backup og meta

เด็กเครียด สังเกตยังไง สัญญาณและวิธีป้องกัน

เด็กเครียด สังเกตยังไง สัญญาณและวิธีป้องกัน

ความเครียด เป็นปัญหาที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย รวมไปจนถึงวัยเด็ก การที่ ‘เด็กเครียด’ อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งเรื่องครอบครัว เพื่อน การเรียน และความต้องการบางอย่างที่ไม่เป็นดังหวัง ซึ่งหากสะสมไว้มากเข้าอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและการเรียนได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงคอยสังเกตสัญญาณความเครียดในเด็กและหาแนวทางป้องกันที่เหมาะสม

[embed-health-tool-vaccination-tool]

เด็กเครียด สังเกตยังไง

อาการที่อาจบ่งบอกความเครียดในเด็ก มีดังนี้ 

อาการทางกาย

  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • คลื่นไส้ 
  • ปวดหัว
  • นอนไม่หลับ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • หัวใจเต้นแรง
  • น้ำหนักตัวลดหรือขึ้นจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป

อาการทางใจ

  • อารมณ์แปรรวน หงุดหงิดง่าย หรือร้องไห้บ่อยขึ้น
  • แสดงอาการก้าวร้าว ไม่เชื่อฟัง
  • วิตกกังวล
  • ติดผู้ปกครองมากขึ้น ไม่ยอมอยู่ห่างจากพ่อแม่
  • ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกับครอบครัวและในโรงเรียน

อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนอาจมีวิธีการแสดงออกถึงความเครียดในวัยเรียนที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองควรรู้จักสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูก และพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เพื่อจะได้ตรวจพบสัญญาณความเครียดของลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

สาเหตุที่ทำให้เด็กเครียด

ความเครียดในเด็ก อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ความเครียดเรื่องการเรียน การบ้าน คุณครู และการถูกลงโทษ
  • ความเครียดจากการย้ายที่อยู่ หรือต้องปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ
  • ความเครียดจากครอบครัว ความขัดแย้ง การทะเลาะเบาะแว้ง การหย่าร้าง
  • ความเครียดจากหน้าที่และความรับผิดชอบ
  • ความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
  • ความเครียดจากแผลทางจิตใจ ความรู้สึกไม่ปลอดภัย การล่วงละเมิด หรือการถูกทำร้าย

วิธีจัดการความเครียดในเด็ก

ความเครียดเป็นเรื่องธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลและช่วยเหลือลูกน้อยให้สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยให้เกิดความเครียดสะสมจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

สิ่งที่อาจช่วยจัดการกับความเครียดในเด็กได้ มีดังนี้

  • รับฟังปัญหาและให้คำแนะนำลูกอย่างเหมาะสม ไม่รีบด่วนตัดสินลูก ให้ลูกได้อธิบาย และช่วยกันหาทางแก้ไข
  • ให้กำลังใจ สนับสนุน และคำชม เพื่อให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
  • สอนให้ลูกรู้จักวิธีการจัดการกับความเครียด เช่น เขียนความรู้สึกลงในสมุดบันทึก พูดคุยปรึกษา 
  • ให้ความรักกับลูก ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น ได้รับความรัก
  • ไม่กดดันลูกมากจนเกินไป
  • ชักชวนลูกทำกิจกรรมที่ช่วยระบายความเครียด เช่น ไปเที่ยวด้วยกัน ดูหนัง เล่นเกม เล่นดนตรี เล่นกีฬา
  • ให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ปรึกษาคุณหมอหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสุขภาพจิตเด็ก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Childhood Stress: How Parents Can Help. https://kidshealth.org/en/parents/stress.html. Accessed May 31, 2024

Stress in childhood. https://medlineplus.gov/ency/article/002059.htm. Accessed May 31, 2024

What is stress? https://www.unicef.org/parenting/mental-health/what-is-stress

Stressed out kids? Signs and strategies. https://www.mayoclinichealthsystem.org/hometown-health/speaking-of-health/stressed-out-kids. Accessed May 31, 2024

Definitions, theories, and measurement of stress in children. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10085063/. Accessed May 31, 2024

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/10/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย พญ.ไอริณ จริยะโยธิน

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรียนออนไลน์ มีข้อดีและข้อเสียต่อเด็ก ๆ อย่างไรบ้าง

จักรยานเด็ก เสริมสร้างพัฒนาการ และวิธีเลือกให้เหมาะกับวัย


ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย

พญ.ไอริณ จริยะโยธิน

อายุรศาสตร์ · แพทย์ประจำแอพลิเคชั่น BeDee


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 3 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา