สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แคะขี้มูก อันตรายจริงไหม ยิ่งใช้นิ้วมือแคะยิ่งอันตรายจริงหรือเปล่า

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทั้งอากาศร้อน ชื้น หนาว มีผลต่อสุขภาพของเราทั้งสิ้น บางคนอาจเป็นหวัด บางคนอาจมีไข้ และบางคนอาจมีขี้มูกมากเนื่องจากเป็นหวัด ซึ่งเมื่อ ขี้มูก ก่อตัวจนอัดแน่นเต็มจมูก จนทำให้เรามักจะรู้สึกรำคาญ คัดจมูก หรือหายใจไม่ออก และในท้ายที่สุดเราจึงตัดปัญหาด้วยเอาเอานิ้วแหย่เข้าไปข้างในรูจมูกเพื่อ แคะขี้มูก ออกมา ฟังดูก็เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำกัน แต่…การใช้นิ้วแคะขี้มูกเป็นสิ่งที่เหมาะสมในการทำความสะอาดขี้มูกแล้วจริง ๆ หรือ? [embed-health-tool-bmi] ขี้มูก คืออะไร ร่างกายของเราสร้างขี้มูกขึ้นมาเพื่อปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย และสิ่งสกปรกที่เราหายใจหรือสูดดมเข้าไปทุกวัน โดยแรกเริ่มขี้มูกจะมีลักษณะเป็นเมือกเพื่อดักจับเอาเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ไว้ ป้องกันไม่ให้หลุดลอดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ เมื่อดักจับสิ่งต่าง ๆ ได้พักหนึ่งแล้วขนเล็ก ๆ ในจมูกก็จะเคลื่อนย้ายเอาเมือกที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ไปยังด้านหน้าของจมูก ก่อนที่เมือกเหล่านั้นจะค่อย ๆ แห้งและกลายเป็น ขี้มูก ในที่สุด ทำไมเราถึง แคะขี้มูก เราแคะขี้มูก ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ดังนี้ ขี้มูกตันจมูกจนปิดกั้นระบบทางเดินหายใจ ทำให้รู้สึกอัดอัดที่จมูก หายใจไม่สะดวก ส่งผลให้หายใจไม่ค่อยออก เป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งเมื่อเกิดอาการแพ้ขึ้นจะทำให้เกิดเมือกในจมูกเพิ่มมากขึ้นและสุดท้ายก็จะแห้งกลายเป็นขี้มูกจำนวนมากจนอุดกั้นการหายใจ หรือทำให้หายใจไม่ออก โครงสร้างกะบังของจมูกที่แตกต่างกัน บางคนอาจมีกะบังจมูกที่เบี่ยงเบน จากที่ปกติกระดูกอ่อนจะอยู่กึ่งกลางระหว่างโพรงจมูกทั้งสองข้าง แต่กลับมีกระดูกอ่อนเบี่ยงเบนออกมาที่ข้างใดข้างหนึ่งมากจนเกินไป จนอาจทำให้หายใจไม่สะดวก […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไขข้อสงสัย ยิ่งเหงื่อออกมาก เท่ากับ ยิ่งเผาผลาญมาก จริงเหรอ

หลายคนน่าจะเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า เวลาออกกำลังกาย จะต้องออกให้มีเหงื่อเยอะ ๆ เพราะถ้าไม่มีเหงื่อ ก็ไม่ได้เผาผลาญ เหมือนกับไม่ได้ออกกำลังกาย แต่การที่เราออกกำลังกายจนมี เหงื่อออกมาก จะเท่ากับ เผาผลาญมาก จริงหรือเปล่า มาลองหาคำตอบร่วมกัน กับ Hello คุณหมอ กันเลยค่ะ เหงื่อ เกิดขึ้นได้อย่างไร เหงื่อ นั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการขับของเสียตามธรรมชาติของร่างกาย เพื่อช่วยระบายความร้อนภายในร่างกายออกไป ทำให้ร่างกายเย็นลง เหงื่อนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนในร่างกาย แต่จะพบได้มากในบริเวณรักแร้ ใบหน้า ฝ่ามือ ข้อศอก และฝ่าเท้า ร่างกายของเรานั้นจะจะมีต่อมเหงื่ออยู่มากกว่า 3 ล้านต่อม ทั่วร่างกาย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ ต่อม Eccrine sweat gland และต่อม Apocrine sweat gland Eccrine sweat gland ต่อมเหงื่อประเภทนี้จะอยู่ทั่วทุกส่วนในร่างกาย แต่จะพบได้มากในบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหน้ามัก หน้าที่หลักของต่อมเหงื่อนี้คือขับเหงื่อเพื่อช่วยควบคุมระดับอุณหภูมิของร่างกาย เหงื่อที่มาจากต่อมเหงื่อนี้จะไม่มีกลิ่น Apocrine sweat gland ต่อมเหงื่อชนิดนี้จะพบได้บริเวณที่มีรูขุมขนมาก เช่น รักแร้ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ควันไฟป่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรรับมือหรือป้องกันอย่างไร

เมื่อเกิดไฟไหม้ป่าที่มีบริเวณกว้าง ก็จะนำพามาซึ่ง ควันไฟป่า ซึ่งเมื่อหากมีการสูดดมเข้าไปมาก ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกายของคุณได้ ดังนั้น เมื่อเกิดควันไฟป่า จะต้องดูแลและป้องกันตัวเองและคนในครอบครัวอย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน ควันไฟป่า คืออะไร และส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร ควันไฟป่าเป็นส่วนผสมของก๊าซและอนุภาคขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาไหม้ของพืช วัสดุก่อสร้าง และวัสดุอื่น ๆ โดยที่ควันไฟป่าสามารถทำให้ทุกคนป่วยได้ แม้แต่คนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงก็สามารถเจ็บป่วยได้ หากมีควันในอากาศมากเกินไป มากไปกว่านั้น การหายใจเอาควันเข้าไปยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ทันที ซึ่งผลกระทบจากควันไฟป่าที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ ไอ หายใจไม่ปกติ แสบตา คันคอ อาการน้ำมูกไหล รูจมูกระคายเคือง หายใจไม่ออกและหายใจถี่ เจ็บหน้าอก ปวดหัว โรคหอบหืด เหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว สำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เด็ก และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและหัวใจอยู่แล้ว อาจมีแนวโน้มที่จะป่วยได้ หากสูดดมควันไฟป่าเข้าไป สาเหตุที่ทำให้ ควันไฟป่า เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อพูดถึงคุณภาพอากาศ หลายคนคงนึกถึงการวันที่เรียกว่า “PM2.5” ซึ่งมันสามารถทำให้ทราบได้ว่าอนุภาคขนาด 2.5 ไมครอนและขนาดเล็กกว่า ลอยอยู่ในอากาศจำนวนเท่าใด Colleen Reid ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์แห่ง University of Colorado Boulder สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เมื่อคุณมองเห็นควันสีดำที่ลอยออกมาจากกองไฟ คุณจะเห็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่สามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศและไม่ตกลงสู่พื้นได้ เมื่อรูปแบบลมเปลี่ยนไป ควันไฟที่มีอนุภาคเล็ก ๆ ก็จะกระจายไปยังทิศทางอื่นได้เช่นกัน ความจริงแล้วอนุภาคขนาดเล็ก นอกจากจะเป็นอนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศแล้ว มันยังเป็นสิ่งที่สามารถเข้าไปในปอดได้ลึกมากและทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบของสุขภาพในร่างกายได้อีกด้วย ยิ่งระดับ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria)

ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่หายาก เกิดจากความบกพร่องของยีนที่ช่วยสร้างฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซิเลส ทำให้ร่างกายไม่สามารถสลายฟีนิลอะลานีนได้ คำจำกัดความฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) คืออะไร โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่หายาก เกิดจากความบกพร่องของยีนที่ช่วยสร้างฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซิเลส (Phenylalanine hydroxylase) ทำให้ร่างกายไม่สามารถสลายฟีนิลอะลานีนได้ หากไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้ระดับฟีนิลอะลานีนสะสมในร่างกายมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาและเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา พบได้บ่อยแค่ไหน โรคฟีนิลคีโตนูเรียพบได้บ่อยในทารกช่วง 1-3 เดือนแรกหลังคลอด อาการอาการของโรคฟีนิลคีโตนู โรคฟีนิลคีโตนูเรียอาจมีอาการแสดงออกตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงมีอาการรุนแรง โดยมีอาการแสดงออก ดังนี้ อาการชัก อาการสั่น เจริญเติบโตช้า สมาธิสั้น ผื่นผิวหนัง (กลาก) ลมหายใจเหม็น ความพิการทางสติปัญญา ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย โรคฟีนิลคีโตนูเรียเป็นภาวะที่สืบทอดจากความบกพร่องของยีนที่ไม่สามารถสร้างเอนไซม์ฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซิเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ทำลายฟีนิลอะลานีน ส่งผลให้ฟีนิลอะลานีนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากมีการสะสมฟีนิลอะลานีนในร่างกายมากเกินไป อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้  โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ และเนื้อสัตว์ (ยีนที่เกิดความบกพร่องนั้นต้องเกิดจากยีนที่ผิดปกติของทั้งพ่อและแม่ แต่หากเกิดขึ้นจากพ่อหรือแม่เพียงคนเดียว อาจไม่ส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์) ปัจจัยเสี่ยงของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย พ่อและแม่มียีนที่บกพร่องทั้งคู่ที่ทำให้เกิดโรคฟีนิลคีโตนูเรีย มีเชื้อสายอเมริกัน แอฟริกัน การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการคัดกรองทารกแรกเกิดสำหรับทารกที่มีสัญญาณของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย โดยการเจาะเลือดมาทดสอบหาความผิดปกติทางพันธุกรรม รวมถึงวิธีการทดสอบอื่น ๆ เช่น ทดสอบการกลายพันธุ์ของยีน การทดสอบทางพันธุกรรม เป็นต้น การรักษาโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ผู้ป่วยโรคฟีนิลคีโตนูเรีย สามารถบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้โดยการเลือกรับประทานอาหารและการใช้ยา ดังนี้ การควบคุมอาหาร จำกัดอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ ชีส ถั่ว นม ไก่ เนื้อวัว […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะขาดเหงื่อ (Anhidrosis)

ภาวะขาดเหงื่อ (Anhidrosis) หมายถึงอาการที่ไม่มีเหงื่อออก หรือมีเหงื่อน้อยกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน หรือออกกำลังกายอย่างหนักแล้วก็ตาม [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ ภาวะขาดเหงื่อ คืออะไร ภาวะขาดเหงื่อ (Anhidrosis) หมายถึงอาการที่ไม่มีเหงื่อออก หรือมีเหงื่อน้อยกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน หรือออกกำลังกายอย่างหนักแล้วก็ตาม การที่เราไม่มีเหงื่อ ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถถ่ายเทความร้อน และลดอุณภูมิของร่างกายลงได้ ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงเกินไป จนอาจส่งผลให้เกิดสภาวะที่เป็นอันตราย เช่น ตะคริว เพลียแดด หรือลมแดด เป็นต้น ภาวะขาดเหงื่อนั้นอาจมีตั้งแต่ในระดับเบา มีเหงื่อออกน้อย ไปจนถึงระดับรุนแรง ที่ไม่มีเหงื่อออกเลย และอาจเกิดขึ้นแค่เพียงบางส่วนของร่างกาย จึงทำให้ยากต่อการสังเกตและการวินิจฉัย บ่อยครั้งที่ภาวะขาดเหงื่อนั้นอาจจะส่งผลแค่กับบางบริเวณของร่างกาย แต่ส่วนอื่นยังคงมีเหงื่อออกตามปกติ ทำให้ร่างกายสามารถคลายความร้อนได้ และไม่เป็นอันตรายใด ๆ ภาวะขาดเหงื่อ พบบ่อยแค่ไหน เนื่องจากภาวะขาดเหงื่อนั้นค่อนข้างจะสังเกตยาก หากไม่ได้เกิดขึ้นทั่วทั้งร่างกาย ดังนั้นจึงไม่สามารถทราบได้ว่า มีคนมากน้อยแค่ไหน ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดเหงื่อนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดสอบถามแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ อาการ อาการของภาวะขาดเหงื่อ สัญญาณและอาการของภาวะขาดเหงื่อ ได้แก่ ไม่มีเหงื่อออก หรือมีเหงื่อออกน้อย วิงเวียน ร้อนวูบวาบ ตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยล้า รู้สึกร้อนมากเกินไป บริเวณที่ไม่มีเหงื่อนั้น อาจจะเกิดขึ้นกับบางส่วนของร่างกาย หรือเกิดขึ้นทั่วทั้งร่างกาย หากคุณมีภาวะขาดเหงื่อในบางส่วน ส่วนที่สามารถขับเหงื่อได้ ก็อาจจะพยายามขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ เพื่อชดเชยส่วนที่ไม่สามารถขับเหงื่อได้ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณสังเกตพบว่าตัวเองมีเหงื่อออกน้อย หรือไม่มีเหงื่อออกเลย แม้ว่าจะออกกำลังกาย […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

สลายไขมันด้วยความเย็น อีกหนึ่งทางเลือกของคนอยากผอม

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความกังวลใจเรื่องน้ำหนักตัวหรือการมีไขมันสะสมส่วนเกินบนร่างกาย และกำลังมองหาวิธีการลดความอ้วน รวมถึงวิธีการกำจัดไขมันเฉพาะส่วนที่อาจไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการออกกำลังกาย การสลายไขมันด้วยความเย็น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน สลายไขมันด้วยความเย็น (CoolSculpting) เป็นอย่างไร การสลายไขมันด้วยความเย็น (CoolSculpting) ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration หรือ FDA) ในปีค.ศ. 2010 ว่าเป็นการรักษาไขมันที่เห็นผลลัพธ์ได้ในบริเวณใต้คาง ใต้ขากรรไกร ต้นขา หน้าท้อง เอว  เนื้อปลิ้นตรงขอบชุดชั้นใน (Back Fat) และบริเวณบั้นท้าย (Underneath the buttocks) หรือที่เรียกกันว่า “ม้วนกล้วย” นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองจาก FDA ว่า มีผลต่อลักษณะของเนื้อเยื่อที่หย่อนคล้อยด้วยการรักษาบริเวณใต้ผิวหนัง ซึ่งขั้นตอนของการสลายไขมันด้วยความเย็นนั้นถือว่าไม่ใช่การรักษาเพื่อลดน้ำหนัก การศึกษาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การสลายไขมันด้วยความเย็น เป็นขั้นตอนการลดไขมันที่มีประสิทธิภาพ การสลายไขมันด้วยความเย็นเป็นกระบวนการทางการแพทย์แบบไม่รุกล้ำ ที่ช่วยในการขจัดเซลล์ไขมันส่วนเกินออกจากใต้ผิวหนัง ในฐานะที่เป็นวิธีการรักษาแบบไม่รุกล้ำ จึงมีประโยชน์หลายประการมากกว่าขั้นตอนการผ่าตัดเอาไขมันออกแบบดั้งเดิม ซึ่งการสลายไขมันด้วยความเย็นนี้ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาถึง 823 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ข้อดีของการสลายไขมันด้วยความเย็น เมื่อเทียบกับ การดูดไขมันแบบดั้งเดิม การสลายไขมันด้วยความเย็น จะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อคุณเลือกรับการรักษาจากแพทย์ที่มีประสบการณ์ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง กับเคล็ดลับการใช้ชีวิตร่วมกับโรคได้อย่างเป็นสุข

เราเชื่อว่าไม่มีใครอยากป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ท้องเสีย เป็นไข้หวัด ปวดศีรษะ เป็นแผล หรือยิ่งหากเป็นโรครุนแรงหรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ก็ยิ่งแล้วใหญ่ เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย ใช้เวลารักษาไม่นานก็คงหาย แต่หาก ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดไม่ได้ และคุณต้องอยู่กับโรคนั้นไปตลอดชีวิต โรคเรื้อรังอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ จนทำให้คุณเครียด กังวล และไม่รู้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับดี ๆ ในการใช้ชีวิตร่วมกับโรคเรื้อรังอย่างเป็นสุขมาฝากคุณแล้ว ทำความเข้าใจ โรคเรื้อรัง ให้กระจ่างขึ้น โรคเรื้อรัง คืออะไร โรคเรื้อรัง (Chronic diseases) หมายถึง โรคที่เป็นแล้วจะมีอาการ หรือต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจนถึงตลอดชีวิต และโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ตัวอย่าง โรคเรื้อรัง ตัวอย่างโรคเรื้อรังที่พบบ่อย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคข้ออักเสบ โรคหืด โรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม โรคลมชัก การติดเชื้อเอชไอวี โรคพาร์กินสัน โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน (Cyclothymic disorder หรือ Cyclothymia) เมื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจทำให้สุขภาพยิ่งแย่ลง และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ ทั้งการเรียน การทำงาน […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การผ่าตัด มี่กี่ประเภท และข้อควรรู้ก่อนการผ่าตัด

การผ่าตัด เป็นกระบวนการแพทย์อย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อรักษาความเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น การผ่าตัดเนื้องอก การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ รวมไปถึงการผ่าตัดศัลยกรรมความงาม อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการเตรียมพร้อมก่อนการผ่าตัดให้พร้อม รวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการผ่าตัดให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจรับการรักษาใด ๆ [embed-health-tool-bmi] การผ่าตัด คืออะไร ศัลยกรรม หรือการผ่าตัด (Surgery) คือ วิธีหนึ่งในการรักษาอาการบาดเจ็บ โรค หรือความผิดปกติทางร่างกายบางอย่างที่ไม่สามารถรักษาให้ทุเลาหรือหายขาดได้ด้วยวิธีการอื่น ส่วนใหญ่แล้วการ ผ่าตัด จะเกิดขึ้นในกรณีที่ต้องจัดการกับโรคหรืออาการบาดเจ็บเฉียบพลัน มักไม่ค่อยเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ เว้นแต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดจริง ๆ เท่านั้น นอกจากเครื่องมือเฉพาะที่แพทย์ต้องใช้ในการผ่าตัดแต่ละประเภทแล้ว ก็ยังมีอุปกรณ์อีกหลายชิ้นที่คอยช่วยตรวจสอบและติดตามผลระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด เช่น เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เครื่องวัดความดันโลหิต และไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดชนิดไหน ก็อาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ทั้งในระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด อาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่พบได้บ่อย เช่น การติดเชื้อ ภาวะเลือดออกมากผิดปกติ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาระงับความรู้สึก การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ประเภทของการผ่าตัด การผ่าตัด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 1. การผ่าตัดใหญ่ การผ่าตัดใหญ่ (Major surgery) คือ การผ่าตัดแบบรุกล้ำหรือรุกรานร่างกาย ที่ทีมแพทย์ต้องทำหัตถการหลายอย่างในการผ่าตัดแต่ละครั้ง เช่น การเปิดโพรงหรือช่องบนร่างกาย การตัดอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออก การปรับเปลี่ยนกายวิภาคหรือโครงสร้างปกติของร่างกาย […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ คืออะไร และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมทุกครั้งที่เราไปฉีดยา หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรค แพทย์จะทำการฉีดเข้าเพียงไม่กี่จุดบนร่างกายเราเท่านั้น แถมแต่ละจุดที่แพทย์เลือก ก็เป็นส่วนกล้ามเนื้อ จนทำเอาเราเกิดอาการปวดระบมภายในไม่กี่นาทีหลังฉีดเลยทีเดียวอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำบทความดี ๆ เกี่ยวกับ ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ มาฝากทุกคนให้ได้ร่วมหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ [embed-health-tool-bmi] ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ เหมาะสำหรับอะไร เหตุผลที่แพทย์เลือกใช้เทคนิค การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular Injection) มากกว่าการฉีดเข้าเส้นเลือด และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยตรงนั้น อาจเป็นเพราะ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของเราสารมารถกักเก็บยาได้ในปริมาณมากกว่าส่วนอื่น ๆ และทำให้ร่างกายของเรามีการดูดซึมตัวยาได้ดี อีกทั้งตัวยาบางชนิดอาจสามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหลอดเลือดดำได้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้น จึงทำให้แพทย์มีการพิจารณาที่จะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อของคุณแทน ที่สำคัญไม่ว่าคุณจะได้รับการฉีดยาเพื่อรักษาสภาวะทางสุขภาพใด ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ร่วมด้วย เพราะบางกรณีนั้นคุณหมออาจแนะนำ หรือสั่งยาชนิดรับประทานที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่คุณประสบมากกว่าการใช้เทคนิคการฉีดยาก็เป็นได้ ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่นิยมฉีดบริเวณใด เมื่อคุณทำการตรวจสอบร่างกายตามขั้นตอนของทางแพทย์เรียบร้อยแล้วพบว่าจำเป็นต้องมีการได้รับการฉีดยา หรือวัคซันใด ๆ ร่วม ส่วนใหญ่นั้นคุณหมออาจมีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อคุณได้ ตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ดังต่อไปนี้ ต้นแขน หรือกล้ามเนื้อเดลทอยด์ของแขน กล้ามเนื้อเดลทอยด์ (Deltoid muscle) เป็นจุดที่พบได้บ่อยมากที่สุดสำหรับการฉีดวัคซีน เนื่องจากเป็นจุดที่สามารถได้รับปริมาณยาน้อย หรือประมาณ 1 มิลลิลิตรเท่านั้น ทำให้บางครั้งในการฉีดยาเพื่อรักษาโรคที่ต้องใช้ปริมาณยามากกว่าที่กำหนด อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนย้ายไปฉีดเข้ากล้ามเนื้อในส่วนอื่น ๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ยาแคปซูล ติดคอ กลืนยาก กินแต่ผงยาข้างในไม่กินแคปซูลได้ไหม

เวลากินยาแต่ละที รู้สึกเหมือนกำลังจะถูกจับไปเชือดเสียอย่างนั้น ทั้งรสชาติที่ไม่อร่อย และจำนวนยาที่ต้องกิน แค่คิดก็เอียนแล้ว ทำให้หลายคนประสบปัญหากินยายากไปโดยปริยาย ยิ่งถ้าเป็น ยาแคปซูล ด้วยล่ะก็ ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะบางทีกินแล้วก็ติดอยู่ในปาก บางทีก็ติดในลำคอ กลืนไม่ลงสักที พอเป็นแบบนี้เวลากินยาแคปซูลบ่อยเข้า หลายคนก็เลยเทเอาแต่ผงยาออกมาจากแคปซูลยาแล้วนำไปละลายน้ำดื่มก่อนกิน ซึ่งก็ทำให้ง่ายต่อการกินยาได้จริงๆ แต่…การทำแบบนั้นจะดีต่อร่างกายของเราจริงๆ หรือเปล่า แล้ว แคปซูลยา สามารถเปิดแคปซูลออกก่อนจะกินได้ด้วยหรือ เพื่อตอบข้อสงสัยนั้น Hello คุณหมอ มีสาระดีๆ ในการกินยาแบบแคปซูลมาฝากค่ะ [embed-health-tool-bmr] ยาแคปซูล คืออะไร แคปซูล แคปซูลยา หรือยาแคปซูล เปรียบเสมือนภาชนะทรงมน รี และยาว ใช้สำหรับบรรจุยาหรือผงยา โดยตัวแคปซูลนี้ผลิตจากเจลาติน (Gelatin) ซึ่งเจลาตินนี้มาจากกระดูกหรือผิวหนังของสัตว์ ร่างกายของเราจึงสามารถที่จะละลายและดูดซึมแคปซูลยานี้ได้ แคปซูลยาจะถูกละลายเมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายตัวเข้าสู่ระบบต่างๆ ของร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยหรือเพื่อบำรุงร่างกาย แคปซูลยานี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ในการกลบกลิ่น หรือรสชาติของตัวยา เพื่อช่วยให้การกินยาทำได้ง่ายขึ้น ทั้งยังมีสารเคลือบที่แคปซูลยา เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการปลดปล่อยตัวยาอีกด้วย ยาแคปซูล มีกี่ประเภท แคปซูลยา มีอยู่ด้วยกันสองชนิดหลักๆ ได้แก่ แคปซูลปลอกแข็ง (Hard-shelled capsules) แคปซูลปลอกแข็ง หรือแคปซูลยาแบบแข็ง จะประกอบไปด้วยปลอกแคปซูล […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน