backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภาวะจำนวนอสุจิน้อย (Low Sperm Count)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

ภาวะจำนวนอสุจิน้อย (Low Sperm Count)

ภาวะจำนวนอสุจิน้อย คือ น้ำเชื้อที่หลั่งออกมาเมื่อถึงจุดสุดยอดนั้นมีปริมาณน้อยกว่าปกติ ซึ่งพบได้ทั่วไป เกิดจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม การใช้ยาบางชนิดเพื่อรักษาโรค ฮอร์โมนไม่สมดุล การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะจำนวนอสุจิน้อยยังสามารถมีบุตรได้

คำจำกัดความ

ภาวะจำนวนอสุจิน้อย คืออะไร

ภาวะจำนวนอสุจิน้อย (Oligospermia: Low sperm count) คือ ตัวอสุจิในน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาในระหว่างที่ถึงจุดสุดยอดนั้นมีจำนวนน้อยกว่าปกติ  หรือน้อยกว่า 15 ล้านตัวต่อน้ำเชื้อหนึ่งมิลลิลิตร แต่หากไม่มีอสุจิเลยนั้นเรียกว่า ภาวะน้ำอสุจิบกพร่อง (Azoospermia)

การมีจำนวนอสุจิน้อยจะลดโอกาสที่อสุจิตัวหนึ่งจะผสมพันธุ์กับไข่ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะจำนวนอสุจิน้อยยังสามารถมีบุตรได้

ภาวะจำนวนอสุจิน้อย พบได้บ่อยแค่ไหน

ภาวะจำนวนอสุจิน้อยพบได้กับเพศชายทุกวัยหลังจากเข้าสู่ภาวะวัยเจริญพันธุ์แล้ว หรืออายุประมาณ 13 ปีขึ้นไป

อาการ

อาการของ ภาวะจำนวนอสุจิน้อย

อาการของ ภาวะจำนวนอสุจิน้อย ที่พบบ่อยคือ

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

ควรพบคุณหมอหากมีอาการเหล่านี้

  • มีปัญหาการแข็งตัวหรือการหลั่งน้ำกาม
  • มีความต้องการทางเพศต่ำ หรือปัญหาอื่น ๆ ในระบบการสืบพันธุ์
  • เจ็บปวด ไม่สบายตัว มีก้อนเนื้อ หรือบวมที่บริเวณอัณฑะ
  • มีประวัติของโรคที่เกี่ยวกับอัณฑะ ต่อมลูกหมาก หรือโรคเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ
  • มีการผ่าตัดขาหนีบ อัณฑะถุงอัณฑะ องคชาต

หากสังเกตเห็นสัญญาณเตือนหรืออาการใด ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น หรือมีข้อคำถามใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะจำนวนอสุจิน้อย

ภาวะจำนวนอสุจิน้อยอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ ได้แก่

  • มีภาวะหลอดเลือดดำอัณฑะขอด เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของภาวะเป็นหมันในเพศชาย เนื่องจากหลอดเลือดดำอัณฑะขอดทำให้คุณภาพของอสุจิลดลง
  • เกิดจากการติดเชื้อ เนื่องจากการติดเชื้อบางอย่างอาจทำให้การผลิตอสุจิหรือสุขภาพของอสุจิผิดปกติหรืออาจทำเกิดให้รอยแผลที่อาจกีดขวางทางผ่านของอสุจิ
  • การสวนทางของการหลั่ง เกิดขึ้นเมื่อน้ำเชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ในระหว่างการถึงจุดสุดยอด แทนที่จะหลั่งออกมาจากองคชาต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหรือปัญหาสุขภาพบางอย่าง ได้แก่ โรคเบาหวาน การบาดเจ็บกระดูกสันหลัง และการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก หรือท่อปัสสาวะ
  • ตัวยาบางตัวอาจมีผลต่อการหลั่งน้ำอสุจิ เช่น ยาความดันโลหิตหรือยาปิดกั้นอัลฟ่า
  • สารภูมิต้านทานทำร้ายอสุจิ เนื่องจากสารในระบบภูมิคุ้มกันเกิดการต่อต้านอสุจิ จึงก่อให้เกิดปฏิกิริยาบางอย่างและพยายามที่จะทำลายอสุจิเหล่านั้น
  • เนื้องอกหรือมะเร็ง อาจส่งผลโดยตรงต่ออวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชายได้ การผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งอาจทำให้เพศชายเป็นหมันได้
  • ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง ในระหว่างการผลิตอสุจิ ลูกอัณฑะลูกใดลูกหนึ่งหรือทั้งสองลูกนั้นอาจเกิดความผิดปกติทำให้ไม่เคลื่อนตัวไปอยู่ในถุงอัณฑะตามปกติ ทั้งนี้ มักส่งผลให้ภาวะเจริญพันธุ์หยุดเจริญเติบโตได้
  • ฮอร์โมนไม่สมดุล ต่อมใต้สมองส่วนล่าง ต่อมใต้สมอง และอัณฑะจะผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการผลิตอสุจิ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเหล่านี้   อาจทำให้การผลิตไทรอยด์และต่อมหมวกไตอสุจิบกพร่องได้
  • หลอดเลือดฝอยที่ขนส่งอสุจิผิดปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การบาดเจ็บจากการผ่าตัด การติดเชื้อ แผลจากอุบัติเหตุ หรือการพัฒนาที่ผิดปกติ เช่น ซีสติก ไฟโบรซิส หรือโรคเรื้อรังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • ความผิดปกติในโครโมโซม โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคไคลน์เฟลเตอร์ โรคซีสติก ไฟโบรซิส โรคคัลล์มานน์ หรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเป็นหมัน
  • โรคเซลิแอค ความผิดปกติในระบบย่อยอาหารที่เกิดจากการแพ้กลูเตน ซึ่งอาจทำให้เป็นหมันได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะการเจริญพันธุ์อาจดีขึ้นได้หลังจากการรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตน
  • ตัวยาบางชนิด การบำบัดโดยการทดแทนฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน) การใช้ยาอนาบอลิค สเตียรอยด์ ยารักษาโรคมะเร็ง (เคมีบำบัด) ยาต้านเชื้อราบางตัว ยาปฏิชีวนะ ยารักษาแผลภายในต่าง ๆ และยาอื่น ๆ อาจส่งผลต่อการผลิตอสุจิที่ลดลงและอาจทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ของเพศชายผิดปกติ
  • การผ่าตัด บางครั้งการผ่าตัดอาจทำให้มีตัวอสุจิในน้ำอสุจิน้อยลง ได้แก่ การตัดหลอดนำอสุจิ การผ่ารักษาโรคไส้เลื่อนขาหนีบ ถุงอัณฑะ หรือการผ่าตัดที่เกี่ยวกับถุงอัณฑะต่าง ๆ การผ่าตัดต่อมลูกหมาก และการผ่าตัดใหญ่บริเวณช่องท้องสำหรับรักษาถุงอัณฑะและมะเร็งทวารหนัก

ภาวะจำนวนอสุจิน้อยจากการเผชิญสภาวะแวดล้อมบางประการ ได้แก่

  • สารเคมีต่าง ๆ ในการอุตสาหกรรม การเผชิญกับน้ำมันเบนซิน โทลูอีน ไซลีน สารเคมีกำจัดวัชพืช ยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ตัวทำละลายสารอินทรีย์ สีทาต่าง ๆ และสารตะกั่ว อาจส่งผลให้เกิดภาวะจำนวนอสุจิน้อย
  • การเผชิญสารโลหะหนัก การสัมผัสสารตะกั่ว หรือโลหะหนักอื่น ๆ อาจทำให้เป็นหมันได้
  • การฉายรังสี หรือเอ็กซเรย์ การสัมผัสรังสีอาจทำให้การผลิตอสุจิลดลง อาจใช้เวลาหลายปีกว่าจำนวนอสุจิจะกลับมาเป็นปกติ หากได้รับรังสีในปริมาณมากอาจทำให้การผลิตอสุจิลดลงถาวร
  • อัณฑะได้รับความร้อนมากเกินไป อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้การผลิตอสุจิและระบบการทำงานเสียหาย  เช่น การเข้าอบไอน้ำ  การแช่น้ำร้อน ซึ่งอาจทำให้จำนวนอสุจิลดลงชั่วคราว
  • การนั่งเป็นเวลานาน ๆ การใส่เสื้อผ้าคับแน่น การใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปเป็นเวลานาน ๆ อาจเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของถุงอัณฑะและอาจส่งผลให้การผลิตอสุจิลดจำนวนลง

ภาวะจำนวนอสุจิน้อยที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่

  • การใช้ยา ยาอนาบอลิค เสตียรอยด์ที่ใช้เพื่อกระตุ้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเจริญเติบโตนั้น สามารถทำให้อัณฑะผลิตอสุจิลดลง รวมถึงการเสพโคเคนหรือกัญชาก็มีส่วนในการลดจำนวนและคุณภาพของอสุจิเช่นกัน
  • การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง และทำให้การผลิตอสุจิลดลง
  • ลักษณะอาชีพ อาชีพบางอย่างอาจมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเป็นหมัน ได้แก่ ช่างเชื่อม คนขับรถบรรทุก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่สนับสนุนความเกี่ยวข้องนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
  • การสูบบุหรี่ ผู้ชายที่สูบบุหรี่อาจมีจำนวนอสุจิน้อยกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • การตึงเครียดในอารมณ์ ความเครียดรุนแรงหรือยาวนาน อาจมีผลต่อฮอร์โมนที่จำเป็นในการผลิตอสุจิ
  • น้ำหนัก โรคอ้วนอาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์แย่ลง รวมถึงส่งผลต่ออสุจิโดยตรง โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในฮอร์โมนที่ลดการเจริญพันธุ์ในเพศชาย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะจำนวนอสุจิน้อย

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะจำนวน อสุจิน้อย ได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยาบางชนิด
  • ภาวะน้ำหนักเกิน
  • การติดเชื้อทั้งในอดีตและปัจจุบัน
  • การเผชิญสารพิษ
  • อัณฑะได้รับความร้อนมากเกินไป
  • เคยได้รับความเจ็บปวดที่อัณฑะ
  • ความผิดปกติในการเจริญพันธุ์โดยกำเนิด หรือมีผู้เกี่ยวพันทางสายเลือดที่มีความผิดปกติในการเจริญพันธุ์
  • มีโรคบางประการ ได้แก่ เนื้องอก หรือความเจ็บป่วยเรื้อรัง
  • อยู่ในระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง เช่น การฉายรังสี
  • มีประวัติของการผ่าตัดหลอดนำอสุจิ หรือการผ่าตัดใหญ่ที่ช่องท้อง หรือการผ่าตัดที่กระดูกเชิงกราน
  • มีประวัติเป็นไส้เลื่อน

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะจำนวนอสุจิน้อย

หากปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับภาวะการมีบุตรยาก คุณหมอจะดำเนินการตรวจหาสาเหตุของโรค และถึงแม้คุณหมอจะให้เหตุผลว่ามีสาเหตุมาจากภาวะจำนวนอสุจิน้อย นั้นเป็นสาเหตุหลัก แต่คุณหมออาจแนะนำให้คู่รักรับการตรวจเช่นกันเพื่อหาปัจจัยร่วม โดยตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้

  • การตรวจร่างกายทั่วไปและประวัติการรักษา รวมถึงตรวจสอบอวัยวะเพศ และการสอบถามคำถามเกี่ยวกับโรคทางกรรมพันธุ์ โรคเรื้อรัง ความเจ็บป่วย อาการบาดเจ็บ หรือการผ่าตัดที่อาจส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ คุณหมออาจถามเรื่องรสนิยมทางเพศ และพัฒนาการทางเพศอีกด้วย
  • การวิเคราะห์น้ำอสุจิ ภาวะจำนวนอสุจิน้อย โดยทั่วไปจะตรวจสอบด้วยการส่องน้ำอสุจิผ่านกล้องจุลทรรศน์ เพื่อส่องดูจำนวนตัวอสุจิในช่องสี่เหลี่ยมรูปทรงตาราง แต่ในบางกรณี อาจต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยนับจำนวนอสุจิ

ทั้งนี้ คุณหมออาจแนะนำการทดสอบบางอย่างเพื่อหาสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ ได้แก่

  • การอัลตราซาวด์ถุงอัณฑะ การทดสอบนี้จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจอัณฑะและโครงสร้างของอัณฑะ
  • การทดสอบฮอร์โมน คุณหมออาจแนะนำให้ได้รับการตรวจเลือด เพื่อตรวจหาระดับฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นโดยต่อมใต้สมองและอัณฑะ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของพัฒนาการทางเพศ และการผลิตน้ำอสุจิ
  • การทดสอบปัสสาวะหลังการหลั่งน้ำกาม อสุจิในปัสสาวะสามารถบ่งชี้ได้ว่า น้ำอสุจิมีการลำเลียงสวนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแทนที่จะออกจากองคชาตในระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิหรือไม่
  • การทดสอบพันธุกรรม หากความเข้มข้นของน้ำอสุจินั้นต่ำมาก อาจมีการตรวจสอบด้านพันธุกรรม เพื่อหาสัญญาณของความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • การตรวจชิ้นเนื้ออัณฑะ การทดสอบนี้ต้องมีการตัดชิ้นเนื้อจากอัณฑะด้วยเข็ม ผลของการตรวจชิ้นเนื้ออัณฑะสามารถบอกได้ว่าการผลิตน้ำอสุจินั้นเป็นปกติหรือไม่ หากเป็นปกติ ปัญหาอาจเกิดจากการอุดตันหรือ ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนำส่งอสุจิ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่นิยมนำมาใช้ทดสอบสาเหตุของการเป็นหมันเพราะอาจเกิดการบาดเจ็บได้
  • การทดสอบสารภูมิคุ้มกันต่อต้านอสุจิ เพื่อตรวจสอบเซลล์ภูมิคุ้มกันที่เข้าไปทำลายอสุจิ
  • การทดสอบการทำงานของอสุจิเป็นพิเศษ โดยปกติแล้วการทดสอบนี้จะพบเห็นได้น้อย และไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคำแนะนำในการรักษามากนัก
  • การอัลตราซาวด์ผ่านทางทวาร คุณหมอจะใช้แท่งขนาดเล็กที่เคลือบด้วยสารหล่อลื่นสอดเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจสอบอัณฑะ ในการที่จะหาสาเหตุของท่อส่งอสุจิอุดตัน

การรักษาภาวะจำนวนอสุจิน้อย

  • การผ่าตัด ยกตัวอย่างเช่น โรคหลอดเลือดดำอัณฑะขอดอาจผ่าตัดให้เป็นปกติได้ หรือการซ่อมแซมท่อนำส่งอสุจิที่อุดตัน การทำหมันผูกก่อนหน้านี้ก็สามารถแก้ไขได้ ในกรณีที่ไม่มีอสุจิอยู่ในน้ำกามเลย อาจเก็บอสุจิจากอัณฑะหรือท่อเก็บอสุจิได้โดยตรง โดยใช้เทคนิคการเก็บอสุจิโดยเฉพาะ
  • การรักษาอาการติดเชื้อ ยาปฏิชีวนะสามารถรักษาการติดเชื้อของระบบการสืบพันธุ์ได้ แต่ไม่อาจสามารถรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ได้
  • การรักษาปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ จากตัวอย่างหรือแนวทางคำปรึกษาพบว่าปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ที่พบในอาการต่าง ๆ น้นอาจรักษาได้ เช่น การไม่แข็งตัว การหลั่งเร็วได้
  • การรักษาฮอร์โมนและการใช้ยาต่าง ๆ คุณหมออาจแนะนำให้มีการทดแทนฮอร์โมนหรือการใช้ยาในกรณีที่ ภาวะความเป็นหมันมีสาเหตุจากอาการฮอร์โมนต่ำหรือสูง หรือมีปัญหาในการใช้ฮอร์โมนของร่างกาย
  • เทคโนโลยีการช่วยเหลือการสืบพันธุ์ การรักษาโดยใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือในการสืบพันธุ์นั้น ได้แก่ การเก็บอสุจิจากการหลั่งน้ำอสุจิปกติ การเก็บโดยการผ่าตัด หรือได้รับจากผู้บริจาค ขึ้นอยู่กับกรณีตัวอย่างและความต้องการของผู้ป่วย จากนั้นอสุจิจะถูกนำเข้าไปในช่องคลอดของผู้หญิง หรือใช้ในการปฏิสนธิเทียมในหลอดแก้ว หรือการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับภาวะจำนวนอสุจิน้อย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้จัดการกับภาวะจำนวนอสุจิน้อยได้

  • เพิ่มความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ทุกวัน หรือทุก ๆ 2 วัน โดยเริ่ม 4 วันเป็นอย่างน้อยก่อนการตกไข่จะเพิ่มโอกาสที่จะทำให้คู่นอนตั้งครรภ์ได้
  • การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ ผู้หญิงนั้นมีโอกาสตั้งครรภ์ในระหว่างการตกไข่ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงกลางของรอบการมีประจำเดือน ระหว่างประจำเดือน
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารหล่อลื่น ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น แอสโตรไกลด์และเจลหล่อลื่น รวมถึงโลชั่น หรือน้ำลาย อาจทำให้การเคลื่อนไหวของอสุจิและการทำงานของอสุจิแย่ลง จึงควรสอบถามคุณหมอเกี่ยวกับสารหล่อลื่นที่ไม่ทำอันตรายต่ออสุจิ

หากมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาคุณหมอ เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา