ในปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากอดีต เช่น ภาวะความเครียด รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ขาดการออกกำลังกาย จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรับการรักษาถูกต้องอย่างเหมาะสม ก็อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญภายในร่างกาย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง นั้นส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนใดภายในร่างกายบ้าง และเราจะมีวิธีการลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง ได้อย่างไร
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คืออะไร?
ความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ การที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น หากแรงดันดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในร่างกายและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจาก โรคความดันโลหิตสูง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจตีบตัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง
โรคความดันโลหิตสูง ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
- สมอง โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับสมอง เมื่อหลอดเลือดแดงตีบ เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงยังบริเวณสมองได้น้อยลง ซึ่งนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมบางประเภท
- หัวใจ ความดันโลหิตสูงอาจส่งผลให้อาจทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและหนาขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย
- ไต ความดันโลหิตสูงอาจทำให้หลอดเลือดในไตเสื่อมลง
- หลอดเลือด หากความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้หลอดเลือดเสื่อมลง และเกิดการโป่งโพง หรือเกิดการฉีกขาดของผนังหลอดเลือด หากมีอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- เกิดการโป่งพอง หรืออาจเกิดการฉีกขาดของผนังหลอดเลือด หากรุนแรงอาจเสียชีวิตได้
- ดวงตา เมื่อมีความดันโลหิตสูง อาจทำให้หลอดเลือดบริเวณตาแคบหรือฉีกขาด ซึ่งอาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้
ปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้ สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ดังวิธีต่อไปนี้
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สามารถลดความดันโลหิตได้ถึง 11 มิลลิเมตรปรอด โดยเลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วย เมล็ดธัญพืช ผลไม้ ผัก และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ
- ลดโซเดียม การลดโซเดียมในมื้ออาหารนอกจากจะส่งเสริมสุขภาพหัวใจแล้ว ยังสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 5-6 มิลลิเมตรปรอท
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ และยังทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย
- ลดคาเฟอีน คาเฟอีนสามารถเพิ่มความดันโลหิตได้ถึง 10 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
- บรรเทาความเครียด ภาวะความเครียดเรื้อรังอาจนำไปสู่ โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นคุณลองใตร่ตรองถึงสาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกเครียด เพื่อที่จะได้หาทางแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุได้อย่างตรงจุด หรือหาเวลาพักผ่อนและทำกิจกรรมที่คุณชอบเพื่อบรรเทาความเครียด
[embed-health-tool-heart-rate]