สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอ ทำได้อย่างไร ต่างจากโรคกรดไหลย้อนธรรมดาหรือไม่

โรคกรดไหลย้อน ภาวะความผิดปกติ โดยเกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวกับการมีกรดในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมา ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก อึดอัด เจ็บคอ กลืนลำบาก และรู้สึกเหมือนมีรสเปรี้ยวหรือรสขมในปาก การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อนและ วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับโรคได้อย่างเหมาะสม  [embed-health-tool-bmi] ประเภทของโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารหย่อนตัวลง จนน้ำย่อยหรือกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ โดยปกติเมื่อกลืนอาหารแล้ว หูรูดจะคลายตัวเปิดทางให้อาหารไหลไปสู่กระเพาะอาหาร เมื่อผ่านลงไปแล้ว หูรูดจะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้ กล้ามเนื้อหูรูดจะหย่อนตัวลงไม่สามารถปิดกั้นกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ โดยโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โรคกรดไหลย้อนธรรมดา (CLASSIC GERD) ลักษณะของโรคกรดไหลย้อนธรรมดา กรดจะไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร  โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal Reflux: LPR) ลักษณะของโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง กรดจะไหลย้อนกลับ ขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ เกิดการระคายเคืองของกรดบริเวณคอและกล่องเสียง  ความแตกต่างของกรดไหลย้อนขึ้นคอและกรดไหลย้อนธรรมดา โรคกรดไหลย้อนธรรมดา ลักษณะกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหาร มักเกิดในตอนกลางคืน ช่วงเวลาพักผ่อนนอนหลับ แต่กรดไหลย้อนขึ้นคอ หรือโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง จะเกิดที่คอ สายเสียงสามารถเกิดได้จากกรดเพียงเล็กน้อย เกิดได้ในขณะเดิน นั่ง หรือยืน ในเวลากลางวัน ซึ่งกรดที่ขึ้นมาที่คอและสายเสียง จะมีปริมาณน้อย ไม่ได้อยู่ในหลอดอาหารนาน อาการของกรดไหลย้อนขึ้นคอ  อาการของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น  รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ อึดอัดแน่นคอ แสบร้อนกลางอก […]

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

'น้ำดื่มอัลคาไลน์' ตัวช่วยของคนเป็นกรดไหลย้อน

‘กรดไหลย้อน’ หนึ่งในโรคยอดฮิตของคนวัยทำงานที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคนี้รู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกหลังรับประทานอาหาร มีอาการเรอเปรี้ยว และมีอาการจุกเสียดคล้ายอาหารไม่ย่อย ซึ่งนอกจากการรับประทานยาและการปรับพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การเปลี่ยนเวลารับประทานอาหารเย็นให้เร็วขึ้นกว่าเดิม การนอนตะแคงซ้าย รวมถึงการหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูงแล้ว การดื่ม ‘น้ำดื่มอัลคาไลน์’ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง เนื่องจากปัจจุบันมีวิจัยพบว่าการดื่มน้ำอัลคาไลน์หรือที่คนไทยมักเรียกกันว่า ‘น้ำด่าง’ อาจช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกจากโรคกรดไหลย้อนได้  น้ำอัลคาไลน์ต่างจากน้ำดื่มทั่วไปอย่างไร ? โดยทั่วไปแล้วน้ำดื่มธรรมดาจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH อยู่ที่ 7 ซึ่งถือว่ามีฤทธิ์เป็นกลาง ในขณะที่น้ำดื่มอัลคาไลน์จะมีค่า pH อยู่ที่ประมาณ 8-9 ซึ่งจัดว่าอยู่ในช่วงของความเป็นด่าง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนไทยจึงเรียกน้ำอัลคาไลน์ว่า ‘น้ำด่าง’ นั่นเอง  นอกจากนี้ น้ำอัลคาไลน์ยังมีแร่ธาตุที่เป็นด่างเป็นส่วนประกอบอีกด้วย เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เป็นต้น รวมถึงยังมีค่า ORP (Oxidation Reduction Potential) เป็นลบ ซึ่งเป็นค่าวัดที่แสดงความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ของน้ำ โดยน้ำที่มีค่า ORP เป็นลบสูง น้ำนั้นก็จะยิ่งมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระสูง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมถึงมีเทรนด์การดื่มน้ำอัลคาไลน์หรือน้ำด่างเกิดขึ้น และถึงแม้ว่าประโยชน์ต่อสุขภาพของการดื่มน้ำอัลคาไลน์จะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้างในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนที่มากเพียงพอ อย่างไรก็ตาม มีวิจัยบางชิ้นที่พบว่าน้ำดื่มอัลคาไลน์หรือน้ำด่างนั้นอาจมีประโยชน์ต่อปัญหาสุขภาพบางชนิด เช่น โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น  น้ำอัลคาไลน์ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้จริงหรือ […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็นๆหายๆ มีเกิดจากสาเหตุจากอะไร

ปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็นๆหายๆ เป็นอาการป่วยของปัญหาสุขภาพ เช่น แก๊สในลำไส้ การแพ้อาหาร รวมถึงโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ทั้งนี้ หากพบอาการปวดท้องบิดในลักษณะที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่หายไปภายใน 6 ชั่วโมง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษา [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของอาการปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็นๆหายๆ ปวดท้องบิด ตรงกลาง แบบเป็น ๆ หาย ๆ เป็นอาการป่วยที่พบได้ทั่วไป โดยอาจมีสาเหตุจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ แก๊สในลำไส้ เกิดจากอาหารไม่ย่อย การมีลมหรืออากาศเข้าไปในร่างกายมากเกินไประหว่างรับประทานอาหาร รวมถึงการบริโภคอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สอย่าง ผัก ผลไม้ ถั่วต่าง ๆ หรือธัญพืชเต็มเมล็ด จนทำให้เกิดอาการปวดท้องเมื่อแก๊สไม่ถูกระบายออกจากระบบย่อยอาหาร อย่างไรก็ตาม แก๊สในลำไส้จะหายไปเองภายใน 2-3 ชั่วโมง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ การใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องอย่างหนัก รวมถึงการประสบอุบัติเหตุ อาจทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องบาดเจ็บ และมีอาการปวดท้องบิด ตรงกลาง แบบเป็น ๆ หาย ๆ ระหว่างทำกิจกรรมต่าง […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

เจ็บท้องข้างซ้าย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

เจ็บท้องข้างซ้าย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาหารไม่ย่อย ไส้เลื่อน งูสวัด หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากอาการรุนแรงขึ้น หรือเกิดร่วมกับอาการอื่น เช่น เลือดออกปนมากับปัสสาวะหรืออุจจาระ ควรไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] เจ็บท้องข้างซ้าย มีสาเหตุจากอะไร เจ็บท้องข้างซ้าย เป็นอาการป่วยที่พบได้ทั่วไปและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ ถุงผนังลำไส้อักเสบ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเจ็บท้องข้างซ้าย โดยเกิดจากการฉีกขาดหรือติดเชื้อของถุงผนังลำไส้ โดยจะมีอาการเจ็บท้องเป็นเวลาหลายวัน ร่วมกับมีไข้ ท้องผูก และคลื่นไส้ ทั้งนี้ ถุงผนังลำไส้อักเสบในระดับไม่รุนแรงอาจหายเองได้หากพักผ่อนและรับประทานยาปฏิชีวนะ อาหารไม่ย่อย มักเกิดขึ้นหลังมื้ออาหาร และจะหายไปเองภายใน 2-3 ชั่วโมง มักเกิดบริเวณหน้าท้องส่วนบน ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ท้องอืด มีลมในท้อง เสียดท้อง ไส้เลื่อน หมายถึง การที่อวัยวะในช่องท้อง เช่น ลำไส้ ยื่นออกนอกช่องท้อง ทำให้มีก้อนบวมบริเวณหน้าท้องหรือขาหนีบ รวมถึงรู้สึกเจ็บรุนแรงในบริเวณดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ งูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอีสุกอีใส เมื่อเป็นโรคงูสวัด จะพบผื่นและตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกาย และในบางรายอาจมีอาการ เจ็บท้องข้างซ้ายร่วมด้วย […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ปวดท้องบิด เกิดจากอะไร และวิธีดูแลตัวเอง

ปวดท้องบิด เป็นความรู้สึกเจ็บปวดเหมือนท้องถูกมัดเป็นปมในบริเวณใดก็ได้ โดยอาจอยู่ระหว่างด้านล่างของซี่โครงและกระดูกเชิงกราน ซึ่งอาการปวดท้องบิดอาจหายไปเองหรืออาจปวดรุนแรงมาก อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดท้องบิดเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและทำการรักษา [embed-health-tool-bmi] ปวดท้องบิด เกิดจากอะไร ปวดท้องบิด เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ในหลายตำแหน่ง เช่น ท้องส่วนบน ท้องส่วนบนขวา บริเวณใกล้สะดือ ท้องล่างขวา โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แก๊สในกระเพาะมากเกินไป เป็นตะคริวที่ท้องเนื่องจากกระเพาะและลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส รวมถึงยังอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบย่อยอาหารและลำไส้ที่ไม่รุนแรง เช่น ท้องผูก ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย ไข้หวัดลงกระเพาะ ลำไส้แปรปรวน แพ้อาหาร แพ้แลคโตส อาหารเป็นพิษ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งอวัยวะอื่น ๆ ไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ลำไส้อุดตัน โรคลำไส้อักเสบ กรดไหลย้อน ลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ อาการปวดท้องบิดที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ปวดประจำเดือน โรคหัวใจและหลอดเลือด ปอดอักเสบ การตั้งครรภ์ ถุงน้ำรังไข่แตก โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

โรคกระเพาะ สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

โรคกระเพาะ เป็นการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด การรับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ รักษาได้ด้วยการรับประทานยา ควบคู่กับการดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคกระเพาะ คืออะไร โรคกระเพาะหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) เป็นการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร มีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยอัตราของผู้ป่วยโรคกระเพาะแบบเฉียบพลันมักพบประมาณ 8 คนจาก 1,000 คน ในขณะที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะแบบเรื้อรังพบ 2 คนจาก 10,000 คน อาการ อาการของ โรคกระเพาะ อาการที่พบได้เมื่อเป็นโรคกระเพาะ ได้แก่ ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากอาหาร เรอหรือผายลมบ่อยกว่าปกติ นอกจากนี้ หากปล่อยโรคกระเพาะไว้โดยไม่รักษา อาจเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร มีภาวะโลหิตจาง เนื่องจากการเสียเลือดเมื่อเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สาเหตุ สาเหตุของ โรคกระเพาะ โรคกระเพาะมีสาเหตุมาจากการที่เยื่อบุกระเพาะอาหารมีความต้านทานต่อกรดในกระเพาะอาหารลดลงหรือได้รับความเสียหาย เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) การรับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือนาพรอกเซน […]


โรคริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงอาการ เป็นอย่างไร และวิธีการดูแลตัวเอง เมื่อเป็น

ริดสีดวง เป็นอาการบวมหรือนูนของหลอดเลือดบริเวณทวารหนักหรือลำไส้ตรง เมื่อเป็น ริดสีดวงอาการ ที่พบ ได้แก่ เกิดก้อนบวมบริเวณทวารหนัก ซึ่งทำให้รู้สึกเจ็บ คัน หรือไม่สบายตัว มักมีเลือดออกบริเวณที่เป็นริดสีดวงหรือมีเลือดปนในอุจจาระ ทั้งนี้ ริดสีดวงอาจป้องกันได้ด้วยการไม่เบ่งอุจจาระ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดื่มน้ำกับบริโภคใยอาหารให้เพียงพอ [embed-health-tool-bmr] ริดสีดวง เกิดจากอะไร ริดสีดวง เป็นลักษณะของหลอดเลือดบริเวณทวารหนักหรือลำไส้ตรงที่บวมหรือนูนขึ้นมา เนื่องจากแรงดันที่ลำไส้ตรงซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การนั่งอุจจาระเป็นเวลานาน เพราะท้องร่วงหรือท้องผูก การเบ่งอุจจาระ การตั้งครรภ์ การเป็นโรคอ้วน การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก การยกของหนัก ทั้งนี้ ร้อยละ 50 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มักเคยเป็นริดสีดวง โดยริดสีดวงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ ริดสีดวงภายใน เป็นการบวมของหลอดเลือดในลำไส้ตรง ไม่สามารถสังเกตเห็นอาการได้ด้วยตาเปล่า แต่จะรู้สึกได้เมื่อถ่ายอุจจาระ ริดสีดวงภายนอก เป็นการบวมของเส้นหลอดเลือดใต้ผิวหนังรอบ ๆ ทวารหนัก ทำให้สังเกตเห็นอาการได้ด้วยตาเปล่า ในบางกรณี ริดสีดวงภายนอกอาจมีลิ่มเลือดสะสม ส่งผลให้เห็นเป็นก้อนย้อยออกมา ริดสีดวงอาการ เป็นอย่างไร ริดสีดวงภายในและริดสีดวงภายนอก มีอาการดังต่อไปนี้ ริดสีดวงภายใน พบเลือดออกในอุจจาระ หรือบนกระดาษชำระที่ใช้ทำความสะอาดทวารหนัก พบก้อนเนื้อสีชมพูยื่นออกมาจากรูทวารเมื่ออุจจาระ โดยอาจหดกลับเข้าไปในร่างกายเองได้ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

อาหารเป็นพิษ อาการ และการดูแลตัวเองเบื้องต้น

อาหารเป็นพิษ เกิดจากการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารเคมี เมื่อเกิดภาวะ อาหารเป็นพิษ อาการ ที่อาจพบ ได้แก่ ท้องร่วง ปวดท้อง ไข้ขึ้น และอ่อนเพลีย อย่างไรก็ตาม อาหารเป็นพิษอาจป้องกันได้ด้วยการล้างมือก่อนบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม บริโภคอาหารปรุงสุกหรืออุ่นร้อนทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงการวางอาหารทิ้งไว้เป็นเวลานาน [embed-health-tool-bmi] อาหารเป็นพิษคืออะไร อาหารเป็นพิษเป็นอาการป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนสารเคมี สารพิษ หรือเชื้อโรคต่าง ๆ อย่างเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา โดยการปนเปื้อนอาจเกิดขึ้นในกระบวนการเพาะปลูก การแปรรูป การผลิตอาหาร หรือแม้แต่การประกอบอาหาร หากผู้ประกอบอาหารไม่ล้างมือ ใช้ภาชนะที่ล้างไม่สะอาด หรือประกอบอาหารแบบผิดสุขลักษณะ ปกติแล้ว อาหารที่มักปนเปื้อนสารเคมีหรือเชื้อโรคได้ง่าย ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม และน้ำดื่ม อาหารเป็นพิษ อาการ เป็นอย่างไร อาหารเป็นพิษ มีอาการดังต่อไปนี้ ปวดท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยร่างกาย มีไข้ หนาวสั่น เมื่อเป็นแล้ว อาการอาหารเป็นพิษมักทุเลาลงภายใน 4-48 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม อาหารเป็นพิษเนื่องจากเชื้อไซโคลสโปรา (Cyclospora) หรือเชื้อลิสทีเรีย (Listeria) จะแสดงอาการนานกว่านั้น หรือประมาณ 1-2 […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ปวดท้องตรงกลาง เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง มีวิธีรักษาอย่างไร

ปวดท้องตรงกลาง มักเป็นอาการของโรคต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับสุขภาพท้องหรือลำไส้ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคตับอ่อนอักเสบ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น จุก เสียด วิงเวียน คลื่นไส้ นอกจากนี้ ปวดท้องตรงกลางยังเป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยท้องผูก หรือผู้ที่ถ่ายอุจจาระน้อยครั้งต่อสัปดาห์ รวมทั้งอาจเป็นอาการของโรคที่เกี่ยวกับมดลูกหรือรังไข่ได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] ปวดท้องตรงกลาง เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ปวดท้องตรงกลาง เป็นอาการที่มักพบเมื่อมีอาการป่วยเกี่ยวกับช่องท้องหรือลำไส้ ดังนี้ ท้องผูก ท้องผูก เป็นภาวะที่ถ่ายอุจจาระไม่บ่อย หรือน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยระหว่างถ่ายอุจจาระต้องใช้แรงเบ่งมาก และใช้เวลานาน บางกรณีอาจต้องใช้มือช่วยกำจัดอุจจาระที่แข็งตัวให้หลุดจากทวารหนักขณะขับถ่าย ปกติแล้ว ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการอุดตันในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก เคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไป การตั้งครรภ์ รวมทั้งมีสุขอนามัยที่ไม่ดี เช่น การดื่มน้ำน้อยเกินไป การบริโภคใยอาหารน้อยเกินไป การวินิจฉัย เมื่อไปพบคุณหมอ นอกจากการตรวจร่างกายแล้ว คุณหมออาจวินิจฉัยอาการท้องผูกด้วยการเอกซเรย์บริเวณช่องท้องหรือทวารหนัก หรือส่องกล้องตรวจภายในร่างกาย เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการท้องผูก นอกจากนั้น คุณหมออาจเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ หากสันนิษฐานว่าอาการท้องผูกมีสาเหตุมาจากภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) การรักษา การปรับพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การดื่มน้ำมาก ๆ การบริโภคใยอาหารให้มากขึ้น เช่น ผัก […]


โรคกรดไหลย้อน

อาการกรดไหลย้อน วิธีรักษา และวิธีป้องกัน

กรดไหลย้อน เกิดจากหูรูดที่ส่วนปลายของหลอดอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ส่งผลให้มีอาการ เช่น แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว กลืนลำบาก จนบางครั้งอาการอาจรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ อาการกรดไหลย้อน อาจบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือการใช้ยา อย่างไรก็ตาม หากอาการรุนแรงขึ้น แม้จะลองรักษาด้วยยาหรือปรับพฤติกรรมแล้ว ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด  กรดไหลย้อน คืออะไร  กรดไหลย้อน คือ ภาวะที่น้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณกลางอก ภาวะนี้พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร และอาการมักจะหายไปได้เองในเวลาไม่นาน แต่หากเกิดภาวะกรดไหลย้อนบ่อยครั้งหรือเรื้อรัง หรือมีกรดไหลย้อนมากกว่าปกติ จะถือว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งอาจต้องเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยเร็วที่สุด กรดไหลย้อนสามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุ ถึงแม้จะหายแล้ว แต่ก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากยังมีพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกรดไหลย้อนเช่นเดิม  อาการกรดไหลย้อน ที่พบได้บ่อย อาการกรดไหลย้อน อาจมีดังนี้  กลืนอาหารลำบาก มีรสเปรี้ยวหรือรสขมในปากและลำคอ เรอเปรี้ยว มีน้ำลายมากผิดปกติ ไอแห้ง เสียงแหบ เจ็บคอเรื้อรัง  แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก มักเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก จุก คล้ายมีก้อนติดอยู่ในลำคอ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย หากมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาหารเป็นพิษ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

อาหารเป็นพิษ เป็นภาวะที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อปรสิต โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแบบดิบ ๆ หรือไม่ได้ปรุงสุก จนอาจส่งผลให้ติดเชื้อ และมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ภาวะอาหารเป็นพิษโดยทั่วไปมักมีอาการไม่รุนแรงมาก และหายได้ภายใน 2-3 วัน ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้  อาการของอาหารเป็นพิษ  ภาวะอาหารเป็นพิษ อาจมีอาการดังนี้  ปวดท้อง  ท้องเสีย  คลื่นไส้ อาเจียน  ปวดเมื่อยร่างกาย  มีไข้ หนาวสั่น  ปัสสาวะน้อย มีภาวะขาดน้ำ สังเกตได้จากอาการกระหายน้ำ  ริมฝีปากแห้ง อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เป็นต้น ส่วนใหญ่ อาการมักจะหายภายใน 2-3 วัน แต่หากมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป อาเจียนบ่อย ท้องเสียเกิน 3 วัน ถ่ายเป็นเลือด ตาพร่ามัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีอาการรุนแรง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที อาหารเป็นพิษ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม