backup og meta

ทำความรู้จักกับ การตรวจหาค่า PSA การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 21/07/2021

    ทำความรู้จักกับ การตรวจหาค่า PSA การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากที่ควรรู้

    การตรวจคัดกรองเป็นการตรวจเพื่อหามะเร็งก่อนที่มีอาการแสดงออกมา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่ชัดว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ซึ่งหนึ่งในวิธีการตรวจโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก คือ การตรวจหาค่า PSA ดังนั้น เราไปทำความรู้จักกับการตรวจวิธีนี้กันเลย

    การตรวจหาค่า PSA คืออะไร

    การตรวจหาค่าPSA คือ การตรวจแอนติเจนต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen หรือ PSA) เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในต่อมลูกหมาก (ทั้งเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็ง) หากมีปัญหากับต่อมลูกหมาก มันจะปล่อย PSA ออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นการทดสอบวัดปริมาณของแอนติเจนที่จำเพาะต่อมลูกหมาก ในเลือด ซึ่งเป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะของผู้ชาย โดย PSA ส่วนใหญ่พบอยู่ในน้ำอสุจิ แต่สามารถพบ PSA จำนวนเล็กน้อยไหลเวียนอยู่ภายในกระแสเลือด อย่างไรก็ตามภาวะอื่น ๆ เช่น ต่อมลูกหมากโต หรืออักเสบก็สามารถเพิ่มระดับ PSAได้เช่นกัน

    ระดับค่า PSA

    เนื่องจากยังไม่มีค่ากำหนดที่แน่ชัด เจาะจงว่าเป็นค่ามาตรฐานปกติของค่า PSA แต่โดยทั่วไปที่นิยมใช้กันก็คือ

    • หากค่า PSA ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 4 ng/mL จะถือว่าเป็นค่าปกติ ที่อาจจะไม่เสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
    • หากผู้ชายมีระดับ PSA สูงกว่า 4.0 ng/mL จนถึง 10 ng./mL แพทย์จะแนะนำให้มีการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก เพื่อส่งตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยมีโอกาสที่จะเป็นประมาณ 25 %
    • หากค่า PSA สูงกว่า 10 ng/mL ขึ้นไป มีโอกาส 50% ที่คุณจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จำเป็นจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อหารือวิธีการรักษา

    ประโยชน์ของ การตรวจหาค่า PSA

    หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า การตรวจหาค่า PSA นั้น มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ดังนั้น ลองมาดูประโยชน์กันดีกว่า

  • เพื่อตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงว่าอาจเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ใช้ติดตามผลการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากว่ามีโอกาสการฟื้นตัวกลับมาเป็นอีกครั้งหรือไม่
  • ดูประสิทธิภาพและประสิทธิผลการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ควรตรวจหาค่า PSA เมื่อใด

    ความจริงแล้วการตรวจหามะเร็งตอมลูกหมานั้น ถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเหล่าคุณผู้ชาย ความจริงแล้วควรตรวจหาค่า PAS เมื่อใด และควรตวรจบ่อยขนาดไหน ลองมาดูกัน

    • อายุต่ำกว่า 40 ปี และไม่เคยมีการตรวจคัดกรอง และสามารถตรวจได้จนถึงอายุ 70 ปี
    • ควรตรวจคัดกรองอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
    • สำหรับผู้ชายที่มีอัตราเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก
    • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
    • การตรวจหาค่า PSA นั้น ไม่ควรตรวจหากมีอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป หรือน้อยกว่า 10-15 ปี

    ข้อดีและข้อเสียของ การตรวจ PSA

    แน่นอนว่าทุกอย่างล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งการตรวจ PSA ก็เช่นกัน ข้อดีอย่างหนึ่งของการตรจ PSA ก็คือ ทำให้คุณตรวจพบมะเร็จต่อมลูกหมายได้ตั้งแต่ระยะต้น ๆ แต่บางครั้งคุณอาจจะไม่ได้เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เมื่อค่า PSA ออกมาสูง มันอาจทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวล ซึ่งนั่นคือข้อเสีย แล้วจ้อดีและข้อเสียของการตรวจ PSA มีอะไรอีกบ้าง ไปติดตามกัน

    ข้อดีการตรวจ PSA

  • อาจช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากได้ตั้งแต่ระยะต้น ๆ
  • มีแนวโน้มที่จะรักษาให้หายขาดได้ หากมีการวินิจฉัยว่าเป็นในระยะเริ่มแรก
  • การทดสอบ PSA ทำได้ด้วยการตรวจเลือดแบบง่าย ๆ
  • การตรวจ PSA อย่างเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จะทำให้วินิจฉัยโรคได้เร็ว
  • การรู้ก่อนย่อมดีกว่าไม่รู้ เพราะการทดสอบสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณว่าเป็นหรือไม่ แต่ถ้าหากตรวจพบก่อนก็สามารถทำการรักษาได้ก่อน
  • ข้อเสียการตรวจ PSA

    • มะเร็งต่อมลูกหมากบางชนิดโตช้า และไม่แพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก ซึ่งบางครั้งอาจตรวจไม่พบ
    • บางคนตรวจแล้วมีค่า PSA สูงแต่อาจจะไม่เป็นมะเร็ง ทำให้เกิดความวิตกกังวล
    • การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก อาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่รบกวนคุณภาพชีวิตได้ เช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

    วิธีการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีอื่น ๆ

    นอกจากการตรวจหาค่า PSA แล้ว แน่นอนว่า การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นยังมีวิธีอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งวิธีการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีอื่น ๆ มีดังนี้

    • การตรวจเบื้องต้น (Screening Test) แนะนำให้ตรวจเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป โดยการตรวจทางทวารหนัก หรือการเจาะเลือด
    • การตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากแพทย์จะเก็บชิ้นเนื้อตัวอย่างจากต่อมลูกหมากด้วยการใช้อุปกรณ์เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปตามทวารหนัก
    • การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam หรือ DRE) การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการอัลตราซาวด์ผ่านช่องทวารหนักด้วยการใช้เครื่องมือตรวจชิ้นเล็ก ๆ เข้าไปทางทวารหนัก
    • การถ่ายภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือซีทีสแกน (CT Scan) เพื่อให้สามารถมองเห็นส่วนต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ และละเอียดยิ่งขึ้น

    สำหรับผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรหมั่นไปตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก และควรหยุดตรวจเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ซึ่งเหล่าคุณผู้ชายสามารถรับคำแนะนำ หรือคำปรึกษาจากแพทย์ที่ให้การรักษากับคุณเพิ่มเติมได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 21/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา