พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2 ยังไม่นับว่าเป็นการตั้งครรภ์เสียทีเดียว เนื่องจากเป็นช่วงที่เกิดการปฏิสนธิของไข่และตัวอสุจิ ก่อนที่จะฝังตัวในผนังมดลูกและพัฒนาขึ้นกลายเป็นตัวอ่อนต่อไป ในช่วงนี้ผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์ควรหมั่นดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาจรับประทานอาหารเสริม เช่น กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมของร่างกายสำหรับทารกในครรภ์
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]
พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2
ลูกจะเติบโตอย่างไร
สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 2 เป็นช่วงที่เพศของทารกถูกกำหนดขึ้นมาแล้ว แต่จะยังไม่รู้จนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 18-20 ของ การตั้งครรภ์ด้วยการอัลตราซาวด์หรือเจาะเลือด
มนุษย์ทุกคนมีโครโมโซมคนละ 46 แท่ง จัดได้ 23 คู่ โดยเพศหญิงและเพศชายจะมีโครโมโซมที่เรียกว่า ออโทโซม ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันจำนวน 22 คู่ และมีโครโมโซมคู่ที่ 23 เป็นโครโมโซมเพศ
ในเพศชายจะมีโครโมโซมเพศเป็นแท่งใหญ่ ที่เรียกว่า โครโมโซม X ส่วนในเพศหญิงจะมีโครโมโซมเพศแท่งเล็ก ที่เรียกว่า โครโมโซม Y ฉะนั้นถ้าลูกมีโครโมโซมเพศเป็น XX ลูกก็จะเป็นเพศหญิง และถ้าโครโมโซมเพศเป็น XY ลูกก็จะเป็นเพศชาย
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต
ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ผนังมดลูกจะหนาขึ้นเพื่อเตรียมรับน้ำหนักของทารกในครรภ์ ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ จะเป็นเวลาที่เหมาะสมในการมีลูก ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจสอบมดลูก เพื่อที่จะรู้ได้อย่างชัดเจน
ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ คู่รักจะผลิตเชื้ออสุจิที่เคลื่อนตัวเข้าไปหาไข่ แต่จะมีเชื้ออสุจิเพียงเซลล์เดียวเท่านั้น ที่จะได้ผสมกับไข่ เมื่อไข่กับเชื้ออสุจิผสมกันแล้ว ไข่ก็จะฝังตัวอยู่ที่ผนังมดลูกอย่างปลอดภัย แต่จะยังไม่รู้จนกว่าจะผ่านไปอีกหลายสัปดาห์
ควรระมัดระวังอะไรบ้าง
สัญญาณของ การตั้งครรภ์ ในแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจมีอาการป่วยหรือแพ้ท้องตอนเช้า ในขณะที่บางคนอาจปกติดี วิธีที่จะทำให้รู้ได้อย่างแน่นอนก็คือ การตรวจสอบรอบเดือน ถ้ารอบเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน อาจตรวจตั้งครรภ์ด้วยตนเอง และหาเวลาไปพบคุณหมอโดยด่วนเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดและฝากครรภ์หากตั้งครรภ์
การพบคุณหมอ
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง
การทดสอบที่ควรรู้
เมื่อไข่ผสมกับเชื้ออสุจิแล้ว อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ถึงจะรู้ว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ดังนั้น จึงควรรอให้เวลาผ่านไประยะหนึ่งจึงซื้อที่ตรวจสอบครรภ์มาตรวจด้วยตนเอง ทั้งนี้ การตรวจครรภ์ควรทำในวันที่รอบเดือนขาดไป หรือควรตรวจหลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากมีสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โปรดปรึกษาแพทย์ทันที
นอกจากนั้น แม้จะตรวจพบว่าตั้งครรภ์ แต่พัฒนาการของตัวอ่อนยังไม่สมบูรณ์ อาจยังตรวจไม่พบหัวใจของทารก ควรรอให้ครบสัปดาห์ที่ 8 จึงเข้ารับการตรวจเพื่อยืนยันผลการตั้งครรภ์อีกครั้ง
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์
พฤิตกรรมและการบริโภคอาหาร หรือยาบางชนิด อาจส่งผลต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะปัจจัยเหล่านี้ ที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง
- ยาแก้ปวด
เวลาปวดศีรษะ หรือเป็นไมเกรน คนส่วนใหญ่ย่อมนึกถึงการรับประทานยาแก้ปวด แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรเลือกวิธีแก้ปวดศีรษะโดยไม่พึ่งยาแทน เพราะยาแก้ปวดส่วนใหญ่ไม่ปลอดภัยต่อ การตั้งครรภ์ ทั้งยังอาจสะสมตกค้างอยู่ในร่างกายเป็นเวลาหลายวันหลังจากใช้ยา
นอกจากนี้ ส่วนประกอบในยาแก้ปวดอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกได้อีกด้วย ไม่ใช่แค่คุณแม่ตั้งครรภ์เท่านั้นที่ต้องระวังเรื่องการใช้ยาแก้ปวด แต่หากกำลังวางแผนตั้งครรภ์ ควรระวังและควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้เช่นกัน
- แอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือบุหรี่
ในช่วงนี้ พฤติกรรมของคุณแม่ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย การรับประทานอาหาร หรือการใช้ชีวิตอื่น ๆ ย่อมส่งผลต่อ พัฒนาการทารก สัปดาห์ที่ 2 ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดใช้ยาเสพติด และงดบุหรี่ เพราะนอกจากจะไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้ไม่พร้อมสำหรับ การตั้งครรภ์ เป็นปัจจัยเสี่ยงของปัญหาสุขภาพมากมายแล้ว ยังทำให้เสี่ยงแท้งลูก หรือทำให้ลูกที่เกิดมามีภาวะผิดปกติได้ เช่น ภาวะที่ทารกในครรภ์ได้รับแอลกอฮอล์จากแม่ มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย