backup og meta

โลเทเพร็ดนอล (Loteprednol)

โลเทเพร็ดนอล (Loteprednol)

ยา โลเทเพร็ดนอล (Loteprednol) ใช้บรรเทาอาการอย่างการบวม รอยแดง หรือคัน จากโรคเกี่ยวกับตาบางชนิดที่เกิดจากการอักเสบ หรือการบาดเจ็บ หรือใช้หลังจากการผ่าตัดตา

ข้อบ่งใช้

ยา โลเทเพร็ดนอล (Loteprednol) ใช้สำหรับ

ยา โลเทเพร็ดนอล (Loteprednol) ใช้เพื่อบรรเทาอาการบวม รอยแดง หรือคัน เนื่องจากเป็นโรคเกี่ยวกับตาบางชนิด ที่เกิดจากการอักเสบ หรือการบาดเจ็บ ยาโลเทเพร็ดนอลอยู่ในกลุ่มของยาที่เรียกว่ายาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroid)

วิธีใช้ยา โลเทเพร็ดนอล

อย่าใส่คอนแทคเลนส์ขณะที่ใช้ยานี้ เว้นแต่แพทย์แนะนำ ควรฆ่าเชื้อคอนแทคเลนส์ตามคำแนะนำของผู้ผลิต และตรวจสอบกับแพทย์ก่อนใส่คอนแทคเลนส์อีกครั้ง

หากแพทย์ยินยอมให้ใส่คอนแทคเลนส์ระหว่างที่ใช้ยานี้  คุณต้องถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนหยอดตา รออย่างน้อย 15 นาทีหลังจากหยอดยาแต่ละครั้งก่อนใส่คอนแทคเลนส์

ล้างมือก่อนหยอดตา เขย่าขวดให้ดีก่อนใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ อย่าสัมผัสหลอดหยดยา หรือทำให้ส่วนดังกล่าวสัมผัสกับตาหรือพื้นผิวใด ๆ

วิธีหยอดยาโลเทเพร็ดนอล

  1. เงยหน้า มองขึ้นด้านบน และดึงหนังตาส่วนล่างลงให้เป็นถุงตา
  2. จับที่หยดยาให้อยู่เหนือตา แล้วบีบยา 1 หยดลงไปในถุงตา
  3. มองลงไปด้านล่าง แล้วค่อย ๆ หลับตาเป็นเวลา 1-2 นาที
  4. วางนิ้วหนึ่งนิ้วที่มุมหนึ่งของตา (ที่ใกล้จมูก) และกดคลึงเบา ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ยาไหลออก

อย่ากระพริบตาหรือขยี้ตา หากแพทย์แนะนำให้หยอดตาทั้งสองข้าง หรือหยอดตามากกว่าหนึ่งหยด ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์

หยอดยาบ่อย ๆ ตามที่แพทย์สั่ง เมื่อหยอดตาเสร็จแล้วอย่าล้างที่หยดยา และต้องปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังใช้ยา

หากคุณใช้ยารักษาตาประเภทอื่น (เช่น ยาหยอดตาประเภทอื่น ขี้ผึ้งป้ายตา) ต้องรออย่างน้อย 5-10 นาที ก่อนใช้ยาประเภทอื่น ใช้ยาหยอดตาก่อนทาขี้ผึ้งป้ายตา

ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด

เพื่อให้จำง่ายขึ้น ควรใช้ยานี้ในเวลาเดียวกันทุกวัน

ขนาดยาขึ้นอยู่กับโรคและการตอบสนองต่อการรักษา อย่าใช้ยานี้บ่อยเกินไป หรือใช้ยาในปริมาณมากกว่าที่แพทย์สั่ง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงได้

ใช้ยานี้ตามระยะเวลาที่แพทย์สั่ง อย่าหยุดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ หากจำเป็นต้องค่อย ๆ ลดขนาดยาลง เพราะการหยุดยากะทันหันอาจทำให้อาการแย่ลงได้

อย่าใช้ยานี้หากยานี้ติดเชื้อ (เช่น ยามีสีเข้มขึ้น) การใช้ยาหยอดตาที่ติดเชื้อ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และความเสียหายต่อตาที่รุนแรงได้ เช่น สูญเสียการมองเห็น

หากอาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลงหลังจากใช้ยา 2 วัน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทันที

การเก็บรักษายาโลเทเพร็ดนอล

ควรเก็บรักษายาโลเทเพร็ดนอลที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโลเทเพร็ดนอลบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาโลเทเพร็ดนอลนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโลเทเพร็ดนอล

ก่อนใช้ยาโลเทเพร็ดนอล โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกร หาก

  • คุณแพ้ยาโลเทเพร็ดนอล แพ้ต่อยาอื่น หรือมีอาการแพ้อื่น ๆ รวมถึงการแพ้ส่วนผสมไม่ออกฤทธิ์ของยาโลเทเพร็ดนอล โปรดสอบถามเภสัชกรสำหรับรายชื่อส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ และข้อมูลเพิ่มเติม
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ หรือมีแผนจะใช้ยาอื่น ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์หรือหาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม สมุนไพร รวมถึงกัญชา
  • หากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

หลังจากใช้ยานี้ คุณอาจมองเห็นไม่ชัดชั่วคราว ฉะนั้นจงอย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยความตื่นตัว จนกว่าคุณจะแน่ใจว่า คุณสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (รวมถึงยาที่จำหน่ายตามใบสั่งแพทย์ ยาที่จำหน่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา และผลิตภัณฑ์สมุนไพร)

หากคุณเพิ่งติดเชื้อหรือบาดเจ็บที่ตา รวมถึงผ่าตัดตา โปรดสอบถามแพทย์ด้วยว่า คุณยังสามารถใช้ยายาโลเทเพร็ดนอลขวดเดิมได้หรือไม่ หรือควรใช้ขวดใหม่

หากอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้ตามแพทย์สั่งภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น และโปรดปรึกษาแพทย์ถึงประโยชน์และความเสี่ยงของใช้ยา

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายาโลเทเพร็ดนอลสามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมหรือไม่ หากใช้ยานี้ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาโลเทเพร็ดนอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาโลเทเพร็ดนอล

หลังหยอดยานี้ คุณอาจปวดหรือแสบตาประมาณ 1-2 นาที และมองเห็นไม่ชัดชั่วคราว หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือแย่ลง โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที

โปรดจำไว้ว่า แพทย์สั่งจ่ายยาตัวนี้ให้คุณ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง และคนส่วนใหญ่ที่ใช้ยาตัวนี้ไม่เกิดผลข้างเคียงรุนแรงใด ๆ

การใช้ยานี้เป็นระยะเวลานาน หรือในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตาที่รุนแรง (เช่น ความดันตาสูง ต้อกระจก) ฉะนั้น โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นแต่ถือเป็นอาการรุนแรงเหล่านี้

  • ปัญหาในการมองเห็น
  • ปวดตา

ยานี้อาจบดบังสัญญาณของการติดเชื้อที่ตา และทำให้คุณเสี่ยงติดเชื้อที่ตาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน หากมีอาการเหล่านี้ หรืออาการที่เป็นอยู่แย่ลง โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เพราะแพทย์จำเป็นต้องปรับการรักษา

  • ของเหลวไหลออกจากตา
  • ตาบวม
  • ตาแดง
  • ปัญหาในการมองเห็น
  • โรคเกี่ยวกับตาไม่ดีขึ้น

แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่น่าเกิดขึ้นแต่รุนแรงเหล่านี้

อาการแพ้ยานี้ที่รุนแรงพบได้ยาก อย่างไรก็ตาม หากคุณพบอาการแพ้ที่รุนแรงเหล่านี้ ควรเข้ารับการรักษาทันที

  • เกิดผื่น
  • คันผิวหรือผิวบวม โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้นหรือลำคอ
  • วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
  • มีปัญหาในการหายใจ

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโลเทเพร็ดนอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโลเทเพร็ดนอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโลเทเพร็ดนอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงภาวะของโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโลเทเพร็ดนอลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ขึ้นตาตามฤดูกาล (Seasonal Allergic Conjunctivitis)

  • ยาน้ำแขวนตะกอน 0.2 เปอร์เซ็นต์ : 1 หยดลงบนตา 4 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำ

  • เขย่าขวดก่อนใช้

การใช้

  • บรรเทาสัญญาณและอาการของภูมิแพ้ขึ้นตาตามฤดูกาลชั่วคราว

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยโรคผิวหนังบนใบหน้า (Acne Rosacea)

  • ยาน้ำแขวนตะกอน 0.5 เปอร์เซ็นต์ : 1-2 หยดลงบนถุงเยื่อตาขาว (Conjunctival sac) 4 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำ

  • เขย่าขวดก่อนใช้
  • ภายในสัปดาห์แรกของการรักษาขั้นแรก อาจเพิ่มขนาดยาขึ้นเป็น 1 หยดทุกชั่วโมงหากจำเป็น

การใช้ 

บรรเทาสัญญาณและอาการของภูมิแพ้ขึ้นตาตามฤดูกาลชั่วคราว

  • ไม่ควรหยุดหยอดยาก่อนกำหนด
  • หากอาการหรือสัญญาณไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยา 2 วัน ควรประเมินอาการผู้ป่วยอีกครั้ง

การใช้

ใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เยื่อบุตา เยื่อบุตาขาว กระจกตาและส่วนหน้าของลูกตา เช่น ภูมิแพ้ขึ้นตา โรคผิวหนังบนใบหน้า กระจกตาดำเป็นจุดแผลเล็ก ๆ (Superficial punctate keratitis) งูสวัดที่ตา (Herpes zoster keratitis) ม่านตาอักเสบ ไซไคลตีส (Cyclitis) โรคตาแดงติดเชื้อบางส่วน (Selected infective conjunctivitis) ซึ่งตอบสนองต่อยาสเตอรอยด์ เมื่ออันตรายของการใช้สเตอรอยด์เป็นเรื่องยอมรับได้ เพื่อที่จะลดการบวมและการอักเสบ

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยม่านตาอักเสบ

  • ยาน้ำแขวนตะกอน 0.5 เปอร์เซ็นต์ : 1-2 หยดลงบนเยื่อบุตา 4 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำ

  • เขย่าขวดก่อนใช้
  • ภายในสัปดาห์แรกของการรักษาขั้นแรก อาจเพิ่มขนาดยาขึ้นเป็น 1 หยดทุกชั่วโมงหากจำเป็น
  • ไม่ควรหยุดหยอดยาก่อนกำหนด
  • หากอาการหรือสัญญาณไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยา 2 วัน ควรประเมินอาการผู้ป่วยอีกครั้ง

การใช้

ใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เยื่อบุตา เยื่อบุตาขาว กระจกตาและส่วนหน้าของลูกตา เช่น ภูมิแพ้ขึ้นตา โรคผิวหนังบนใบหน้า กระจกตาดำเป็นจุดแผลเล็ก ๆ งูสวัดที่ตา ม่านตาอักเสบ ไซไคลตีส โรคตาแดงติดเชื้อบางส่วนซึ่งตอบสนองต่อยาสเตอรอยด์ หากอันตรายของการใช้สเตียรอยด์เป็นเรื่องยอมรับได้เพื่อที่จะลดการบวมและการอักเสบ

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยโรคกระจกตาอักเสบ

  • ยาน้ำแขวนตะกอน 0.5 เปอร์เซ็นต์ : 1-2 หยดลงบนเยื่อบุตา 4 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำ

  • เขย่าขวดก่อนใช้
  • ภายในสัปดาห์แรกของการรักษาขั้นแรก อาจเพิ่มขนาดยาขึ้นเป็น 1 หยดทุกชั่วโมงหากจำเป็น
  • ไม่ควรหยุดหยอดยาก่อนกำหนด
  • หากอาการหรือสัญญาณไม่ดีขึ้น หลังจากใช้ยา 2 วัน ควรประเมินอาการผู้ป่วยอีกครั้ง

การใช้

ใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เยื่อบุตา เยื่อบุตาขาว กระจกตา และส่วนหน้าของลูกตา เช่น ภูมิแพ้ขึ้นตา โรคผิวหนังบนใบหน้า กระจกตาดำเป็นจุดแผลเล็กๆ งูสวัดที่ตา ม่านตาอักเสบ ไซไคลตีส โรคตาแดงติดเชื้อบางส่วนซึ่งตอบสนองต่อยาสเตอรอยด์ หากอันตรายของการใช้สเตอรอยด์เป็นเรื่องยอมรับได้ เพื่อที่จะลดการบวมและการอักเสบ

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ

  • ยาน้ำแขวนตะกอน 0.5 เปอร์เซ็นต์ : 1-2 หยดลงบนบนเยื่อบุตา 4 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำ

  • เขย่าขวดก่อนใช้
  • ภายในสัปดาห์แรกของการรักษาขั้นแรก อาจเพิ่มขนาดยาขึ้นเป็น 1 หยดทุกชั่วโมงหากจำเป็น
  • ไม่ควรหยุดหยอดยาก่อนกำหนด
  • หากอาการหรือสัญญาณไม่ดีขึ้น หลังจากใช้ยา 2 วัน ควรประเมินอาการผู้ป่วยอีกครั้ง

การใช้

ใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เยื่อบุตา เยื่อบุตาขาว กระจกตาและส่วนหน้าของลูกตา เช่น ภูมิแพ้ขึ้นตา โรคผิวหนังบนใบหน้า กระจกตาดำเป็นจุดแผลเล็กๆ งูสวัดที่ตา ม่านตาอักเสบ ไซไคลตีส โรคตาแดงติดเชื้อบางส่วนซึ่งตอบสนองต่อยาสเตอรอยด์ หากอันตรายของการใช้สเตอรอยด์เป็นเรื่องยอมรับได้ เพื่อที่จะลดการบวมและการอักเสบ

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยโรคไซไคลตีส

  • ยาน้ำแขวนตะกอน 0.5 เปอร์เซ็นต์ : 1-2 หยดลงบนเยื่อบุตา 4 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำ

  • เขย่าขวดก่อนใช้
  • ภายในสัปดาห์แรกของการรักษาขั้นแรก อาจเพิ่มขนาดยาขึ้นเป็น 1 หยดทุกชั่วโมงหากจำเป็น
  • ไม่ควรหยุดหยอดยาก่อนกำหนด
  • หากอาการหรือสัญญาณไม่ดีขึ้น หลังจากใช้ยา 2 วัน ควรประเมินอาการผู้ป่วยอีกครั้ง

การใช้

ใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เยื่อบุตา เยื่อบุตาขาว กระจกตาและส่วนหน้าของลูกตา เช่น ภูมิแพ้ขึ้นตา โรคผิวหนังบนใบหน้า กระจกตาดำเป็นจุดแผลเล็กๆ งูสวัดที่ตา ม่านตาอักเสบ ไซไคลตีส โรคตาแดงติดเชื้อบางส่วน ซึ่งตอบสนองต่อยาสเตอรอยด์ เมื่ออันตรายของการใช้สเตอรอยด์เป็นเรื่องยอมรับได้ เพื่อที่จะลดการบวมและการอักเสบ

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ตาหลังการผ่าตัด (Postoperative Ocular Inflammation)

  • ขี้ผึ้งป้ายตา 0.5 เปอร์เซ็นต์ : ป้ายขึ้ผึ้งจำนวนน้อย (เป็นแถบยาวประมาณ 0.5 นิ้ว) ที่ถุงเยื่อตาขาว 4 ครั้งต่อวันก่อนผ่าตัด และทำไปเรื่อย ๆ ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
  • เจลหรือยาน้ำแขวนตะกอน 0.5 เปอร์เซ็นต์ : หยอดตา 1-2 หยด ที่เยื่อบุตา 4 ครั้งต่อวันก่อนผ่าตัดและทำไปเรื่อย ๆ ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด

คำแนะนำ

  • เจล 0.5 เปอร์เซ็นต์ : คว่ำขวดแล้วเขย่าหนึ่งครั้งเพื่อให้ยาลงไปอยู่ที่ปลายขวดก่อนหยอดตา
  • ยาน้ำแขวนตะกอน 0.5 เปอร์เซ็นต์ : เขย่าก่อนใช้

การใช้

ใช้รักษาการติดเชื้อที่ตาหลังการผ่าตัดตา

ขนาดยาโลเทเพร็ดนอลสำหรับเด็ก

ไม่ได้มีการกำหนดขยาดยาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา  สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

รูปแบบของยาโลเทเพร็ดนอล มีดังนี้

  • ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับหยอดตา (Ophthalmic suspension)
  • ขึ้ผึ้งป้ายตา
  • เจลหยอดตา

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Loteprednol Ophthalmic Dosage. https://www.drugs.com/dosage/loteprednol-ophthalmic.html. Accessed March 8, 2018.

Loteprednol Etabonate 0.5 % Eye Drops,Suspension. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-7286-835/loteprednol-etabonate-ophthalmic-eye/loteprednol-0-5-suspension-ophthalmic/details. Accessed March 8, 2018.

Loteprednol Ophthalmic. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a619025.html.
Accessed 10 October 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/08/2020

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการผิดปกติของดวงตา ที่อาจดูเหมือนเล็กน้อย..แต่ไม่ใช่เรื่องเล็ก

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจากการแพ้อาหาร เกิดขึ้นได้อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 24/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา