backup og meta

ประโยชน์ของชากุหลาบ และวิธีการทำ

ประโยชน์ของชากุหลาบ และวิธีการทำ

ชากุหลาบ เป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการต้มกลีบดอกกุหลาบแห้ง ทำให้ได้เครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอมของดอกกุหลาบ ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น ช่วยต้านอักเสบ ลดความเครียด รวมถึงอาจใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบได้ อย่างไรก็ตาม ชากุหลาบอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน ผู้ที่มีสภาวะบางอย่าง เช่น ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคหัวใจ อาจควรต้องหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาคุณหมอก่อนที่จะดื่มชากุหลาบ

[embed-health-tool-bmr]

ชากุหลาบ บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้จริงหรือ?

ชากุหลาบ (Rose Tea) อุดมไปด้วยวิตามินซีสูง ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อเยื่อ หรือเซลล์ที่ได้รับความเสียหายจากอนุมูลอิสระ ลดอาการข้อเข่าเสื่อมจากโรคไขข้ออักเสบ และยังสามารถบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้อีกด้วย

ผลการวิจัยชิ้นหนึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของชากุหลาบในนักเรียนช่วงวัยรุ่นจำนวน 130 คน ของประเทศไต้หวัน ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้ดื่มชากุหลาบในปริมาณ 2 ถ้วย เป็นเวลา 12 วัน โดยเริ่มต้นการรับประทานก่อนรอบเดือนจะมาประมาณ 1 สัปดาห์ สรุปการวิจัยได้ว่า ผู้ที่ดื่มชากุหลาบมีอาการปวดท้องน้อยลง ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เป็นไปราบรื่น กว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่มชา

ประโยชน์ของชากุหลาบ

นอกจากสีของเครื่องดื่มจะมีความสวยงามแล้ว ยังนำคุณประโยชน์เหล่านี้มาให้ร่างกาย และสุขภาพแข็งแรงขึ้น

  • อาจช่วยในการลดการอักเสบ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Science เมื่อปี 2549 พบว่าสารต่าง ๆ เช่น ฟีนอล (phenols) แอนโทไซยานิน (anthocyanins) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถพบได้ในชากุหลาบ อาจมีคุณสมบัติช่วยต้านอักเสบได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยยังไม่ทราบประสิทธิภาพที่แน่ชัดในการต้านอนุมูลอิสระของชากุหลาบ
  • อาจช่วยลดความเครียด มีงานวิจัยเมื่อปีพ.ศ.2562 ที่ทำการทดลองในสัตว์ พบว่า สารสกัดที่ได้จากกุหลาบ อาจมีคุณสมบัติที่ช่วยต่อต้านความเครียดได้ อย่างไรก็ตาม ยังต้องทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการช่วยลดความเครียดในมนุษย์เพิ่มเติม
  • อาจช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบได้ มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Pubmed เมื่อปีพ.ศ. 2558 ที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารสกัดจากกุหลาบในการรักษาข้ออักเสบ พบว่า กุหลาบอาจมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบของโรคข้ออักเสบได้ และอาจสามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยรักษาโรคข้ออักเสบได้

ใครบ้างที่ไม่ควรดื่มชากุหลาบ

  • สตรีตั้งครรภ์ และผู้ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร
  • โรคเบาหวาน
  • นิ่วในไต
  • ภาวะโลหิตจาง
  • ผู้ที่มีประวัติของโรคหัวใจ เช่น หัวใจวาย , กล้ามเนื้อหัวใจวาย
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • เส้นเลือดอุดตันที่ขา และปอด

วิธีการทำชากุหลาบด้วยตัวเอง

ส่วนประกอบ

  1. กลีบกุหลาบสดที่ผ่านการชำระล้างอย่างสะอาด ปราศจากยาฆ่าแมลง และสารเคมี หรือดอกกุหลาบแห้ง ปริมาณ 2 ถ้วย
  2. น้ำดื่มที่สะอาด ประมาณ 700 มล.

ขั้นตอนการทำชากุหลาบ

  1. นำน้ำดื่มสะอาดที่เตรียมไว้ข้างต้นเทใส่หม้อต้ม พร้อมกับดอกกุหลาบในปริมาณที่กำหนด
  2. ทิ้งไว้ประมาณ 10 – 20 นาที จนเดือด (ระยะเวลาในการต้มอาจต่างกันให้สังเกตสีของน้ำว่าเปลี่ยนไปหรือไม่ จากนั้นจึงดับไฟ)

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Rose Hips https://www.rxlist.com/consumer_rose_hips_rosa_canina/drugs-condition.htm Accessed January 14, 2020

Rose hip https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-839/rose-hip Accessed January 14, 2020

Rose Petal Tea as an Antioxidant-rich Beverage: Cultivar Effects. https://ift.onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.1365-2621.2006.tb12404.x. Accessed December 28, 2021.

Rose tea for relief of primary dysmenorrhea in adolescents: a randomized controlled trial in Taiwan. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31431930/. Accessed December 28, 2021.

In vivo antiarthritic activity of Rosa centifolia L. flower extract. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27313424/. Accessed December 28, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/12/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

กินขมิ้น ช่วยแก้อาการประจำเดือนได้จริงเหรอ

ประจำเดือนมาช้า เกิดจากสาเหตุอะไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา