การใช้ประโยชน์ หัวหอม
หัวหอมใช้ทำอะไร
หัวหอม (Onion) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ใช้ทำเป็นยารักษาอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้
- รักษาปัญหาระบบการย่อยอาหาร อาการเบื่ออาหาร ท้องเสีย และโรคนิ่วในถุงน้ำดี
- รักษาโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เช่น อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด และภาวะความดันโลหิตสูง
- ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
- รักษาแผลบริเวณช่องปากและคอ โรคไอกรน หลอดลมอักเสบ หอบหืด ภาวะขาดน้ำ แก๊สในกระเพาะอาหาร พยาธิและโรคเบาหวาน
นอกจากนี้บางครั้งใช้เป็นยาขับปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะมากขึ้น นำมาทาบริเวณผิวหนังเพื่อรักษาแผลแมลงกัด หัวหอมอาจได้รับการกำหนดไว้สำหรับการใช้งานอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ
การทำงานของหัวหอมเป็นอย่างไร
ไม่มีข้อมูลทางการศึกษาเพียงพอเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมสมุนไพรนี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามมีรายงานการศึกษาค้นคว้าว่า หัวหอมมีประสิทธิภาพในการลดระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ลดความเสี่ยงของการแข็งตัวของเส้นเลือด
ข้อควรระวังและคำเตือน
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้หัวหอม
ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่:
- ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
- แพ้สารจากหัวหอมหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
- มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
- มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพรนั้น
หัวหอมมีความปลอดภัยแค่ไหน
ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานหัวหอมในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้หัวหอมมีอะไรบ้าง
ไม่มีรายงานผลข้างเคียงของหัวหอมหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณ
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับหัวหอมมีอะไรบ้าง
อาหารเสริมสมุนไพรชนิดนี้อาจทำปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยาหรืออาการทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับหมอรักษาสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกำลังใช้ยาที่มีปฏิกิริยากับตับ อาจสามารถเกิดผลข้างเคียงเพิ่มมากขึ้นได้
ผลิตภัณฑ์ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับหัวหอม:
- แอสไพริน (Aspirin)
ในผู้ที่มีอาการแพ้หัวหอม แอสไพรินอาจเพิ่มความไวต่อการแพ้หัวหอม แต่กรณีนี้มีรายงานเพียงแค่หนึ่งคนเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย หากมีอาการแพ้หัวหอมควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินควบคู่กับการรับประทานหัวหอม
- ลิเทียม (Lithium)
หัวหอมมีประสิทธิภาพคล้ายกับยาขับน้ำ หรือ “ยาขับปัสสาวะ” การรับประทานหัวหอมอาจทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดลิเทียมในร่างกายลดลงและระดับลิเทียมในร่างกายมากขึ้นจนอาจเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับหัวหอมในขณะที่ใช้ยาเกี่ยวกับลิเทียม
- ยารักษาโรคเบาหวาน (ยาต้านเบาหวาน)
หัวหอมมีประสิทธิภาพลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาต้านเบาหวานก็มีประสิทธิภาพในการลดระกับน้ำตาลในเลือดเช่นกัน เมื่อรับประทานควบคู่กันอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำจนเกินไป ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด และควรปรับเปลี่ยนปริมาณยาต้านเบาหวานให้เหมาะสม
- ยาชะลอการแข็งตัวของเลือด (ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือ ยาต้านเกล็ดเลือด)
หัวหอมมีประสิทธิภาพทำให้เลือดแข็งตัวช้า เมื่อรับประทานคู่กับยาชะลอการแข็งตัวของเลือด อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออกผิดปกติ
ขนาดการใช้
ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้
ปกติควรใช้หัวหอมในปริมาณเท่าใด
ปริมาณการใช้หัวหอม อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม
สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด
สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้
- แคปซูล
- สารสกัดบริสุทธิ์
- ยาน้ำ
- ผง
[embed-health-tool-bmi]