบ้าง ก็อาจไม่สามารถช่วยปกป้องผิวจากอันตรายของแสงแดดได้ นอกจากนี้ ครีมกันแดดแต่ชนิดก็มีส่วนผสมที่แตกต่างกัน ดังนั้น การอ่านฉลากส่วนผสมและหาคำที่ระบุว่า ช่วยป้องกันทั้งรังสียูวีเอและรังสียูวีบีในแสงแดด มีค่า SPF 50 รวมถึงมองหาส่วนผสมต่าง ๆ เช่น อีแคมซูล (Ecamsule) เอโวเบนโซน (Avobenzone) ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) ซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทาครีมกันแดด เพื่อป้องกันผิวจากรังสียูวีได้

3. ทาครีมกันแดดทุก ๆ 2 ชั่วโมง

การทาครีมกันแดดแค่ครั้งเดียวแล้วใช้เวลาอยู่ข้างนอกทั้งวัน อาจส่งผลเสียต่อผิวเป็นอย่างมาก เนื่องจากครีมกันแดดไม่ว่าจะชนิดไหนก็ตาม ไม่สามารถทาเพียงครั้งเดียวได้ โดยส่วนใหญ่ การทาครีมกันแดดอาจช่วยปกป้องผิวได้ประมาณ 2 ชั่วโมง ดังนั้น เพื่อช่วยให้ครีมกันแดดปกป้องผิวได้ยาวนานขึ้น อาจต้องทาครีมกันแดดทุก ๆ 2 ชั่วโมง หากต้องทำกิจกรรมที่โดนน้ำ เช่น ว่ายน้ำ อาจต้องทาครีมกันแดดซ้ำทันทีหลังขึ้นจากน้ำ เพื่อช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด  

4. ทาในปริมาณที่พอเพียง

การทาครีมกันแดดในปริมาณน้อย อาจไม่ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีได้ ดังนั้น ควรทาครีมกันแดดในปริมาณที่เหมาะสม โดยบริเวณปริมาณการทาครีมกันแดดสำหรับเด็ก คือ ผิวหน้าอาจทาประมาณ 1 ช้อนชา แต่หากต้องทาทั้งตัวควรจะทาประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ส่วนปริมาณการทาครีมกันแดดสำหรับผู้ใหญ่ คือ 2 ข้อนิ้วมือสำหรับผิวหน้า และทาทั้งตัวก็ประมาณ 1 แก้วเล็ก ๆ เพื่อการป้องกันแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. อย่าพึ่งแต่ครีมกันแดดอย่างเดียว

ครีมกันแดดไม่อาจช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดไปได้ตลอดเวลา ดังนั้น ไม่ว่าจะต้องออกไปข้างนอก หรือต้องไปทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน ๆ นอกจากการทาครีมกันแดดแล้ว ควรหาเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติยูวีคัท หมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด ร่ม มาใช้ร่วมด้วย

6. ทาครีมกันแดดแม้อยู่ในที่ร่ม

รังสียูวีเอและรังสียูวีบีในแสงแดดอาจทำร้ายผิวได้ทุกที่ แม้จะอยู่ในที่ร่มแล้วก็ตาม ดังนั้น การทาครีมกันแดดแม้จะอยู่ในที่ร่มก็อาจช่วยป้องกันรังสียูวีในแสงแดดได้

7. อย่าหลงลืมบริเวณสำคัญ

เนื่องจากผิวของเด็กอาจมีความอ่อนแอกว่าผิวผู้ใหญ่ บริเวณที่ไม่คาดคิด เช่น บริเวณรอยแสกผม หลังแขน หลังขา หลังคอ จึงอาจโดนแสงแดดทำร้ายได้ง่าย ดังนั้น จึงควรป้องกันแสงแดดในบริเวณเหล่านั้นเป็นพิเศษ และอย่าลืมทาครีมกันแดดซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวี 

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Safe and Effective Is Your Sunscreen?. https://www.webmd.com/melanoma-skin-cancer/news/20170811/how-safe-and-effective-is-your-sunscreen#1. Accessed on June 8, 2018

IS SUNSCREEN SAFE?. https://www.aad.org/sun-protection/is-sunscreen-safe. Accessed on June 8, 2018

How to Choose & Use Sunscreen. https://kidshealth.org/en/parents/sunscreen.html. Accessed May 31, 2021

Sunscreen and Sun Protection. https://www.nationwidechildrens.org/family-resources-education/health-wellness-and-safety-resources/helping-hands/sunscreen-and-sun-protection. Accessed May 31, 2021

All About Sunscreen. https://www.skincancer.org/skin-cancer-prevention/sun-protection/sunscreen/#:~:text=The%20big%20picture%3A%20Sunscreen%20is,skin%20cancers%20and%20skin%20precancers. Accessed April 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/10/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 15/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา