backup og meta

PCOS กับการตั้งครรภ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

PCOS กับการตั้งครรภ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

PCOS หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นหนึ่งปัญหาในการตั้งครรภ์ที่เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ และอาจนำไปสู่ภาวะการมีบุตรยาก มักพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ุ PCOS กับการตั้งครรภ์ นั้นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เพื่อลดอาการและความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีบุตรยาก

[embed-health-tool-ovulation]

PCOS คืออะไร

PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นความผิดปกติของฮอร์โมน อาจพบได้มากในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ุ โดยผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มา ๆ หาย ๆ สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะ PCOS ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดจากการมีอินซูลินมากเกินไป อาการอักเสบชนิดต่ำที่กระตุ้นรังไข่ พันธุกรรม และร่างกายมีระดับฮอร์โมนเพศชายมากผิดปกติ เป็นต้น

PCOS กับการตั้งครรภ์

PCOS เป็นหนึ่งในปัญหาการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธ์ุ ดังนี้

PCOS ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอนโดรเจนมากผิดปกติ

แอนโดรเจน (Androgen) เป็นฮอร์โมนเป็นชาย หากมีมากร่างกายจะเปลี่ยนฮอร์โมนชนิดนี้ไปเป็นเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงก็อาจส่งผลต่อการพัฒนาไข่และการตกไข่ ทำให้ไข่ที่แข็งแรงไม่ถูกปล่อยออกมา ตัวอสุจิไม่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ได้ จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์

PCOS ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกันไป อาจขึ้นอยู่กับอายุและสภาวะสุขภาพ แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีรอบเดือนห่างกันทุก ๆ 28 วัน หากประจำเดือนมาสม่ำเสมอถือว่าปกติ แต่เมื่อไรที่ร่างกายเกิดความผิดปกติ เช่น มีปัญหาในการตกไข่ จะทำให้ประจำเดือนนั้นผิดปกติ

ภาวะ PCOS ส่งผลให้การตกไข่ผิดปกติ ร่างกายอาจมีการไข่ตกบ้าง ไม่ตกบ้าง บางครั้งก็ไม่มีไข่ตกเลย จึงทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ และการที่ไข่ไม่ตกก็ถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

การปรับไลฟ์สไตล์เพื่อช่วยลดภาวะ PCOS

การที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอาจส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนของร่างกาย ผู้หญิงบางคนที่มีโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนักให้ได้ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว เพื่อให้ฮอร์โมนกลับมาอยู่ในระดับปกติ และช่วยทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ

วิธีการลดนั้นสามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมบางอย่าง เช่น เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ลดความเครียด มองโลกในแง่บวก วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้ฮอร์โมนสมดุลและร่างกายก็จะดีขึ้นตามไปด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

PCOS and Your Fertility — and What You Can Do About It. https://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/polycystic-ovary-syndrome-fertility#1

PCOS and pregnancy. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/pcos-and-pregnancy.

Getting Pregnant Despite PCOS. https://www.acog.org/womens-health/experts-and-stories/the-latest/getting-pregnant-despite-pcos. Accessed March 11, 2022

I have PCOS and I want to have a baby, what do I need to know?. https://www.yourfertility.org.au/i-have-pcos-and-i-want-have-baby-what-do-i-need-know. Accessed March 11, 2022

Does PCOS affect pregnancy?. https://www.nichd.nih.gov/health/topics/pcos/more_information/FAQs/pregnancy. Accessed March 11, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/05/2023

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

อยากมีลูกต้องออกกำลังกาย เพราะอาจช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้

โอกาสและทางเลือกในการตั้งครรภ์สำหรับ ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 01/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา