สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

สุขภาพหัวใจ

9 อาการโรคหัวใจ ระยะแรก และวิธีป้องกัน

โรคหัวใจ เป็นโรคที่มีความรุนแรงตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารที่มีไขมันสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่ง อาการโรคหัวใจ ระยะแรก อาจไม่มีอาการหรือแสดงอาการน้อยมาก แต่ก็อาจมีอาการที่รุนแรงขึ้นได้ ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอและตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อตรวจหาโรคในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจ รวมถึงควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง [embed-health-tool-heart-rate] อาการโรคหัวใจ ระยะแรก อาการโรคหัวใจ ระยะแรกที่พบบ่อย อาจสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้ รู้สึกเจ็บหน้าอก อาการเจ็บหน้าอกเป็นอาการของโรคหัวใจที่พบบ่อย และอาจเป็นสัญญาณฉุกเฉินของโรคหัวใจวาย โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอก รู้สึกแน่นเหมือนมีแรงกดที่หน้าอกและรู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะหากพบว่าตัวเองรู้สึกเจ็บหน้าอกเมื่อออกแรงและอาการหายไปเมื่อหยุดออกแรง อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้เ หัวใจเต้นผิดปกติ อาการหัวใจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เมื่อมีความรู้สึกตื่นเต้น ประหม่า เหนื่อย หรือกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวเองมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นนานกว่า 2-3 วินาที หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจการเต้นของหัวใจและวินิจฉัยอาการ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ ได้ ปวด ชา หรืออ่อนแรงบริเวณขาหรือแขน อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากหลอดเลือดบริเวณนั้นตีบตันจนทำให้เกิดเป็นอาการปวด ชา […]


สุขภาพหัวใจ

หัวใจเต้นเร็ว วิธีแก้ และสาเหตุที่ควรรู้

ภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) เป็นภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ในขณะพัก ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด รับประทานคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป สูบบุหรี่ ปัญหาหัวใจ โดย หัวใจเต้นเร็ว อาจมี วิธีแก้ ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของวิธีแก้ปัญหาหัวใจเต้นเร็วก็เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลง และป้องกันการกำเริบของอาการในอนาคต [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของหัวใจเต้นเร็ว โดยปกติอัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที ขณะพักผ่อน และหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นเมื่อทำกิจกรรมหรือเคลื่อนไหวร่างกาย แต่หากพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ในขณะพักผ่อน นั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดขึ้นประมาณ 2-3 วินาที ถึง 2-3 ชั่วโมง โดยภาวะหัวใจเต้นเร็วอาจมีสาเหตุมาจากความเครียด รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน  ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป สูบบุหรี่ ปัญหาหัวใจ (เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจวาย โรคหัวใจ) เลือดในหลอดเลือดหัวใจไม่เพียงพอ ปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ การใช้ยาบางชนิด (เช่น โคเคน เมทแอมเฟตามีน) อาการหัวใจเต้นเร็ว ภาวะหัวใจเต้นเร็วอาจทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ ส่งผลให้อวัยวะและเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งบางคนอาจไม่แสดงอาการใด […]


สุขภาพหัวใจ

Palpitation คือ อะไร อาการและการรักษา

Palpitation คือ อาการใจสั่น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจเต้นเร็วหรือแรงกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากความเครียด ออกกำลังกายหนัก ใช้ยาบางชนิด หรือปัญหาสุขภาพบางอย่าง โดยทั่วไปอาการใจสั่นไม่เป็นอันตราย แต่บางกรณีอาจเป็นอันตรายหากอาการใจสั่นเกิดจากภาวะทางสุขภาพร้ายแรง เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ จึงควรเข้าพบคุณหมอหากอาการใจสั่นเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงมาก [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ Palpitation คืออะไร อาการใจสั่น หรือ Palpitation คือ อาการที่เกิดจากจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ เนื่องจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ ที่ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะและมีอาการใจสั่นเกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปอาการใจสั่นเพียงเล็กน้อยเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม อาการใจสั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะร้ายแรงของหัวใจจึงควรเข้าพบคุณหมอหากอาการรุนแรงขึ้น อาการ อาการ Palpitation อาการใจสั่นอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย ดังนี้ ใจสั่นบ่อย ๆ อาจรู้สึกคล้ายใจหาย หัวใจเต้นเร็วเกินไป หัวใจเต้นผิดจังหวะ และไม่สม่ำเสมอ บางคนอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติรุนแรงร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกผิดปกติ หายใจถี่รุนแรง เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะ เป็นลม สาเหตุ สาเหตุของ Palpitation อาการใจสั่นโดยทั่วไปอาจไม่เป็นอันตราย และอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ อายุที่มากขึ้น การตอบสนองทางอารมณ์รุนแรง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การตื่นตระหนก ภาวะทางสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล การทำกิจกรรม การเล่นกีฬา […]


โรคหัวใจ

เส้นเลือดหัวใจตีบ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องกัน

เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่เกิดจากเส้นเลือดหัวใจเสื่อมสภาพเนื่องจากมีไขมันหรือคราบพลัคเกาะผนังหลอดเลือด จนทำให้เส้นเลือดตีบตันและเลือดไม่สามารถเดินทางไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ตามปกติ ส่งผลให้เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจวาย และอาจทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง ปวดคอและขากรรไกร ปวดแขนและไหล่ คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยง่ายกว่าปกติ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอย่างเหมาะสมอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยทั่วไปแล้ว เส้นเลือดหัวใจตีบสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหารให้ดีต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] เส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดจากอะไร เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary heart disease หรือ CHD) เป็นโรคหลอดเลือดแดงชนิดหนึ่ง มีสาเหตุหลักมาจากภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ที่เกิดจากไขมันและคราบหินปูนเกาะตัวสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงและแข็งตัว จนเลือดไม่สามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรืออาจทำให้หลอดเลือดปริแตกออกจนมีเกล็ดเลือดไปอุดตันในทางเดินเลือดหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ อาจมีดังนี้ อายุ ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไปและผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ อาจเสี่ยงเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะหากญาติใกล้ชิดอย่างพ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย และความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นหากมีพ่อหรือพี่ชายเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปีหรือแม่หรือพี่สาวเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี การสูบบุหรี่และรับควันบุหรี่มือสอง บุหรี่มีสารพิษ เช่น นิโคติน ที่ทำให้หลอดเลือดตีบตันและแคบลงและทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ […]


โรคหัวใจ

10 อาการเตือนโรคหัวใจ สัญญาณที่ควรใส่ใจ

โรคหัวใจ (Heart Disease) เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ โดยปกติแล้ว หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญในการสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย ช่วยให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้อย่างราบรื่น แต่หากหัวใจมีปัญหา ก็อาจทำให้ระบบอื่น ๆ ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ การศึกษาเกี่ยวกับ 10 อาการเตือนโรคหัวใจ จึงถือเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือมีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากอาจช่วยให้ทราบถึงอาการที่ควรใส่ใจ เช่น หายใจถี่และติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก ขาบวม หมดสติ หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-bmi] ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ปัจจัยดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและอาการหัวใจวายได้ ปัจจัยที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น พันธุกรรม การมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนทั่วไป อายุ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เสี่ยงเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง ปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ อย่างพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบหุรี่ เป็นพฤติกรรมที่อันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากอาจทำให้หลอดเลือดตีบตันและหัวใจขาดเลือด เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ มีไขมันอิ่มตัว เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ (Trigleceride) โซเดียม และน้ำตาลสูง อาจทำให้มีไขมันสะสมอยู่ในหลอดเลือดจนหลอดเลือดตีบตัน ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายน้อย มีพฤิตกรรมเนือยนิ่ง […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

Congestive heart failure คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Congestive heart failure (ภาวะหัวใจล้มเหลว) คือ ภาวะที่หัวใจอาจหยุดการทำงานลง ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ ที่อาจส่งผลให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหยุดทำงานและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หากสังเกตว่ามีอาการหายใจถี่ หัวใจเต้นผิดปกติ และหัวใจวายบ่อยครั้ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ที่สามารถทำได้ทั้งรับประทานยาตามอาการหรือเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจและหลอดเลือด [embed-health-tool-heart-rate] Congestive heart failure คืออะไร Congestive heart failure คือ คำทางการแพทย์ที่ใช้เรียกผู้ป่วยที่เป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ที่เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดหรือสูบฉีดเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนไม่เพียงพอไปหล่อเลี้ยงหัวใจรวมถึงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้มีการสะสมของเหลวในปอดและการทำงานของอวัยวะนั้นหยุดลงและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ภาวะหัวใจล้มเหลว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หัวใจล้มเหลวด้านซ้าย เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดได้หรือเกิดจากผนังหัวใจหนาและแข็งตัวทำให้ไม่อาจบีบและคลายตัวเพื่อสูบฉีดเลือดได้เต็มที่  หัวใจล้มเหลวด้านขวา เป็นประเภทที่หัวใจอ่อนแอเกินกว่าจะสูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปยังปอดและส่งกลับเข้าสู่หัวใจ หลอดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สาเหตุของ Congestive heart failure  สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว อาจมีดังนี้ มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือภาวะหัวใจวาย ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงภาวะหัวใจวาย มักเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้หัวใจล้มเหลว โยอาจมีปัจจัยเสี่ยงมาจากไขมันอุดตันในหลอดเลือดทำให้ขวางการไหลเวียนของเลือดจนนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและหัวใจล้มเหลวได้ ความดันโลหิตสูง อาจส่งผลให้หัวใจทำงานหนักกว่าปกติ ส่งผลให้หัวใจเสื่อมสภาพเร็วและอ่อนแรงเกินกว่าจะสูบฉีดเลือด จึงนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และปรสิต […]


สุขภาพหัวใจ

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สาเหตุ และวิธีการรักษา

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ อาการที่ทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอกและหัวใจเต้นผิดปกติ เมื่อมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจทำให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดลดลง ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรเข้ารับการวินิจฉัยโดยคุณหมออาจทำการตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อรับการรักษาตามความรุนแรงของอาการที่เป็น  [embed-health-tool-heart-rate] อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีสาเหตุมาจากอะไร อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโควิด-19 ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสเริม ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ที่ส่งผลให้ติดเชื้อบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจนำไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน การติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) รวมถึงเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยและส่งผลให้กล้ามเนื้ออักเสบ การติดเชื้อปรสิต เช่น ทริพาโนโซมิอาซิส (Trypanosoma cruzi) ท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) ส่งผลให้ติดเชื้อบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจและก่อให้เกิดการอักเสบ การติดเชื้อรา เช่น การติดเชื้อราแคนดิดา เชื้อราแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) และเชื้อราฮิสโตพลาสมา (Histoplasma)  สารเคมีและยาบางชนิด เช่น ยาต้านอาการชัก ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ยาซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) รังสีจากการรักษาโรคมะเร็ง เคมีบำบัดรักษามะเร็ง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่อาจทำให้กระทบต่อการทำงานของหัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เช่น โรคลูปัส […]


สุขภาพหัวใจ

หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที และแบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ

หลายคนอาจสงสัยว่า หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที เพื่อช่วยเช็กตนเองได้ว่าหัวใจเต้นปกติหรือผิดปกติหรือไม่ และทำให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย ภาวะหัวใจเต้นช้า และภาวะหัวใจเต้นเร็ว เพื่อเสริมสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงและหัวใจเต้นปกติ ควรศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพหรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอโดยตรงได้ [embed-health-tool-heart-rate] หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที ปกติแล้วหัวใจจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที โดยสามารถวัดได้จากการวัดชีพจรที่สามารถวัดได้โดยการใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางแตะบริเวณข้อมือทางนิ้วโป้งและจับเวลา 1 นาที พร้อมกับนับจำนวนการเต้นของชีพจร เพื่อดูแลสุขภาพหัวใจและควบคุมการเต้นหัวใจให้เป็นไปตามปกติ ควรหมั่นวัดการเต้นของหัวใจในขณะพักและดูแลสุขภาพหัวใจที่อาจทำได้ดังนี้ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี โพแทสเซียม แมกนีเซียม ที่ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจให้เป็นไปตามปกติและต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์เสื่อมสภาพจากการทำลายของอนุมูลอิสระ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล เกลือและไขมันไม่ดีสูง เช่น อาหารแปรรูป ซีอิ๊ว น้ำปลา ขนมหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่น้ำตาลสูง น้ำมันหมู ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก เพราะอาจทำให้ไขมันสะสมในหลอดเลือด ขัดขวางการไหลเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ ที่ทำให้หัวใจมีการทำงานแย่ลง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดหนึ่งที่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก และเสี่ยงต่อการมีภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ เพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลิกสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณจำกัด [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะที่หัวใจขาดออกซิเจน เนื่องจากมีเลือดไหลไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่งผลให้เสี่ยงที่จะหัวใจวายหรือเสียชีวิตได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา รายงานว่า โรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด และในปี พ.ศ. 2563 ชาวอเมริกันเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดจำนวน 382,820 ราย อาการ อาการของ โรคหัวใจขาดเลือด เมื่อเป็นโรคหัวใจขาดเลือด จะรู้สึกแน่นหน้าอก บริเวณด้านซ้ายของหน้าอก โดยอาการมักเกิดขึ้นตอนกลางคืนหรือหลังจากออกกำลังกายหรือมีอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ เครียด โดยทั่วไป อาการแน่นหน้าอกจะหายเองได้ภายในไม่กี่นาที แต่บางรายโดยเฉพาะผู้หญิง อาจมีอาการเจ็บบริเวณคอ แขน หรือหลัง ร่วมด้วย ทั้งนี้ อาการอื่น ๆ ของโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่ หายใจไม่ออก ใจสั่น อ่อนเพลีย เหงื่อออก นอกจากนี้ โรคหัวใจขาดเลือดยังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ หัวใจวาย หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก อ่อนแรง […]


โรคลิ้นหัวใจ

Mitral Valve Prolapse คือ อาการ สาเหตุและการรักษา

Mitral Valve Prolapse คือ ลิ้นหัวใจหย่อน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจมีลักษณะหย่อนยาน จนบางครั้งเลือดอาจไหลย้อนกลับได้ แม้ภาวะลิ้นหัวใจหย่อนจะไม่เป็นอันตายถึงชีวิตและอาจไม่จำเป็นต้องรักษา แต่สำหรับผู้ที่ลิ้นหัวใจหย่อยมากจนทำให้เลือดไหลย้อนกลับอย่างรุนแรง จำเป็นต้องใช้ยาหรือการผ่าตัดรักษาร่วมด้วย เพื่อป้องกันอาการที่อาจรุนแรงขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ Mitral Valve Prolapse คืออะไร Mitral Valve Prolapse คือ โรคลิ้นหัวใจชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อลิ้นหัวใจระหว่างห้องหัวใจด้านซ้าย ทำให้ห้องหัวใจมีลักษณะพองตัวย้อยไปด้านหลัง เข้าไปในห้องบนซ้ายของหัวใจลักษณะคล้ายร่มชูชีพ โดยจะเกิดขึ้นในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลให้เลือดไหลย้อนเข้าลิ้นหัวใจได้ อาการ อาการของ Mitral Valve Prolapse อาการลิ้นหัวใจหย่อน อาจเกิดจากปริมาณเลือดที่ไหลย้อนกลับผ่านลิ้นหัวใจ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่แต่ละบุคคล ดังนี้ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย การเต้นของหัวใจผิดปกติ หายใจลำบาก หายใจถี่ โดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายหรือนอนราบ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างกะทันหันหรือเจ็บรุนแรงอย่างผิดปกติ ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจหัวใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณของลิ้นหัวใจหย่อนหรือโรคหัวใจชนิดอื่น สาเหตุ สาเหตุ Mitral Valve Prolapse ภาวะลิ้นหัวใจหย่อนมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral Valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปในทิศทางที่ถูกต้อง ภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจไมตรัลอาจเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง โดยมีเนื้อเยื่อเกินหรือยืดออกกว่าปกติ สามารถพองตัวไปด้านหลังลักษณะคล้ายร่มชูชีพเข้าไปในหัวใจห้องบนซ้ายทุกครั้งที่หัวใจหดตัวเพื่อสูบฉีดเลือด การพองตัวที่เกิดขึ้นอาจทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ซึ่งอาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผ่านหัวใจไปเลี้ยงร่างกายได้ลดลง ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง Mitral Valve Prolapse ภาวะลิ้นหัวใจหย่อนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน