โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

‘คาร์โนซีน’ สุดยอดสารอาหารบำรุงสมอง

สมอง เป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย รวมไปถึง กระบวนการคิดและกักเก็บความทรงจำ การดูแลสมองให้สมบูรณ์แข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ “คาร์โนซีน” (Carnosine) เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ เพิ่มประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์ รวมถึงยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คาร์โนซีนคืออะไร? คาร์โนซีน (Carnosine) คือโปรตีนไดเปบไทด์ขนาดเล็ก (Dipeptide) ที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ จากกรดอะมิโนจำเป็น 2 ชนิด คือ อะลานีน (Alanine) และฮีสทิดีน (Histidine) และสามารถพบเป็นองค์ประกอบในเนื้อเยื่อหลายชนิด เช่น สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ โดยสามารถแบ่งคาร์โนซีนออกได้เป็น 2 ประเภท คือ คาร์โนซีนที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง คาร์โนซีนที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการรับประทาน อย่างไรก็ตาม ปริมาณของคาร์โนซีนที่พบได้ในร่างกายนั้นจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การจะได้รับคาร์โนซีนเข้าสู่ร่างกายจึงเป็นในรูปแบบของการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เท่านั้น รวมไปถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดคาร์โนซีนโดยเฉพาะ คาร์โนซีนพบได้ในไหนบ้าง คาร์โนซีน (Carnosine) สามารถพบได้ในองค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ เช่น กระเพาะ ไต สมอง หัวใจ และกล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อลายและสมองจะเป็นส่วนที่พบคาร์โนซีนได้มากที่สุด รวมไปถึงคาร์โนซีนที่ได้จากอาหารจำพวกโปรตีนที่เป็นเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว […]

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลโภชนาการ

ภูมิแพ้ผิวหนัง กิน วิตามิน อะไร เพื่อบำรุงผิวและบรรเทาอาการ

ภูมิแพ้ผิวหนัง กิน วิตามิน อะไร เพื่อช่วยบำรุงผิวให้แข็งแรงและลดการอักเสบ คัน ระคายเคือง คำตอบคือ ควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินซี วิตามินดี โดยวิตามินซีมักพบมากในผักตระกูลกะหล่ำ ผลไม้ตระกูลส้ม มะเขือเทศ มะขามป้อม ส่วนวิตามินดีมักพบมากน้ำมันตับปลา ตับวัว ไข่แดง [embed-health-tool-bmi] ภูมิแพ้ผิวหนัง กิน วิตามิน อะไร ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ควรกินวิตามินวิตามินซีและวิตามินดี สำหรับวิตามินซี ถือเป็นวิตามินที่ช่วยลดการหลั่งฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นและก่อให้เกิดการอักเสบและอาการภูมิแพ้เพื่อตอบสนองต่อสารแปลกปลอม ในขณะที่วิตามินดีจะช่วยควบคุมการติดเชื้อและลดการอักเสบของผิวหนังได้ หากร่างกายได้รับวิตามินต่าง ๆ อย่างเพียงพอจากการกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินชนิดต่าง ๆ และทาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีส่วนผสมจากวิตามินที่มีประโยชน์ต่อผิวจะช่วยบำรุงผิวให้แข็งแรง และอาจช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ผิวหนังให้ดีขึ้นได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิผลของวิตามินเสริมในการรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง พบว่า วิตามินมีบทบาทสำคัญในการรักษาการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ตัวอย่างเช่น วิตามินดี โดยเฉพาะวิตามินดี 3 หากร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดปัญหาผิวหนังได้ นอกจากนี้ วิตามินอื่น ๆ เช่น วิตามินอี วิตามินซี […]


ข้อมูลโภชนาการ

ส้มป่อย สมุนไพรไทยมากประโยชน์ มีสรรพคุณอย่างไรบ้าง

ส้มป่อย หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์  Acacia Concinna (Wild.) D.C. เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้ได้หลายส่วน มีลักษณะเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้น กิ่ง ก้านและใบ พืชชนิดนี้พบมากตามเขตร้อนในเอเชีย ทุกภาคของประเทศไทย เช่น ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าผสม และป่าดิบแล้งโปร่ง ส้มป่อย มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจและอาจใช้รักษาอาการได้หลายประเภท ทั้งสรรพคุณจาก ฝักส้มป่อย และ ใบส้มป่อย ซึ่งนำมาต้มเป็นน้ำดื่มหรืออาจใช้ทำลูกประคบได้ [embed-health-tool-bmi] ลักษณะของฝักส้มป่อยและองค์ประกอบทางเคมี ฝักส้มป่อยจะแห้งแบน มีสีน้ำตาลแดงหรืออาจมีสีดำ ผิวย่นเป็นลอน เมล็ดภายในสีน้ำตาลดำ รสเปรี้ยว สำหรับฝักส้มป่อยมีสารเคมีหลายชนิดที่สำคัญ ได้แก่  สารกลุ่มแซโพนิน (Saponins) เช่น อะเคซินินซี (Acacinin C) อะเคซินินดี (Acacinin D) อะเคซินินอี (Acacinin E)  แซโพนินไกลโคไซด์ (Saponin Glycosides) เช่น คินมูนโนไซด์เอ (Kinmoonoside A) คินมูนโนไซด์บี (Kinmoonoside B) คินมูนโนไซด์ซี […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

คํานวณ BMR ง่าย ๆ ด้วยเครื่องคำนวณอัตราการเผาผลาญพลังงาน

BMR คือ ปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้สมดุลและทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติแม้ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม การ คํานวณ BMR ด้วยเครื่องคำนวณอัตราการเผาผลาญพลังงาน อาจช่วยให้ผู้ที่ต้องการรักษาน้ำหนักตัวให้สมดุลหรือกำลังลดน้ำหนักสามารถวางแผนการรับประทานอาหารในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การใช้ชีวิตที่เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ (Active lifestyle) เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ก็อาจช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้เร็วยิ่งขึ้น BMR คืออะไร BMR หรือ Basal Metabolic Rate เป็นอัตราการวัดปริมาณพลังงานขั้นต่ำที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยให้ระบบพื้นฐานของร่างกายทำงานได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็น การหายใจ การสร้างเซลล์ การย่อยและดูดซึมอาหาร การเจริญเติบโตของผมและผิวหนัง การรักษาอุณหภูมิร่างกายให้สมดุล การรักษาระดับของสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเครื่อง BMR เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถคำนวณปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน โดยพิจารณาจากข้อมูลสุขภาพต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ทั้งนี้ อาจมีความสับสนระหว่าง BMR กับ RMR หรือ Resting Metabolic Rate ซึ่งเป็นอัตราการเผาผลาญพลังงานขณะพักจากการทำกิจกรรมหรืออยู่กับที่เฉย ๆ การคำนวณ RMR ถือว่าเป็นวิธีที่แม่นยำหากต้องการวัดอัตราการเผาผลาญพลังงานจากกิจกรรมที่ใช้แรงน้อย […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

เครื่องคำนวณ หาค่า BMI หรือดัชนีมวลกาย ใช้งานอย่างไร

ค่า BMI หรือ Body Mass Index คือ ค่าดัชนีมวลกาย เป็นสูตรคำนวณค่ามาตรฐานของน้ำหนักตัวเพื่อประเมินปริมาณไขมันในร่างกาย การ หาค่า BMI ทำได้ด้วยการใช้เครื่องคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย ที่ใช้งานง่ายและใช้เวลาเพียงไม่นาน หรืออาจคำนวณด้วยตัวเองโดยการคำนวณอัตราส่วนของส่วนสูงต่อน้ำหนัก การทราบถึงค่า BMI จะช่วยให้วางแผนควบคุมน้ำหนักและดูแลสุขภาพโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการใช้ประเมินภาวะสุขภาพของผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป [embed-health-tool-bmi] ค่า BMI คืออะไร ค่า BMI หรือ ค่าดัชนีมวลกาย เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินปริมาณไขมันในร่างกายจากน้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งจะทำให้ทราบว่าสภาวะร่างกายมีความสมดุลและมีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมหรือไม่ นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงของภาวะสุขภาพได้ แต่ไม่สามารถใช้เพื่อวินิจฉัยสุขภาพได้ การ ทั้งนี้ การหาค่า BMI ยังเป็นเครื่องมือที่บุคลากรทางการแพทย์ใช้ประเมินภาวะสุขภาพและความเสี่ยงของโรคร่วมกับการใช้เครื่องมือและแบบทดสอบอื่น ๆ อีกด้วย โดยระดับค่า BMI สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ น้ำหนักน้อย น้ำหนักปกติ น้ำหนักเกิน โรคอ้วนระดับที่ 1 โรคอ้วนระดับที่ 2 วิธีใช้เครื่องคำนวณ หาค่า BMI เครื่องคำนวณ หาค่า BMI เป็น […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

สารปนเปื้อนในอาหาร ที่พบได้บ่อยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

สารปนเปื้อนในอาหาร เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสารปนเปื้อนตามธรรมชาติ สารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม สารปนเปื้อนที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการผลิต การแปรรูป การเก็บรักษา และการเตรียมอาหาร ซึ่งหากบริโภคเข้าไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ทุกคนจึงควรระมัดระวังในการเลือกแหล่งวัตถุดิบหรือแหล่งจำหน่ายสินค้า โดยควรเลือกแหล่งที่สะอาด น่าเชื่อถือและได้มาตรฐาน และควรล้างเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ให้สะอาดทุกครั้งก่อนบริโภคหรือนำมาประกอบอาหาร [embed-health-tool-bmi] สารปนเปื้อนในอาหาร คืออะไร สารปนเปื้อนในอาหาร (Food Contaminants) คือ สารอันตรายใด ๆ ที่อยู่ในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์จากแหล่งธรรมชาติอย่างแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต เป็นต้น สารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมอย่างปรอท ตะกั่ว สารพิษจากหอย เป็นต้น รวมไปถึงสารปนเปื้อนในกระบวนการผลิตอาหารที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต การบรรจุ การขนส่ง นอกจากนี้ การใช้สารเติมแต่งที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือใช้ในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารได้เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพของอาหารให้ลดลง และหากร่างกายได้รับในปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ สารปนเปื้อนในอาหาร ที่พบได้บ่อย สารปนเปื้อนในอาหาร ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ฟอร์มาลีน เป็นสารอันตรายที่ไม่ควรใช้กับอาหารแต่มักมีการใช้เพื่อยืดอายุอาหารที่เน่าเสียง่ายให้อยู่นานขึ้นเช่น ผักสด เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลสด โดยเฉพาะปลาหมึก แมงกะพรุน สารชนิดนี้เป็นอันตรายต่อร่างกายและก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ เช่น ปากและคอแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะรุนแรง หากได้รับต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะทำให้ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วย […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

ของทอด กินอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

ของทอด มักเป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียม ไขมัน และน้ำตาลสูง เช่น ไก่ทอด เฟรนช์ฟรายส์ นักเก็ต พิซซ่า รวมไปถึงอาหารว่างอย่างหนังไก่กรอบ กล้วยทอด ลูกชิ้นทอด ผักทอด แมลงทอด โดยส่วนใหญ่มักนิยมกินคู่กับเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงอย่าง น้ำอัดลม เบียร์ น้ำหวาน ชานมไข่มุก ซึ่งล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งนี้ หากกินของทอดในปริมาณที่พอดี เน้นกินพวกธัญพืช ผัก ผลไม้ ในสัดส่วนที่มากกว่า อีกทั้งเลือกกินของทอดที่ใช้น้ำมันดีอย่างน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันทอดซ้ำ อาจช่วยลดความเสี่ยงผลเสียต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] ของทอด ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร สาเหตุที่ของทอดอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพนั้นยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่อาจเกิดจากกปริมาณไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ในของทอด ซึ่งเมื่อบริโภคมากเกินไปจะเข้าไปเป็นไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ทั่วร่างกาย ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ทั้งยังเข้าไปสะสมเป็นคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง เกิดการอุดตันและกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เป็นต้น นอกจากนั้น การประกอบอาหารด้วยการทอดยังกระตุ้นการสร้างสารเคมีที่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบได้ และยังมีกรดไขมันทรานส์ที่เกิดจากการใช้ความร้อนในการปรุงอาหาร ทำให้ไขมันไม่ดีในเลือด (LDL) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เพิ่มขึ้น และปริมาณไขมันดี (HDL) ที่ช่วยลดคราบไขมันในผนังหลอดเลือดลดลง งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

กินทุเรียนกับเบียร์ เป็นอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือไม่

หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า ไม่ควร กินทุเรียนกับเบียร์ เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น เนื่องจากทั้งทุเรียนและเบียร์ต่างก็เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงได้ อีกทั้งทุเรียนยังอาจไปยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลายแอลกอฮอล์ ส่งผลให้มีแอลกอฮอล์สะสมในระดับที่ร่างกายรับไม่ไหว ยิ่งกินทุเรียนกับเบียร์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ๆ ในปริมาณมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้อาการไม่พึงประสงค์รุนแรงขึ้นเท่านั้น จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] กินทุเรียนกับเบียร์ อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ การ กินทุเรียนกับเบียร์ ไม่ว่าจะกินพร้อมกันหรือกินในเวลาใกล้เคียงกัน เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทุเรียนมีสารประกอบซัลเฟอร์ (Sulfur) หรือกำมะถัน ในปริมาณมาก และกำมะถันจะไปขัดขวางกระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถทำลายแอลกอฮอล์ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มีสารอะเซตาดีไฮด์ (Acetaldehyde) ตกค้างอยู่ในร่างกาย ตามปกติแล้วสารอะเซตาดีไฮด์เป็นสารตัวกลางที่ถูกเปลี่ยนมาจากแอลกอฮอล์ และจะเปลี่ยนไปเป็นน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อขับออกจากร่างกาย แต่เมื่อกระบวนการทำลายแอลกอฮอล์หยุดชะงักจะส่งผลให้มีสารอะเซตาดีไฮด์ตกค้างอยู่ สารนี้มีพิษและจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้าแดง หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว สำหรับผู้ที่มีอาการข้างเคียงรุนแรงจากการ กินทุเรียนกับเบียร์ อาจทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ ทุเรียนกับเบียร์ ยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงทั้งคู่ ทุเรียนเป็นผลไม้ธาตุร้อนที่มีแก๊ส ไขมันและน้ำตาลเยอะ ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานอย่างรวดเร็วและทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น เมื่อมีน้ำตาลในเลือดเยอะ ร่างกายจะดึงน้ำจากเซลล์เพื่อมาลดระดับน้ำตาล ทำให้สูญเสียน้ำในร่างกายมากขึ้น เมื่อรวมกับแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ อาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ หากรับน้ำมาทดแทนไม่ทัน […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

อาหารตามวัย เลือกรับประทานอย่างไรให้เหมาะกับอายุ

ความต้องการทางโภชนาการของคนเราจะเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น การเลือกรับประทาน อาหารตามวัย อาจช่วยให้คนในแต่ละวัยได้รับสารอาหารที่จำเป็นตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ โดยทั่วไป การรับประทานอาหารให้หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การดูแลสุขภาพจิตให้ดี จะช่วยให้ร่างกายของคนเรามีแข็งแรง ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม [embed-health-tool-bmi] อาหารตามวัย : ทารกแรกเกิด - 6 เดือน นมแม่เป็นสารอาหารเดียวที่ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือนแรกควรได้รับ เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงาน มีคุณค่าทางโภชนาการและภูมิคุ้มกันที่จำเป็นเพียงพอสำหรับทารก และหากเป็นไปได้ควรให้ทารกได้รับน้ำนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากไม่สะดวกให้นมด้วยตัวเองตลอดเวลา คุณแม่อาจปั๊มนมเก็บไว้และใส่ขวดนมให้ทารกดูดในภายหลัง ทั้งนี้ ควรให้ทารกวัยนี้รับประทานเพียงนมแม่หรือนมผงสำหรับทารกเท่านั้น ไม่ควรให้รับประทานอาหารอื่น รวมไปถึงเครื่องดื่ม เช่น น้ำส้ม และไม่จำเป็นต้องให้ทารกดื่มน้ำเปล่าหลังดูดนม เพราะอาจทำให้ทารกดูดนมน้อยลงและขาดสารอาหารได้ อาหารตามวัย : ทารก 6 เดือน - 12 เดือน ทารกวัย 6 เดือนขึ้นไปสามารถรับประทานอาหารแข็ง (Solid food) เพื่อเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ควบคู่ไปกับการให้นมแม่อย่างต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 12 เดือนขึ้นไป หรือนานเท่าที่คุณแม่และทารกต้องการ ในช่วงแรกอาจเริ่มจากการให้ทารกรับประทานอาหารแข็งประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ/วัน และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารเมื่อทารกโตขึ้น โดยวิธีเลือกอาหารแข็งที่เหมาะสำหรับทารกในวัยนี้ […]


ข้อมูลโภชนาการ

โภชนาการ คืออะไร อาหารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

โภชนาการ (Nutrition) คือ กระบวนการดูแลสุขภาพด้วยการคัดเลือกประเภทและปริมาณอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกายเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี สารอาหารตามหลักโภชนาการแบ่งได้ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการอาจช่วยให้สามารถเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-bmi] โภชนาการ คืออะไร องค์การอนามัยโลก (WHO) นิยามว่า “โภชนาการ เป็นส่วนสำคัญของการมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดี การมีโภชนาการที่ดีจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันของทารก เด็ก และมารดา ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งยังช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาว” นอกจากนี้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถช่วยจัดการกับภาวะสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ การเลือกอาหารตามหลัก โภชนาการ การปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานในแต่ละวันให้เป็นไปตามหลัก โภชนาการ ที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น อาจทำได้ดังนี้ ธัญพืช (Grains) ธัญพืชเต็มเมล็ดเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและใยอาหารสูง ทั้งยังมีไขมันต่ำ ช่วยให้อิ่มได้นานและทำให้ไม่รับประทานมากเกินความจำเป็น การเลือกซื้อธัญพืชควรดูจากฉลากผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมของธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole) หรือไม่ และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีใยอาหารอย่างน้อย 3 กรัม/ 1 หน่วยบริโภค ตัวอย่างอาหารประเภทธัญพืช พาสต้าโฮลวีต ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวบาร์เลย์ ควินัว […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม