backup og meta

กลิ่นตัว เกิดจากการกินอาหารชนิดใดบ้าง

กลิ่นตัว เกิดจากการกินอาหารชนิดใดบ้าง

อาหารบางอย่างนอกจากจะทำให้เกิดกลิ่นปากแล้ว ถ้ากินเข้าไปในปริมาณมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิด กลิ่นตัว ได้ โดยกลิ่นที่เกิดขึ้นเกิดจากการกินสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds หรือ VOCs) เข้าไป ซึ่งส่งผลทำให้เหงื่อมีกลิ่นฉุน รวมถึงยังอาจทำให้เกิดแก๊สที่มีกลิ่นเหม็นในกระเพาะอาหารได้ด้วย ดังนั้น การรู้ว่าอาหารชนิดใดที่ทำให้เกิดปัญหากลิ่นตัว อาจช่วยให้หลีกเลี่ยงการกินอาหารเหล่า รวมถึงอาจช่วยลดปัญหากลิ่นตัวได้ด้วย

[embed-health-tool-bmi]

อาหารที่อาจทำให้เกิด กลิ่นตัว

ปัญหากลิ่นตัวอาจเกิดจากอาหารต่าง ๆ เหล่านี้

  1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นวิสกี้ เบียร์ หรือไวน์ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว เนื่องจากเมื่อร่างกายดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าไป แอลกอฮอล์จะเกิดการเผาผลาญจนกลายเป็นสารละลายในน้ำที่เรียกว่า กรดแอซีติก (Acetic Acid) และเข้าไปผสมกับเหงื่อและเชื้อแบคทีเรีย จึงทำให้เกิดเป็นกลิ่นตัว

  1. ผักตระกูลกะหล่ำ

ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี คะน้า บร็อคโคลี่ อาจทำให้เกิดกลิ่นตัว ได้ เพราะผักพวกนี้มีกำมะถัน ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นไข่เน่า เมื่อกินผักเหล่านี้เข้าไปก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มกำมะถันให้กับร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายผลิตสารประกอบที่มีกำมะถันออกมามากขึ้น ซึ่งจะทำให้กลิ่นตัวมีกลิ่นคล้ายกับกลิ่นไข่เน่า

นอกจากนี้ ผักตระกูลกะหล่ำยังอาจทำให้เกิดกลิ่นคาวปลาในคนที่เป็นโรคกลิ่นตัวเหม็น (Trimethylaminuria)  ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้ร่างกายไม่สามารถทำลายสารประกอบที่มีกลิ่นเหม็นในผักตระกูลกะหล่ำ รวมถึงอาหารบางชนิด เช่น ถั่ว ไข่ นม เมื่อร่างกายมีสารประกอบชนิดนี้ในปริมาณมากก็จะขับออกมาทางต่อมเหงื่อ ส่งผลให้เกิดกลิ่นตัวมีกลิ่นคล้ายกับกลิ่นคาวปลา

  1. เนื้อแดง

เนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ก็มีกำมะถันที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวได้เช่นกัน โดยเฉพาะเนื้อที่ผ่านการแปรรูปอย่างแฮม เบคอน รวมถึงอาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร หรืออุจจาระที่มีกลิ่นเหมือนไข่เน่า นอกจากนี้ จากงานศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน The Journal Chemical Senses ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคเนื้อแดงอาจส่งผลต่อกลิ่นเหงื่อ โดยให้ผู้ชาย 17 คน ที่กินเนื้อและไม่กินเนื้อเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วเก็บตัวอย่างเหงื่อใต้วงแขนไปตรวจสอบ พบว่า เหงื่อของผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติจะมีกลิ่นฉุนน้อยกว่าผู้ที่กินเนื้อ นอกจากนี้ กรดไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์อาจเข้าไปอยู่ในต่อมเหงื่อ จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวขึ้นมาได้

  1. อาหารรสจัด

อาหารรสจัดที่มีกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม หัวหอม กุยช่าย อาจทำให้เหงื่อมีกลิ่นเหม็นเหมือนกลิ่นกระเทียม เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายอยู่ในปริมาณสูงเช่นเดียวกับผักตระกูลกะหล่ำ และมีกำมะถันผสมอยู่ด้วย เวลาที่กินอาหารรสจัดหรือมีกลิ่นฉุนเหล่านี้เข้าไป นอกจากจะทำให้มีกลิ่นปากแล้ว ยังอาจทำให้เหงื่อมีกลิ่นฉุน ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นตัว

  1. หน่อไม้ฝรั่ง

หน่อไม้ฝรั่ง หรือ แอสพารากัส มีสารประกอบชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เมทิลเมอร์แคปแทน (Methyl Mercaptan) ซึ่งมีคุณสมบัติละลายในน้ำได้ง่าย เมื่อกินผักชนิดเข้าไป สารประกอบชนิดนี้จึงผ่านเข้าสู่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทันที ทำให้เมื่อปัสสาวะมีกลิ่นคล้ายหน่อไม้ฝรั่ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

5 ways your diet can cause bad body odor. https://www.allure.com/story/diet-body-odor-causes. Accessed on June 4, 2018

Preventing Body Odor. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/preventing-body-odor#1. Accessed on June 4, 2018

Allen, C., et al. (2015). Effect of fragrance use on discrimination of individual body odor.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4528100/. Accessed August 19, 2022

Hajjar, W, M., et al. (2019). The quality of life and satisfaction rate of patients with upper limb hyperhidrosis before and after bilateral endoscopic thoracic sympathectomy.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6329233/. Accessed August 19, 2022

Hodge, B., et al. (2020). Anatomy, skin sweat glands.
https://www.statpearls.com/ArticleLibrary/viewarticle/36636. Accessed August 19, 2022

Klotz, K., et al. (2017). The health effects of aluminum exposure.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5651828/. Accessed August 19, 2022

Lam, T. H., et al. (2018). Understanding the microbial basis of body odor in pre-pubescent children and teenagers.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6267001/. Accessed August 19, 2022

Mogilnicka, I., et al. (2020). Microbiota and malodor—Etiology and management.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7215946/. Accessed August 19, 2022

OnabotulinumtoxinA injections (Botox). (n.d.).
https://www.sweathelp.org/hyperhidrosis-treatments/botox.html. Accessed August 19, 2022

Troccaz, M., et al. (2015). Mapping axillary microbiota responsible for body odours using a culture-independent approach.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4316401/. Accessed August 19, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/01/2023

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘คาร์โนซีน’ สุดยอดสารอาหารบำรุงสมอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา