backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

แอสไพริน (Aspirin) ข้อบ่งใช้ ขนาดยา และผลข้างเคียง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

แอสไพริน (Aspirin) ข้อบ่งใช้ ขนาดยา และผลข้างเคียง

แอสไพริน (Aspirin) เป็นยาแก้ปวดชนิดหนึ่งที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดระดับเบาจนถึงปานกลาง เช่น อาการปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาการข้ออักเสบ อย่างไรก็ตาม ยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น ปวดท้อง ง่วงนอน แสบร้อนกลางอก รวมถึงยังอาจทำปฏิกิริยากับยาชนิดอื่น หรือเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีสภาวะโรคบางอย่างได้ ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนการใช้ยา

ข้อบ่งใช้ แอสไพริน

แอสไพริน ใช้สำหรับ

ยา แอสไพริน ถูกใช้เพื่อลดไข้ และบรรเทาความเจ็บปวดระดับเบาถึงปานกลางจากอาการต่างๆ อย่างเช่น เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดฟัน อาการไอทั่วไป และอาการปวดศีรษะ ตัวยาอาจใช้เพื่อลดอาการเจ็บและบวมในข้อ เช่น ข้ออักเสบ

ยาแอสไพรินจัดเป็นยาซาลิไซเลตและยาต้านอักเสบไร้สเตียรอยด์ (NSAID) ตัวยาจะขัดขวางการสร้างสารธรรมชาติบางอย่างภายในร่างกาย เพื่อลดอาการเจ็บและบวม ปรึกษากับหมอของคุณก่อนใช้ในการรักษาเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

วิธีใช้ยาแอสไพริน

  • หากคุณรับประทานยาตัวนี้ด้วยตัวเอง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำทั้งหมดบนฉลากยา หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับข้อมูลใดๆ ก็ตาม ควรปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ หากหมอสั่งให้คุณรับประทานยาตัวนี้ ควรรับประทานยาตัวนี้ให้ครบตามที่หมอได้จ่ายยาให้
  • รับประทานยาตัวนี้ตามด้วยน้ำเปล่าเต็มแก้ว (8 ออนซ์/240 มิลลิลิตร) นอกจากคุณหมอจะสั่งให้คุณทำแบบอื่น หลังจากรับประทานยาอย่าเพิ่งนอนลง รออย่างน้อย 10 นาที หากอาการท้องไส้ปั่นป่วนเกิดขึ้นขณะที่รับประทานยาตัวนี้ คุณอาจต้องรับประทานพร้อมกับอาหารหรือนม
  • กลืนยาเม็ดที่แตกตัวในลำไส้ (enteric-coated tablets) ทั้งเม็ด อย่าหักหรือเคี้ยวยาเม็ดแตกตัวในลำไส้ การทำเช่นนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะท้องไส้ปั่นป่วน
  • กลืนตัวยาทั้งเม็ด หรือแบ่งยาโดยไม่หักหรือเคี้ยว อย่ากัดหรือเคี้ยวยาแคปซูล หรือยาเม็ดออกฤทธิ์นาน การทำเช่นนั้น เป็นการปล่อยฤทธิ์ยาทั้งหมดออกมาในครั้งเดียว และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียง ดังนั้น อย่าแบ่งยาเม็ดออกฤทธิ์นาน นอกจากว่าจะมีกำหนดการแบ่ง โดยคุณหมอหรือเภสัชของคุณสั่งให้ทำแบบนั้น
  • ขนาดและระยะของการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ อ่านฉลากยาเพื่อดูคำแนะนำว่า คุณควรรับประทานยาเท่าไหร่ ในช่วงระยะ 24 ชั่วโมง และนานแค่ไหน
  • ไม่ควรรับประทานยาตัวนี้มากกว่า หรือนานเกินกว่าคำแนะนำ นอกจากเป็นคำสั่งจากคุณหมอ ใช้ขนาดยาน้อยที่สุดเท่าที่จะยังมีประสิทธิภาพอยู่ ปรึกษากับหมอหรือเภสัชกร หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ
  • หากคุณรับประทานยาตัวนี้สำหรับรักษาอาการปวดหัวด้วยตัวเอง และคุณมีอาการพูดไม่ชัด อ่อนแรงตรงข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย หรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน โปรดเข้ารับการรักษาในทันที ก่อนใช้ยาตัวนี้ ปรึกษากับหมอหรือเภสัชกร หากคุณมีอาการปวดหัวที่เกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ มีอาการไอ  หรือหากคุณมีอาการปวดหัวที่มาพร้อมกับอาการอาเจียน มีไข้ และคอตึงอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
  • หากคุณรับประทานยาตัวนี้ตามที่ต้องการ (ไม่ได้รับประทานตามกำหนดปกติ) จำไว้ว่า ยาแก้ปวดจะมีประสิทธิภาพที่สุด หากใช้ในขณะที่สัญญาณแรกของอาการเจ็บเกิดขึ้น หากคุณรอจนกระทั่งอาการปวดหนักขึ้น ยาอาจทำงานได้ไม่ดีพอ ยาแอสไพรินชนิดแตกตัวในลำไส้ (enteric coating) หรือชนิดออกฤทธิ์ช้า อาจใช้เวลามากขึ้นในการลดอาการปวด เนื่องจากตัวยาถูกดูดซึมได้ช้าลง ขอคำแนะนำจากหมอหรือเภสัชกรของคุณ ในการช่วยเลือกประเภทของยาแอสไพริน
  • คุณไม่ควรรับประทานยาตัวนี้ในการรักษาอาการปวดด้วยตัวเอง นานกว่า 10 วัน และไม่ควรใช้ยาตัวนี้ในการลดไข้ที่เป็นมานานกว่า 3 วัน ในกรณีเหล่านี้ ควรปรึกษากับหมอ เพราะคุณอาจมีอาการรุนแรงเพิ่มเติม บอกหมอของคุณทันที หากคุณได้ยินเสียงก้องในหูหรือมีปัญหาในการได้ยิน
  • หากอาการของคุณยังคงอยู่หรือทรุดลง (อย่างเช่น เกิดผลข้างเคียงหรือความผิดปกติ เช่น มีรอยแดง/รอยบวมตรงบริเวณที่ปวด อาการเจ็บปวด มีไข้) หากมีอาการขั้นรุนแรง แจ้งต่อหมอทันที

การเก็บรักษายาแอสไพริน

แอสไพริน ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้นเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง

ยาแอสไพรินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาแอสไพรินลงในชักโครก หรือทิ้งลงในท่อระบายน้ำเว้น เสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาแอสไพริน

ก่อนใช้ยาตัวนี้ บอกหมอของคุณ หาก:

  • คุณตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรรับประทานยาตัวนี้ตามคำแนะนำของหมอเท่านั้น หากคุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์
  • คุณกำลังรับประทานยาตัวอื่น รวมไปถึงยาใดๆ ก็ตามที่คุณกำลังรับประทาน ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่ง อย่างเช่น สมุนไพรหรืออาหารเสริม
  • คุณมีอาการแพ้ต่อส่วนผสมที่ออกฤทธิ์และไม่ออกฤทธิ์ของยาแอสไพรินหรือยาตัวอื่น
  • คุณมีอาการของโรค ความผิดปกติหรืออาการทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณกำลังรับประทานยาแอสไพรินตามกำหนดทั่วไป ในการป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเส้นหลอดในสมองแตก อย่ารับประทานยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เพื่อรักษาอาการเจ็บหรือลดไข้ โดยไม่ปรึกษาหมอของคุณ หมออาจบอกให้คุณทิ้งช่วงระยะเวลาในการรับประทานยาแอสไพรินประจำวัน ให้ห่างจากการรับประทานยาไอบูโพรเฟน
  • แจ้งหมอของคุณ หากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคหอบหืด น้ำมูกไหล หรือคัดจมูกบ่อยครั้ง หรือริดสีดวงจมูก หากคุณมีอาการเหล่านี้ มีความเสี่ยงที่คุณจะมีปฏิกิริยาแพ้ต่อยาแอสไพริน หมออาจให้คุณหยุดรับประทานยาแอสไพริน
  • แจ้งหมอของคุณ หากคุณมีอาการแสบร้อนกลางอก ท้องไส้ปั่นป่วน หรือเจ็บกระเพาะเกิดขึ้นบ่อยๆ และหากคุณมีหรือเคยมีแผลในกระเพาะ โรคโลหิตจาง ปัญหาการเลือดออก อย่างเช่นโรคเลือดไหลไม่หยุด โรคตับ หรือโรคไต
  • แจ้งหมอของคุณ หากคุณตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากคุณตั้งครรภ์ในช่วงเดือนท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ วางแผนว่าจะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ในขณะที่คุณรับประทานยาแอสไพริน ควรแจ้งกับหมอของคุณ เพราะยาแอสไพรินอาจมีอันตรายต่อเด็กในครรภ์ และก่อให้เกิดปัญหาในการคลอด หากรับประทานยาตัวนี้ในช่วงเดือนท้ายๆ ของการตั้งครรภ์
  • ก่อนการผ่าตัด แจ้งหมอหรือทันตแพทย์ให้ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่าง ๆ)
  • หากคุณดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 3 แก้วขึ้นไปทุกๆ วัน สอบถามหมอของคุณ ว่า คุณควรรับประทานยาแอสไพริน หรือยาประเภทอื่นสำหรับอาการปวดและมีไข้หรือไม่

ความปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยาริโทนาเวียร์ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาความเสี่ยงของการใช้ยา

ยาแอสไพรินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด N (pregnancy risk category N) โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดย FDA มีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ยาต้องห้าม
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาแอสไพริน

ผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงมากนักซึ่งอาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • อาการแสบร้อนกลางอก
  • ง่วงซึม
  • ปวดหัว

หยุดใช้ยาตัวนี้และโทรหาหมอของคุณทันที หากคุณมีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ เหล่านี้

  • อุจจาระเป็นเลือด มีสีดำหรือสีถ่าน
  • ไอเป็นเลือด หรืออาเจียนออกมาคล้ายกาแฟบด
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือเจ็บกระเพาะอย่างรุนแรง
  • มีไข้เกิดขึ้นนานกว่า 3 วัน
  • มีอาการบวมหรือเจ็บนานกว่า 10 วัน
  • ปัญหาในการได้ยิน มีเสียงก้องในหู

เข้ารับความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที หากคุณมีสัญญาณใดๆ ก็ตามของปฏิกิริยาแพ้ ผื่น ปัญหาในการหายใจ อาการบวมบนใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นและคอ

ไม่ใช่ทุกคนจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงบางอาการที่ไม่มีอยู่ด้านบน หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ

ปฏิกิริยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาแอสไพรินอาจทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาของยา คุณควรจดรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ (ทั้งยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่ไม่ใช้ใบสั่งแพทย์ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร) และให้หมอและเภสัชกรของคุณดู เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนปริมาณยาใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหมอ

สอบถามหมอของคุณก่อนใช้ยาแอสไพริน หากคุณรับประทานยาต้านซึมเศร้า อย่างเช่น ยาซิตาโลแพรม (citalopram) ยาเอสซิตาโลแพรม (escitalopram) ยาฟลูออกเซติน (fluoxetine) ยาฟลูวอคซามิน (fluvoxamine) ยาพารอคเซติน (paroxetine) ยาเซอทราลิน (sertraline) ยาทราโซดอน (trazodone) หรือยาวิลาโซดอน (vilazodone) การรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกับยากลุ่ม NSAID อาจทำให้คุณมีอาการช้ำหรือเลือดออกได้ง่ายขึ้น

ยาตัวอื่นที่อาจทำปฏิกิริยากับยาตัวนี้ ได้แก่

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด อย่างเช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ยาคูมาดิน (Coumadin) หรือยาตัวอื่น ที่ใช้ป้องกันการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด
  • ยาซาลิไซเลต (salicylates) ตัวอื่น อย่างเช่น ยาบรรเทาอาการปวดหลังชนิดแคปซูลนูพริน (Nuprin Backache Caplet) เคโอเปคเตท (Kaopectate) ยาบรรเทาอาการปวดเข่า ยาแพมพริน แครมป์ ฟอร์มูล่า (Pamprin Cramp Formula) ยาเปบโต-บิสมอล (Pepto-Bismol) ยาทริโคซอล (Tricosal) ยาทริลิเซต (Trilisate) และอื่นๆ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาแอสไพรินอาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกร ถึงปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ก่อนใช้ยาตัวนี้

ปฏิกิริยากับอาการโรค

ยาแอสไพรินอาจทำปฎิกิริยากับอาการโรคของคุณ อาจทำให้อาการโรคของคุณทรุดลง หรือเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกให้หมอและเภสัชกรรู้ถึงอาการโรคที่คุณกำลังเป็น

อาการโรคที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • โรคหอบหืดหรือภูมิแพ้ตามฤดูกาล
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคตับ
  • โรคไต
  • ภาวะเลือดออกหรือเลือดคั่งผิดปกติ
  • โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงหรือภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรคเกาต์
  • ริดสีดวงจมูก

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ควรปรึกษาหมอหรือเภสัชกรของคุณทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม ก่อนใช้ยาแอสไพริน

ขนาดยาแอสไพรินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด

  • รับประทานโดยการแบ่งขนาดยาจำนวน 3 กรัมต่อวัน (โรคข้อและข้อสันหลังอักเสบ อาจต้องเพิ่มการแบ่งขนาดยาขึ้นเป็น 4 กรัมต่อวัน)

ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคข้อเสื่อม

  • รับประทานโดยการแบ่งขนาดยาจำนวน 3 กรัมต่อวัน (โรคข้อและข้อสันหลังอักเสบ อาจต้องเพิ่มการแบ่งขนาดยาขึ้นเป็น 4 กรัมต่อวัน)
  • ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์

    • รับประทานโดยการแบ่งขนาดยาจำนวน 3 กรัมต่อวัน (โรคข้อและข้อสันหลังอักเสบ อาจต้องเพิ่มการแบ่งขนาดยาขึ้นเป็น 4 กรัมต่อวัน)

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus)

    • รับประทานโดยการแบ่งขนาดยาจำนวน 3 กรัมต่อวัน (โรคข้อและข้อสันหลังอักเสบ อาจต้องเพิ่มการแบ่งขนาดยาขึ้นเป็น 4 กรัมต่อวัน)

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้

    • รับประทานครั้งละ 325 ถึง 650 มิลลิกรัม หรือให้ยาทาทวารหนักทุก 4 ชั่วโมงตามที่ต้องการ โดยไม่ให้เกินกว่า 4 กรัม/วัน

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอาการเจ็บ

    • รับประทานครั้งละ 325 ถึง 650 มิลลิกรัม หรือให้ยาทางทวารหนักทุก 4 ชั่วโมงตามที่ต้องการ โดยไม่ให้เกินกว่า 4 กรัม/วัน

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดรูมาตอยด์

    • รับประทานครั้งละ 80 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ใน 4 ขนาดยาเท่าๆ กัน มากสุด 6.5 กรัม/วัน

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

    • รับประทานครั้งละ 160 ถึง 162.5 มิลลิกรัม วันละครั้ง เริ่มรับประทานทันทีเมื่อสันนิษฐานว่าอาจเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน และรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลา 30 วัน

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด

    • รับประทาน 50 ถึง 325 มิลลิกรัม วันละครั้ง ควรทำการรักษาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญีที่มีภาวะเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด

    • รับประทานครั้งละ 75 ถึง 325 มิลลิกรัม วันละครั้ง เริ่มรับประทานทันทีเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า มีอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่คงที่ และควรรับประทานยาต่อไปเรื่อยๆ

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ในการป้องกันภาวะเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด

    • รับประทาน 75 ถึง 325 มิลลิกรัม วันละครั้ง รับประทานต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ในการป้องกันโรคหลอดเลือดขาดเลือดจากเส้นเลือดสมองตีบ

    • รับประทานครั้งละ 75 ถึง 325 มิลลิกรัม วันละครั้ง รับประทานต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ในการป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

    • รับประทาน 75 ถึง 325 มิลลิกรัม วันละครั้ง รับประทานต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด

    • รับประทาน 75 ถึง 325 มิลลิกรัม วันละครั้ง รับประทานต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด

    ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ในการเปิดหลอดเลือดที่อุดตัน – การป้องกัน

    สำหรับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG)

    • รับประทานครั้งละ 325 มิลลิกรัม วันละครั้ง เริ่มรับประทาน 6 ชั่วโมง หลังการรักษา และรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี หรือต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เท่าที่ต้องการ

    สำหรับการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน (PTCA)

    • รับประทานครั้งละ 325 มิลลิกรัม หนึ่งครั้ง ก่อนการรักษา 2 ชั่วโมง จากนั้นรับประทานครั้งละ 160 ถึง 325 มิลลิกรัม วันละครั้ง ต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด

    สำหรับการผ่าตัดเอาตะกรันที่พอกในหลอดเลือดแดงคาโรติดออก (carotid endarterectomy)

  • รับประทานครั้งละ 80 มิลลิกรัม วันละครั้ง มากสุด 650 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน ก่อนเข้ารับการผ่าตัด และรับประทานต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด
  • ขนาดยาแอสไพรินสำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นไข้

    • วัย 2 ถึง 11 ปี: รับประทานครั้งละ 10 ถึง 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือให้ยาทางทวารหนัก ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็น ไม่ใช้ยาเกินกว่า 4 กรัม/วัน
    • วัยตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป: รับประทานครั้งละ 325 ถึง 650 มิลลิกรัมหรือให้ยาทางทวารหนัก ทุก 4 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็น ไม่ใช้ยาเกินกว่า 4 กรัม/วัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กที่มีอาการเจ็บ

    • วัย 2 ถึง 11 ปี: รับประทานครั้งละ 10 ถึง 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือให้ยาทางทวารหนัก ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็น ไม่ใช้ยาเกินกว่า 4 กรัม/วัน
    • วัยตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป: รับประทานครั้งละ 325 ถึง 650 มิลลิกรัมหรือให้ยาทางทวารหนักทุก 4 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็น ไม่ใช้ยาเกินกว่า 4 กรัม/วัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก

    • วัย 2 ถึง 11 ปี หรือมีน้ำหนักเท่ากับหรือน้อยกว่า 25 กิโลกรัม: ขนาดยาเริ่มต้น: รับประทาน 60 ถึง 90 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ในขนาดยาที่แบ่งเท่าๆ กัน
    • วัยตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป หรือมีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม: ขนาดยาเริ่มต้น: รับประทาน 2.4 ถึง 3.6 กรัม/วัน ในขนาดยาที่แบ่งเท่าๆ กัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นโรคคาวาซากิ

    • ขนาดยาเริ่มต้น (ช่วงไข้ฉับพลัน): รับประทาน 80 ถึง 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน หรือให้ยาทางทวารหนักใน 4 ขนาดยาเท่ากัน ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง เป็นเวลามากสุด 14 วัน (จนกว่าไข้จะหาย อย่างน้อย 48 ชั่วโมง)
    • ขนาดยาควบคุม (ช่วงหลังเป็นไข้): รับประทาน 3 ถึง 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือให้ยาทางทวารหนักวันละครั้ง ผู้ป่วยที่ไม่ได้มีความผิดปกติทางหลอดเลือดหัวใจ ควรรับประทานยาแอสไพรินระดับต่ำ เป็นเวลา 6 ถึง 8 สัปดาห์ หรือจนกว่าอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (ESR) และค่าเกล็ดเลือดจะเป็นปกติ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางหลอดเลือดหัวใจ ควรรับประทานยาแอสไพรินต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด

    ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นไข้หวัดรูมาตอยด์

    • 90 ถึง 130 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ในขนาดยาที่แบ่งเท่ากัน ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง มากสุด 6.5 มิลลิกรัม/วัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กที่ต้องใช้ลิ้นหัวใจเทียม

    • วัยต่ำกว่า 1 เดือน: เด็กแรกเกิดที่คลอดตามกำหนด: ผลของยาต้านเกล็ดเลือด: การรักษาโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดหลังการผ่าตัดหรือ โรคหลอดเลือดแดงในสมองอุดตันเกิดขึ้นซ้ำ: ยารับประทาน: ไม่มีการทำงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดอย่างเพียงพอ; ขนาดยาสำหรับเด็กแรกเกิดนั้นมาจากประสบการณ์ทางการแพทย์และไม่ได้มีการแสดงออกมาอย่างชัดเจน; ขนาดยาที่แนะนำ: 1 ถึง 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน วันละครั้ง ขนาดยาจะถูกวัดให้อยู่ในขนาดที่ใช้สะดวก (อย่างเช่น 1/4 ของยาเม็ด 81 มิลลิกรัม)
    • วัย 1 เดือนขึ้นไป: รับประทาน 6 ถึง 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละครั้ง

    รูปแบบของยา

    ยาแอสไพริน มีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้ ได้แก่

    • ยาเม็ดชนิดรับประทาน

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด แจ้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่นหรือไปยังห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา