backup og meta

ทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ โรคกรดไหลย้อน แบบกระชับ เข้าใจง่าย

ทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ โรคกรดไหลย้อน แบบกระชับ เข้าใจง่าย

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease – GERD) ถือเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่าง คนจำนวนมากต้องเผชิญกับโรคกรดไหลย้อน รวมถึงในหญิงตั้งครรภ์ ความจริงแล้ว โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะผิดปกติในทางเดินอาหารที่พบได้ทั่วไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแสบหน้าอกและจุกเสียด

รู้จักกับ โรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน เกิดจากน้ำย่อยจากในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาเข้าสู่หลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดความรู้สึกอึดอัด และอาจทำให้เยื่อเมือกของหลอดอาหารเกิดการบาดเจ็บ รวมทั้งกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างได้รับความเสียหาย เมื่อกล้ามเนื้อหูรูดไม่ได้ปิดอย่างที่ควรจะเป็น น้ำย่อยจึงไหลซึมย้อนกลับออกจากกระเพาะอาหารขึ้นสู่หลอดอาหาร

หากท่านใดมีอาการก็ควรไปพบคุณหมอ หรือเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีอาการอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาการจากกรดไหลย้อนส่งผล กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

โรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ และรักษาได้ด้วยยาสามัญประจำบ้านบางชนิด แต่ในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่แรงขึ้น รวมถึงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

สาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน คือ การที่น้ำย่อยหรือน้ำดีรั่วซึมเข้าสู่หลอดอาหาร

โดยทั่วไป อาหารและน้ำจะไหลลงเข้าสู่กระเพาะ เมื่อคนเรากลืนอาหาร กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร จะคลายตัวเพื่อปล่อยอาหารลงสู่กระเพาะ หลังจากนั้นมันจะปิดตัว

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวลิ้นปิดเปิดมีความผิดปกติหรือมีความอ่อนแอ ก็จะทำให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้ นี่คือภาวะที่มาของชื่อโรคกรดไหลย้อน เมื่อเกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นซ้ำๆ ก็อาจนำมาสู่อาการของโรคระบบทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน

ปัจจัยความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อน ประกอบด้วย

  • โรคอ้วน
  • โรคไส้เลื่อนกระบังลม
  • ตั้งครรภ์
  • สูบบุหรี่
  • ปากแห้ง
  • โรคหอบหืด
  • โรคเบาหวาน 
  • กระเพาะใช้เวลาย่อยอาหารนานกว่าปกติ
  • โรคระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue disorders) อย่างเช่น โรคผิวหนังแข็ง (scleroderma)

อาการของโรคกรดไหลย้อน

คุณอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้

  • รู้สึกแสบร้อนในหน้าอก บางครั้งก็ลามขึ้นมาที่คอ รวมทั้งรู้สึกถึงรสเปรี้ยวภายในปาก
  • เจ็บหน้าอก
  • กลืนอาหารลําบาก
  • ไอแห้งๆ
  • เจ็บคอหรือแสบคอ
  • อาหารหรือน้ำย่อย ตีกลับขึ้นมาจากกระเพาะ
  • รู้สึกว่ามีก้อนบางอย่างติดอยู่ในลำคอ

การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน

คุณหมอจะดูอาการขั้นพื้นฐานเพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ การตรวจบางวิธีดังต่อไปนี้ อาจต้องทำเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค

  • การตรวจวัดกรดในหลอดอาหาร (pH) คือวิธีการที่จะใช้อุปกรณ์ตรวจวัดกรดตลอด 24 ชั่วโมง
  • การตรวจส่องกล้อง คือการใช้ท่อขนาดเล็กที่มีความยืดหยุ่นสอดเข้าไปในหลอดอาหารและเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อกลับมาเพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม
  • การตรวจวัดความเคลื่อนไหวในหลอดอาหารบางชนิด สามารถช่วยตรวจวัดค่าความดันในหลอดอาหาร
  • การตรวจเอ็กซ์เรย์ระบบย่อยอาหารตอนบน สามารถทำได้ด้วยการใช้แป้งแบเรียมและน้ำผสมกัน เพื่อเคลือบระบบทางเดินอาหารภายใน ทำให้สามารถเอ็กซ์เรย์หลอดอาหารได้

การรักษาโรคกรดไหลย้อน

หลายท่านรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยการซื้อยามารับประทานเองที่บ้าน ได้แก่

  • ยาลดกรด (Antacids) คือกลุ่มยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็น กรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยา Maalox, ยา Mylanta, ยา Gaviscon, ยา Rolaids, และยา Tums ต่างก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว
  • ยา H-2-receptor blockers ยาในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยตัวยาสำคัญ คือ ไซเมทิดีน (Tagamet HB), ฟาโมทิดีน (Pepcid AC), นิซาติดีน (Axid AR) หรือ รานิทิดีน (Zantac) เป็นต้น
  • ยายับยั้งการหลั่งกรดและรักษาหลอดอาหาร เช่น แลนโซพราโซล (Prevacid 24 HR) และโอเมพราโซล (Prilosec, Zegerid OTC)

ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดถ้าอาการแย่ลงและการรับทานยาไม่ได้ผล

การจัดการกับโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนสามารถจัดการได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม โดยผู้ป่วยสามารถพิจารณาลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการของตนเอง

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น
  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้รู้สึกแสบร้อนหน้าอก เช่น ของทอด ซอสมะเขือเทศ ช็อคโกแลต อาหารรสเผ็ด และหัวหอม เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารในปริมาณมากๆ
  • หลีกเลี่ยงการนอนโดยทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Gastroesophageal reflux disease. http://www.webmd.com/heartburn-gerd/guide/reflux-disease-gerd-1. Accessed September 9, 2016

Gastroesophageal reflux disease. http://emedicine.medscape.com/article/176595-overview. Accessed September 9, 2016

Gastroesophageal reflux disease. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000265.htm. Accessed September 9, 2016

Difference between GERD and heartburn. http://theydiffer.com/difference-between-gerd-and-heartburn/. Accessed September 9, 2016

Gastroesophageal reflux disease. http://morethanheartburn.com/beyondheartburn/gerd-acid-reflux. Accessed September 9, 2016

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2021

เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหอบหืด กรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

อาหารสำหรับกรดไหลย้อน ควรกินอะไร เลี่ยงอะไร และบรรเทาอาการยังไงได้บ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 16/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา