backup og meta

เด็กโตรแอมเฟตามีน (Dextroamphetamine)

เด็กโตรแอมเฟตามีน (Dextroamphetamine)

เด็กโตรแอมเฟตามีน (Dextroamphetamine) ใช้เพื่อรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก และยังใช้เพื่อรักษาความผิดปกติของการนอนหลับบางชนิด อย่างโรคลมหลับ

ข้อบ่งใช้

เด็กโตรแอมเฟตามีน ใช้สำหรับ

เด็กโตรแอมเฟตามีน (Dextroamphetamine) ใช้เพื่อรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก และยังใช้เพื่อรักษาความผิดปกติของการนอนหลับบางชนิด อย่างโรคลมหลับ (narcolepsy) ยานี้ยังอาจใช้เพื่อรักษาสภาวะอื่นที่แพทย์กำหนดได้อีกด้วย

ยาเด็กโตรแอมเฟตามีนเป็นยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ยังไม่ทราบการทำงานที่แท้จริงของยานี้ ยานี้จะส่งผลกระทบต่อสารสื่อประสาท บางชนิดภายในสมอง ซึ่งอาจช่วยเพิ่มระยะเวลาของความสนใจและพัฒนาพฤติกรรม

วิธีใช้ยา เด็กโตรแอมเฟตามีน

ใช้ยาเด็กโตรแอมเฟตามีนตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด โปรดอ่านฉลากยาเพื่อหาวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง

รับประทานยาเด็กโตรแอมเฟตามีนพร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหาก รับประทานยานี้พร้อมกับอาหาร เพื่อลดอาการท้องไส้ปั่นป่วน

รับประทานยาเด็กโตรแอมเฟตามีนโดยเว้นช่วงเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง เว้นแต่แพทย์จะสั่งแบบอื่น

อย่าดื่มน้ำผลไม้พร้อมกับรับประทานยาเด็กโตรแอมเฟตามีน น้ำผลไม้บางอย่าง (เช่น น้ำเกรปฟรุต น้ำแอปเปิ้ล หรือน้ำส้ม) อาจลดประสิทธิภาพของยาเด็กซ์โตรแอมเฟตามีนได้

รับประทานยาเด็กโตรแอมเฟตามีนตามตารางการใช้ยาปกติ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานยานี้ในเวลาเดียวกันทุกวัน

การเก็บรักษายา เด็กโตรแอมเฟตามีน

ควรเก็บรักษายาเด็กโตรแอมเฟตามีนที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเด็กโตรแอมเฟตามีนบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาเด็กโตรแอมเฟตามีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยายาเด็กโตรแอมเฟตามีน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบในกรณีดังต่อไปนี้

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ หรือมีแผนจะใช้ยาอื่น ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม สมุนไพร เป็นต้น
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ในการรักษาของยาเด็กโตรแอมเฟตามีน
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ
  • หากคุณหรือคนในครอบครัวเคยมีปัญหาสุขภาพ เช่น
    • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น หัวใจล้มเหลว ปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ หรือโรคหัวใจพิการ
    • ภาวะความดันโลหิตสูง
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
    • ปัญหาเกี่ยวกับเนื้องอก
    • ปัญหาเกี่ยวกับเลือดบางชนิด เช่น โรคพอร์ฟิเรีย (porphyria) หลอดเลือดแดงแข็งตัวขึ้น หรือปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด
    • อาการชักเนื่องจากผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ (electroencelphalogram test)
    • ปัญหาเกี่ยวกับจิตใจหรืออารมณ์ เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท (psychosis)
    • การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น โรคกล้ามเนื้อกระตุก (tics) กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome)
    • มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย
    • มีปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่มือหรือเท้า เช่น ปรากฏการณ์เรเนาด์ (Raynaud phenomenon) หรือโรคทรอมโบแอนจิไอติส โอบลิเตอแรนส์ (thromboangiitis obliterans)
  • หากคุณมีอาการหัวใจขาดเลือดฉับพลันเมื่อไม่นานมานี้
  • หากคนในครอบครัวเคยมีการเสียชีวิตฉับพลัน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเด็กโตรแอมเฟตามีน จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเด็กโตรแอมเฟตามีน

ยาทุกชนิดนั้นอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่คนส่วนใหญ่นั้นอาจจะมีผลข้างเคียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

โปรดปรึกษาแพทย์หากผลข้างเคียงที่พบได้มากเหล่านี้ไม่หายไปหรือรบกวนคุณ

  • ท้องผูก
  • ท้องร่วง
  • วิงเวียน
  • ปากแห้ง
  • ปวดศีรษะ
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลดเล็กน้อย
  • คลื่นไส้
  • กระสับกระส่าย
  • มีปัญหากับการนอนหลับ
  • มีรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ในปาก
  • ท้องไส้ปั่นป่วน

เข้ารับการรักษาในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงมากดังต่อไปนี้

  • อาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ ผดผื่น ลมพิษ คัน หายใจติดขัด แน่นหน้าอก มีอาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น
  • มองเห็นไม่ชัดหรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลงในแบบอื่น ๆ
  • สมรรถภาพทางเพศหรือความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง
  • เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
  • ปัสสาวะสีคล้ำ
  • ปัสสาวะลดลง
  • มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศบ่อยครั้งหรือเป็นเวลานาน
  • หมดสติ
  • หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ
  • มองเห็นภาพหลอน
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่หรือรุนแรงขึ้นของจิตใจ อารมณ์ หรือพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว ซึมเศร้า ไม่เป็นมิตร มีปัญหาเกี่ยวกับการคิด
  • มีอาการชาที่แขนหรือขา
  • ชัก
  • วิงเวียนหรือปวดหัวอย่างรุนแรง
  • หายใจไม่อิ่ม
  • น้ำหนักลดอย่างมากหรือเบื่ออาหารบ่อยครั้ง
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลงฉับพลัน
  • มีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น สับสน อ่อนแรงที่ด้านหนึ่งของร่างกาย พูดไม่ชัด
  • สั่นเทา
  • การพูดหรือการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กล้ามเนื้อกระตุก
  • อ่อนแรงหรือเหนื่อยล้าผิดปกติ
  • อาเจียน

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเด็กโตรแอมเฟตามีน อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • อะเซตาโซลาไมด์ (Acetazolamide) โพรพอกซิฟีน (propoxyphene) โซเดียม ไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) หรือยาขับปัสสาวะไทอาไซด์ (thiazide diuretics) เช่น ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (hydrochlorothiazide) เนื่องจากยาเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงของยาเด็กโตรแอมเฟตามีน
  • ยาแอดรีเนอร์จิก บล็อกเกอร์ (Adrenergic blockers) เช่น กัวเนธิดีน (guanethidine) ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine) เอทโธซักซิไมด์ (ethosuximide) หรือยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง เนื่องจากประสิทธิภาพของยาเหล่านี้อาจจะลดลงเพราะยาเด็กโตรแอมเฟตามีน
  • ยาแอมโมเนียม คลอไรด์ (Ammonium chloride) กรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) หรือววิตามินซี ยาคลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine) กรดกลูทามิก (glutamic acid) ฮาโลเพอริดอล (haloperidol) ลิเทียม คาร์บอเนต (lithium carbonate) เมทีนามีน (methenamine) รีเซอร์พีน (reserpine) หรือโซเดียมเอซิดฟอสเฟต (sodium acid phosphate) เนื่องจากยาเหล่านี้อาจลดประสิทธิภาพของยาเด็กโตรแอมเฟตามีน
  • ฟูราโซลิโดน (Furazolidone) หรือยาในกลุ่ม MAOIs เช่น ฟีเนลซีน (phenelzine) เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง เป็นไข้ ปวดศีรษะ และอัตราการเต้นของหัวใจลดลงนั้นอาจเพิ่มขึ้น
  • เมเพอริดีน (Meperidine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) ฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) เฟนิโทอิน (phenytoin) ยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (selective serotonin reuptake inhibitors) เช่น ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) ยาซิมพาโทมิเมติค (sympathomimetics) เช่น ซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) หรือยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (tricyclic antidepressants) เช่น เดซิพรามีน (desipramine) เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงของยาเหล่านี้อาจเพิ่มขึ้นเพราะยาเด็กโตรแอมเฟตามีน

ปฎิกิริยาต่ออาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเด็กโตรแอมเฟตามีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยาต่ออาการโรคอื่น

ยาเด็กโตรแอมเฟตามีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเด็กซ์โตรแอมเฟตามีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคลมหลับ (Narcolepsy)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : รับประทาน 10 มก. ต่อวัน
  • ขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยาต่อวันอีก 10 มก. ทุกสัปดาห์จนกว่าจะได้รับการตอบสนองที่ดีที่สุด

ขนาดยาเด็กซ์โตรแอมเฟตามีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Disorder)

ยาออกฤทธิ์ทันที (IR)

อายุ 3 ถึง 5 ปี

  • ขนาดยาเริ่มต้น : รับประทาน 2.5 มก. ต่อวัน
  • ขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยาต่อวันอีก 2.5 มก. ทุกสัปดาห์จนกว่าจะได้รับการตอบสนองที่ดีที่สุด

ยาออกฤทธิ์ทันที และยาออกฤทธิ์นาน (ER) หรือ (SR)

อายุ 6 ถึง 17 ปี

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 2.5 มก. รับประทานวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยาต่อวันอีก 5 มก. ทุกสัปดาห์จนกว่าจะได้รับการตอบสนองที่ดีที่สุด
  • ขนาดยาสูงสุด : เฉพาะในกรณีหายากเท่านั้นที่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดยาไปถึงวันละ 40 มก.

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคลมหลับ (Narcolepsy)

อายุ 6 ถึง 11 ปี

  • ขนาดยาเริ่มต้น : รับประทาน 5 มก. ต่อวัน
  • ขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยาต่อวันอีก 5 มก. ทุกสัปดาห์จนกว่าจะได้รับการตอบสนองที่ดีที่สุด

อายุ 12 ปีขึ้นไป

  • ขนาดยาเริ่มต้น : รับประทาน 10 มก. ต่อวัน
  • ขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยาต่อวันอีก 10 มก. ทุกสัปดาห์จนกว่าจะได้รับการตอบสนองที่ดีที่สุด

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dextroamphetamine. https://www.drugs.com/cdi/dextroamphetamine.html. Accessed August 24, 2017

Dextroamphetamine. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-1636-9080/dextroamphetamine-oral/dextroamphetamine-oral/details. Accessed August 24, 2017

Dextroamphetamine. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a605027.html. Accessed August 24, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/06/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการสมาธิสั้นในเด็ก ปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกัน

การนอนหลับ ทำให้เราหน้าเด็กกว่าวัยจริงหรือ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 08/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา