ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เป็นเรื่องที่ทุกคนควจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งเรื่องราวที่คุณจะอ่านเรารวบรวมเอาไว้ให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

สำรวจ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เครื่องช่วยหายใจ คืออะไร ใช้อย่างไร

เครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจสามารถหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยทั่วไป เครื่องช่วยหายใจมักใช้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในปอด ป่วยเป็นโรคโควิด-19 เป็นโรคหอบหืดหรือโรคปอดอักเสบ รวมทั้งใช้ระหว่างผ่าตัดด้วย [embed-health-tool-heart-rate] เครื่องช่วยหายใจคืออะไร เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical Ventilation หรือ Ventilator) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่หายใจได้ลำบากหรือไม่สะดวก หายใจได้ตามปกติ ด้วยการปล่อยออกซิเจนเข้าไปในปอด และกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากปอดในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไป เครื่องช่วยหายใจนิยมใช้ในสถานพยาบาลหรือรถพยาบาล แต่หากผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง จึงมีการใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่ออยู่บ้านด้วย ทั้งนี้ เครื่องช่วยหายใจมีอยู่ 2 แบบ คือแบบไม่ใส่ท่อ (Noninvasive Ventilation) ซึ่งเชื่อมต่อกับหน้ากากพลาสติกที่รัดกับใบหน้าของผู้ป่วย และแบบใส่ท่อ (Invasive Mechanical Ventilation) ซึ่งเชื่อมต่อกับท่อที่สอดเข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย และนิยมใช้ในกรณีที่มีอาการหายใจติดขัดหรือมีปัญหาระบบหายใจผิดปกติรุนแรง เครื่องช่วยหายใจใช้ตอนไหน เครื่องช่วยหายใจมักใช้ในสถานการณ์ต่อไปนี้ เมื่อเป็นโรคเกี่ยวกับปอด หรือมีการติดเชื้อบริเวณปอด ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการหายใจ เมื่อมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉิน เช่น ภาวะแพ้รุนแรง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการหายใจ หรือทำให้หายใจไม่ออก เมื่อมีอาการป่วยหรือบาดเจ็บบริเวณสมอง ซึ่งทำให้การทำงานระหว่างสมองกับปอดบกพร่อง เป็นผลให้หายใจไม่สะดวก เมื่อมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงกว่าปกติ หรือออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เมื่อมีความเสี่ยงที่ของเหลวจะไหลเข้าไปในปอด ระหว่างผ่าตัด เนื่องจากยาสลบที่คุณหมอใช้มีออกฤทธิ์ทำให้หายใจลำบาก เครื่องช่วยหายใจ ต้องใช้นานแค่ไหน ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจนั้นขึ้นอยู่กับอาการป่วยหรือภาวะสุขภาพของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม หากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลา 2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น คุณหมอมักเปลี่ยนจากการสอดท่อเข้าไปในหลอดลมผ่านลำคอ เป็นการเจาะคอแล้วสอดท่อเข้าไปในหลอดลมแทน กระบวนการอื่น ๆ ระหว่างใช้เครื่องช่วยหายใจ ระหว่างใช้เครื่องช่วยหายใจ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไทรอยด์เป็นพิษ สาเหตุ อาการ การรักษา

ไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) หมายถึง การที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนจนมีปริมาณมากเกินไป ซึ่งมักส่งผลให้มีอาการหัวใจเต้นเร็ว น้ำหนักลดลง หรือรู้สึกร้อนกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ไทรอยด์เป็นพิษรักษาให้หายได้จากการรับประทานยาและการผ่าตัด [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร ไทรอยด์เป็นพิษหมายถึงภาวะที่ร่างกายมีฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มากเกินไป ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพหรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา จนก่อให้เกิดอาการป่วยต่าง ๆ ตามมา ทั้งนี้ ภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism) หรือการที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากผิดปกติ จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งมักพบในเพศหญิงประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ และพบในเพศชายประมาณ 0.2 เปอร์เซ็นต์ อาการ อาการ ไทรอยด์เป็นพิษ อาการที่พบได้ เมื่อมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ มีดังนี้ อาการในระดับเบาหรือปานกลาง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็ว มักเกิน 100 ครั้ง/นาที กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตัวสั่น ประหม่า วิตกกังวล ขี้หงุดหงิด รู้สึกร้อนกว่าปกติ เหงื่อออก ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการในระดับรุนแรง หัวใจเต้นเร็วมาก ไข้สูง รู้สึกมึนงง ปั่นป่วน ท้องร่วง หมดสติ สาเหตุ สาเหตุของ ไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์เป็นพิษมักเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคเกรฟส์ (Graves’ Disease) เป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากกว่าปกติ หรือมีภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ยาเสพติด ส่งผลต่อสุขภาพกาย จิตใจและสังคมอย่างไร

ยาเสพติด ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม เนื่องจากยาเสพติดออกฤทธิ์กด กระตุ้น และหลอนประสาทจนทำให้เกิดอาการติดยาขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้เสพมีอาการเห็นภาพหลอน หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง ขาดสติ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ผู้เสพมีแนวโน้มที่จะก่อปัญหาในสังคม เช่น การลักขโมย ทำร้ายผู้อื่น เกิดอุบัติเหตุ [embed-health-tool-bmr] ยาเสพติด คืออะไร ยาเสพติด คือ สารที่อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือถูกสังเคราะห์ขึ้น และมีการนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเมื่อนำเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางสมองและร่างกาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดปัญหาในสังคมได้ด้วย โทษของยาเสพติด ต่อสุขภาพร่างกาย โทษของยาเสพติดอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของยา ปริมาณ และความถี่ในการเสพ โดยอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงและอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายติดเชื้อง่ายและป่วยง่าย ความผิดปกติของหัวใจ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ หัวใจวาย เส้นเลือดยุบตัว การติดเชื้อในกระแสเลือด อาการคลื่นไส้และปวดท้อง ซึ่งอาจส่งผลต่อความอยากอาหารจนอาจส่งผลให้น้ำหนักลดลง เซลล์และเนื้อเยื่อในตับอักเสบมาก เนื่องจากตับต้องทำงานหนักในการขับสารพิษจากยาอยู่ตลอดเวลา จึงอาจส่งผลให้ตับอักเสบและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาต่อตับได้ ความผิดปกติทางสมอง เช่น อาการชัก โรคหลอดเลือดสมอง ความสับสนทางจิตใจ สมองได้รับความเสียหาย โรคปอด โดยเฉพาะการใช้ยาเสพติดด้วยการสูดดม อาจทำให้ปอดทำงานหนักมากขึ้นจนลุกลามกลายไปเป็นโรคปอดได้ ปัญหาในการใช้ชีวิต […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไทรอยด์ และโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับไทรอยด์

ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานจากอาหารให้สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคบางอย่างหรือเมื่อร่างกายตกอยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่น อยู่ในภาวะหลังคลอดบุตร หรือได้รับการฉายแสง อาจส่งผลให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ [embed-health-tool-bmi] ไทรอยด์คืออะไร ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ หรือข้างใต้ลูกกระเดือก เรื่อยไปจนถึงหลอดลม มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อแบ่งเป็นสองพูซึ่งเชื่อมกันตรงกลางด้วยส่วนที่เรียกว่าคอคอดหรืออิสมัส (Isthmus) โดยมีน้ำหนักรวมประมาณ 25 กรัม ไทรอยด์ สำคัญต่อร่างกายอย่างไร ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไธรอกซิน (Thyroxine หรือ T4) และไธไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine หรือ T3) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่รับประทานให้สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ร่างกายต้องการ ทั้งนี้ การทำงานของไทรอยด์ถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ผ่านฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid-stimulating Hormone หรือ TSH) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมไม่ให้ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากหรือน้อยเกินไป จนนำไปสู่ความผิดปกติภายในร่างกาย นอกจากนั้น ฮอร์โมนไธรอกซินและไธไอโอโดไธโรนีน ยังมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้ เร่งหรือชะลอการเต้นของหัวใจ เพิ่มหรือลดอุณหภูมิภายในร่างกาย เสริมสร้างพัฒนาการให้สมองส่วนต่าง ๆ ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ รักษาความแข็งแรงของผิวหนังและกระดูก โรคต่าง ๆ เกี่ยวกับ ไทรอยด์ หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

diabetes insipidus (โรคเบาจืด) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

diabetes insipidus หรือ โรคเบาจืด เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียความสมดุลของน้ำ ซึ่งมีผลมาจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone หรือ ADH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป อาจทำให้มีอาการกระหายน้ำมาก ปากแห้ง อ่อนเพลีย ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้ง จนอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้   คำจำกัดความdiabetes insipidus คืออะไร diabetes insipidus หรือ โรคเบาจืด คือ โรคที่ทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป โดยอาจปัสสาวะมากถึง 20 ลิตร/วัน ซึ่งผู้ที่มีร่างกายปกติจะปัสสาวะเฉลี่ยเพียง 1-2 ลิตร/วัน เท่านั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาจืดจึงปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้ง เนื่องจากมีอาการกระหายน้ำตลอดเวลาและดื่มน้ำมากขึ้น หรือเรียกว่า ภาวะดื่มน้ำมากผิดปกติ (Polydipsia) โรคเบาจืดไม่เหมือนกับโรคเบาหวาน แม้ว่าจะมีอาการกระหายน้ำมากและมีการปัสสาวะมากขึ้นเหมือนกัน แต่โรคเบาหวานเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปและไตจะพยายามขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ส่วนโรคเบาจืดจะมีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ แต่ไตมีความผิดปกติที่ไม่สามารถขับปัสสาวะได้อย่างเหมาะสม อาการอาการของ diabetes insipidus อาการของโรคเบาจืดอาจสังเกตได้ ดังนี้ กระหายน้ำและต้องการดื่มน้ำมากขึ้น ปวดปัสสาวะมากขึ้น ประมาณ 20 ลิตร/วัน และปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน ปัสสาวะมีสีซีด ปวดกล้ามเนื้อ ร่างกายอ่อนแอ เหนื่อยล้า วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หมดสติ อาการของโรคเบาจืดในทารกหรือเด็กเล็ก อาจมีดังนี้ ปัสสาวะรดผ้าอ้อมและที่นอน นอนหลับยาก มีไข้ อาเจียน น้ำหนักลดลง ท้องผูก การเจริญเติบโตล่าช้า หากมีอาการปัสสาวะมากเกินไปและกระหายน้ำผิดปกติควรรีบพบคุณหมอทันทีเพื่อวินิจฉัยอาการ สาเหตุสาเหตุของ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วัคซีนมีความสำคัญอย่างไร และสามารถเข้ารับวัคซีน ได้ที่ไหนบ้าง?

การรับวัคซีน สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้เรียนรู้และเตรียมพร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคก่อนที่ร่างกายจะได้รับเชื้อ เมื่อเชื้อโรคชนิดนั้นเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง ร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การรับวัคซีนสำคัญอย่างไร การฉีดวัคซีน อาจช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้สนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายแรง โดยเมื่อระบบภูมิคุ้มกันตรวจพบซากเชื้อหรือเชื้อโรคที่ผ่านการดัดแปลงจนอ่อนแอลงภายในวัคซีน ก็จะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาจัดการกับเชื้อโรคนั้น ทำให้เมื่อได้รับเชื้อจริง ร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นได้ทันที และลดโอกาสการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง นอกจากนี้ การรับวัคซีนสามารถป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อและการเกิดโรคในผู้อื่นได้อีกด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรับวัคซีน จากข้อมูลของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ประเทศไทย ระบุว่า สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่แรกเกิด และควรเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด ดังนี้ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิดภายใน 24 ชั่วโมง หลังคลอด วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด ก่อนจะออกจากโรงพยาบาล วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี (DTP-HB) อาจเริ่มฉีดเมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน และเมื่ออายุ 1 ปี 6 เดือนอาจเปลี่ยนฉีดเพียงแค่วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยักและไอกรน (DTP) และฉีดอีกครั้งเมื่ออายุ 4 […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วิธี เตรียมตัว ก่อน ฉีด วัคซีน โควิด-19 และการดูแลตัวเองหลังฉีด

การศึกษา วิธี เตรียมตัว ก่อน ฉีด วัคซีน ที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ให้แก่ร่างกาย โดยทั่วไป ผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนควรนอนหลับให้เพียงพอ งดออกกำลังกายหรือยกของหนักก่อนมาฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ควรศึกษาถึงวิธีการปฏิบัติตัวระหว่างรับการฉีดวัคซีน และวิธีดูแลตัวเองหลังฉีดวัคซีนด้วย เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 และช่วยให้วัคซีนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การ เตรียมตัว ก่อน ฉีด วัคซีน การ เตรียมตัว ก่อน ฉีด วัคซีน อาจทำได้ดังนี้ นอนหลับให้เพียงพอก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน ไม่ควรอดนอนเนื่องจากจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย กระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และอาจช่วยเสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ได้แก่  วิตามิน เช่น วิตามินเอ ที่พบในเครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม และวิตามินซี ที่พบในผักและผลไม้ แร่ธาตุ เช่น สังกะสี ที่พบในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ปลา  โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นมพร่องหรือขาดมันเนย ชีสชนิดไขมันต่ำ เต้าหู้ ถั่วเหลือง จุลินทรีย์สุขภาพ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ใบหน้าไม่สมมาตร จนขาดความมั่นใจ เกิดมาจากสาเหตุใด

หากคุณส่องกระจกแล้วสังเกตว่าใบหน้าของตนเองเหมือนมีลักษณะไม่เท่ากัน นั่นอาจหมายความว่า คุณกำลังเผชิญกับปัญหา ใบหน้าไม่สมมาตร อยู่ก็ได้ แต่ไม่ต้องวิตกไปค่ะ เพราะโดยปกติปัญหานี้ไม่ทำให้เกิดอันตรายใด ๆ หากคุณคิดว่าสิ่งนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่คุณเป็นอันพึงพอใจอยู่แล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องรับการแก้ไขใด ๆ นอกเสียจากว่าปัญหานี้จะส่งผลข้างเคียงบางอย่างที่นำไปสู่อันตรายเกิดขึ้น ใบหน้าไม่สมมาตร เป็นอย่างไร ใบหน้าไม่สมมาตร หรือ ใบหน้าไม่เท่ากัน คือปัญหาความไม่สมดุลกันของจุดหลักต่าง ๆ บนใบหน้า เช่น บริเวณกึ่งกลางหน้าผากจรดคางด้านล่างไม่เท่ากันเป็นแกนเอียง ริมฝีปากและเปลือกตาทั้งสองข้างเหลื่อมกัน หากเป็นในกรณีเล็กน้อยที่ไม่ส่งผลทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะขยับใบหน้ามากนัก ก็อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การมีลักษณะ ใบหน้าไม่เท่ากัน ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า คุณกำลังเสี่ยงเข้าสู่ภาวะร้ายแรงร่วมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาตแบบเบลล์ (Bell’s paly) ดังนั้น ทางที่คุณควรกระทำคือการเข้ารับการตรวจและปรึกษาแพทย์ในทันที เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ใบหน้าของคุณสามารถขยับไปมาได้น้อยลง จนทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างยากลำบาก สาเหตุหลัก ที่ส่งผลให้ใบหน้าไม่สมมาตร นอกเหนือจาก อัมพาตเบลล์และโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้คุณเผชิญกับปัญหา ใบหน้าไม่เท่ากัน ได้ ดังต่อไปนี้ พันธุกรรม การมี ใบหน้าไม่เท่ากัน อาจเป็นผลจากพันธุกรรมที่ได้รับมาจากบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติใบหน้าไม่สมมาตรได้ อายุที่มากขึ้น จากการศึกษาหนึ่งในปี พ.ศ. 2561ได้นำอาสาสมัครทั้ง 200 คน เพื่อค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างอายุที่มากขึ้น และใบหน้าสมมาตร โดยผลลัพธ์ออกมาว่า […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แฟเบร (Fabry Disease) โรคทางพันธุกรรม ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

โรคแฟเบร นับว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างพบได้ยาก เนื่องจาก แฟเบร เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถคาดเดาว่าจะเกิดขึ้นกับบุคคลใดได้ จนกว่าจะเข้ารับการตรวจจากแพทย์ หรือเริ่มมีอาการเผยออกมาอย่างชัดเจน บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ โรคแฟเบร มาฝากทุกคน   คำจำกัดความแฟเบร คืออะไร แฟเบร (Fabry Disease) คือ โรคหายากที่ถูกถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมของคนในครอบครัว เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน นำไปสู่ภาวะการขาดเอนไซม์บางชนิด ที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่อวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ปอด ไต ช่องท้อง ระบบประสาท และสมอง และปรากฏอาการแทรกซ้อนอย่างรุนแรง จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด โรคแฟเบรอาจพบได้ทั้งในเพศชาย และเพศหญิงทุกวัย และกลุ่มชาติพันธุ์ โดยส่วนใหญ่ ผู้ชายมักได้รับผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงกว่า แต่ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 30-44 ปี มักเกิดอาการที่ส่งผลกระทบต่อไต หัวใจ และสมอง มากกว่า อาการอาการของโรคแฟเบร โรคแฟเบร มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท โดยในแต่ละประเภทมักมีอาการที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ แฟเบรประเภทที่ 1 ปวดแสบปวดร้อน ร่างกายผลิตเหงื่อน้อย หรือไม่ผลิตเหงื่อ มีผื่นสีม่วง แดง นูนขึ้นเล็กน้อยระหว่างสะดือ และหัวเข่า ผื่นบนผิวหนัง มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร เช่น แก๊สในกระเพาะ อาการท้องร่วง ปัญหาเกี่ยวกับกระจกตา อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ แขน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

สูญเสียการทรงตัว สัญญาณเตือนทางสุขภาพ มีสาเหตุมาจากอะไร

หากวันใดวันนึงคุณรู้สึกว่าการเคลื่อนไหวของคุณมีความผิดปกติต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน วิ่ง ที่อาจทำให้ สูญเสียการทรงตัว หรืออ่อนแรงลง โปรดหยุดพักทำกิจกรรมทุกอย่างในทันที และมาร่วมศึกษาเกี่ยวกับอาการดังกล่าวได้ในบทความของ Hello คุณหมอ นี้ เพื่อทราบสาเหตุ รวมถึงการป้องกันตนเองเบื้องต้น ไปพร้อม ๆ กันค่ะ สาเหตุหลัก ที่ทำให้เรา สูญเสียการทรงตัว การสูญเสียการทรงตัว ถือว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่มักเกิดมาจากสาเหตุหลักต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. โรคเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ (Vestibular neuritis) ปัญหาสูญเสียการทรงตัว อาจเกิดจากการติดเชื้อของไวรัสที่เข้าไปทำลายเส้นประสาทส่วนหูชั้นใน จนคุณเสียสมดุลระหว่างเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวนี้อาจหายไปได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากคุณมีความกังวลถึงอันตรายอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าขอรับการรักษาจากแพทย์ได้ในทันทีโดยไม่ต้องรอ  2. โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign paroxysmal positional vertigo ; BPPV) เมื่อมีการก่อตัวของผลึกแคลเซียม หรือหินปูนเข้าไปเกาะในส่วนของหูชั้นในที่หนาจนเกินไป บางครั้งก็อาจสามารถทำให้คุณเกิด ปัญหาสูญเสียการทรงตัว เสียสมดุลทางด้านการเคลื่อนไหว เวียนศีรษะ ภาวะนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากที่สุดในช่วงวัยผู้ใหญ่ 3. โรคเมเนียส์ (Meniere’s disease) หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ถึงโรคเมเนียส์ หรือโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ที่ส่งผลทำให้คุณมีอาการวิงเวียนศีรษะอย่างกะทันหันรุนแรง สูญเสียการทรงตัว และการได้ยิน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม