มองเป็นช่วงเวลาผูกสัมพันธ์แม่ลูก ช่วงเวลาให้นมเป็นช่วงที่คุณแม่และลูกน้อยจะได้ใช้เวลาเงียบ ๆ อยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด ถือโอกาสนี้เป็นช่วงเวลาที่จะได้สื่อสารและส่งความรักให้กับลูก เป็นช่วงเวลาที่ควรใช้ความอดทน โดยลูกจะใช้เวลากินนมประมาณ 10-20 นาที/ข้าง
ไม่ควรให้กินจากขวดนมเร็วเกินไป การกินจากขวดนมตั้งแต่อายุยังน้อยเกินไป จะทำให้ลูกสับสนและลืมวิธีการดูดหัวนมแม่เมื่อต้องการสลับมาให้นมลูกเอง หากต้องการให้ลูกหัดกินนมจากขวด ควรรออย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังคลอด
ควรให้นมลูกอย่างน้อย 6 เดือน น้ำนมแม่เป็นอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกที่เพิ่งคลอดในช่วง 6 เดือนแรก ควรเป็นอาหารชนิดเดียวที่ให้ลูกกินในช่วงนี้ หากไม่สะดวกให้ลูกดูดหัวนมจากเต้า ก็สามารถที่จะปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกกินจากขวดได้ หากเป็นไปได้ให้น้ำนมลูกจนอายุครบ 1 ปี แม้ว่าจะให้ลูกกินอาหารชนิดอื่นเป็นหลักแล้วก็ตาม
หัวนมแม่ต้องดูแลอย่างไร
วิธีการดูแลหัวนมแม่ในระหว่างช่วงให้นมลูก มีดังต่อไปนี้
- คุณแม่ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด ก่อนใช้มือจับบริเวณหัวนมเพื่อให้นมลูก
- สวมใส่เสื้อชั้นในที่สะอาด และเลือกใส่เสื้อชั้นในที่เหมาะสมกับคุณแม่ช่วงให้นม เช่น เสื้อชั้นในผ้าฝ้ายที่สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่ทำให้อับชื้น
- หากมีอาการเจ็บหรือหน้าอกมีอาการผิดปกติ เช่น หน้าอกแบนลง หัวนมมีสีซีด หรืออักเสบ อาจจะต้องลองเปลี่ยนท่าการให้นมลูกให้ถูกวิธี ให้คุณแม่อุ้มลูกในท่าที่รู้สึกสบายและไม่อึดอัด ควรให้บริเวณหัวนมพักอยู่ที่เพดานปากของลูก ใกล้กับริมฝีปากบนเพื่อให้ปากของลูกอมทั้งส่วนหัวนมและส่วนลานหัวนมสีคล้ำเข้าไป วิธีนี้จะลดอาการเจ็บหน้าอกของคุณแม่ได้
- คุณแม่ควรล้างทำความสะอาดบริเวณหัวนมด้วยน้ำเปล่าเท่านั้น เลี่ยงการใช้แชมพูหรือสบู่มาล้าง เพราะอาจจะทำให้สารหล่อลื่นตามธรรมชาติบริเวณหัวนมหายไป สารนี้ช่วยไม่ให้หัวนมแห้งแตกเมื่อให้นมลูก
- หากมีอาการอักเสบบริเวณหัวนมเกิดขึ้น อาจสามารถทำตามวิธีต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการเช็ดหัวนมหลังการให้นมลูก ปล่อยให้หัวนมแห้งไปตามธรรมชาติเป็นเวลา 10-15 นาที
- คุณแม่ที่ใช้แผ่นซิลิโคนป้องกันหัวนมเพื่อป้องกันหัวนมแตก หรือลูกกัดหัวนม ควรหยุดชั่วคราวเพื่อป้องกันการอักเสบเพิ่มเติม
- สำหรับคุณแม่ที่ใส่แผ่นซับน้ำนมไว้ในเสื้อชั้นในเพื่อซับน้ำนมที่ไหลออกมา ควรหมั่นเปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมบ่อย ๆ เนื่องจากอาจจะทำให้อับชื้นได้ และควรเลี่ยงไม่ใช้แบบที่เป็นพลาสติก
เมื่อไหร่ที่ควรพบคุณหมอ
- มีรอยแดง มีก้อนแข็ง หรือรู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอก
- รู้สึกคัดเต้านมรุนแรง
- เป็นไข้หรือรู้สึกคัน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะติดเชื้อ
หากดูแลเบื้องต้นแล้วยังคงมีอาการปวดแสบ ปวดแดงหรือเจ็บที่บริเวณนมจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หรือทำให้ไม่สามารถให้นมลูกต่อไปได้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางแก้ไขปัญหานี้ต่อไป
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย