backup og meta

มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ เมื่อเป็นมะเร็งเต้านม ยังสามารถมีลูกได้อยู่หรือเปล่า ?

มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ เมื่อเป็นมะเร็งเต้านม ยังสามารถมีลูกได้อยู่หรือเปล่า ?

ปัจจุบันมีผู้หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ เป็น โรคมะเร็งเต้านม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดคำถามสำคัญเรื่อง มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ ว่า เมื่อเป็น โรคมะเร็งเต้านม จะส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์หรือไม่ อย่างไรก็ตามยังไม่มีคำตอบที่น่าพึงพอใจสำหรับคำถามดังกล่าวว่า โรคมะเร็งเต้านม สามารถส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์ของผู้หญิงได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจนี้ ที่จะช่วยชี้เเจงบางประเด็นที่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับการเป็น โรคมะเร็งเต้านม และการตั้งครรภ์  สำหรับผู้ที่รักษา โรคมะเร็งเต้านม จนอาการดีขึ้นแล้วและต้องการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อช่วยขอคำแนะนำสำหรับการวางแผนมีบุตรต่อไป

มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้บ้าง

ประเภทของการรักษา

การรักษา โรคมะเร็งเต้านม นั้นมีหลากหลายรูปแบบ วิธีการรักษาเหล่านี้ จะถูกวินิจฉัยโดยแพทย์ ว่าควรทำการรักษารูปแบบใด เพื่อให้เหมาะสมกับโรคและอาการของผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านม ไม่ใช่การรักษา โรคมะเร็งเต้านม ทุกประเภท ที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเเละฉายรังสีจะยังคงมีบุตรได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด อาจเกิดความเสี่ยง ที่จะทำให้ภาวะรังไข่ล้มเหลว เเละเสี่ยงสูงมากที่จะเข้าสู่สู่วัยหมดประจำเดือนเร็วขึ้น

ประเภทเเละระยะของมะเร็ง

ประเภทและระยะของมะเร็งจะรุนเเรงขนาดไหนขึ้นอยู่กับการตรวจพบ เช่นเดียวกับประเภทของมะเร็ง ประเภทเเละความรุนเเรงจะชี้ชัดว่าจำเป็นต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือไม่ จึงส่งผลต่อความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่มีต่อรังไข่ด้วย นอกจากนี้ประเภทของเนื้องอก ยังส่งผลต่อโอกาสที่จะตั้งครรภ์ของผู้หญิง มีมะเร็งเต้านมเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ไวต่อฮอร์โมน หมายความว่าไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ฮอร์โมน เเละต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเเทน

อายุของผู้ป่วย

อายุของผู้ป่วยเป็นตัวชี้วัดภาวะเจริญพันธุ์ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี มีเเนวโน้มที่จะมีบุตรยากขึ้น เเละการใช้ยาเคมีบำบัดจะกระตุ้นการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน สำหรับผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี

การรักษาภาวะเจริญพันธุ์

ภาวะเจริญพันธุ์ ในที่นี้หมายถึง ความสามารถในการตั้งครรภ์ของผู้หญิง ซึ่งเเม้ว่าความเสี่ยงต่อภาวะเจริญพันธุ์จะขึ้นอยู่กับ การรักษามะเร็งเต้านม โดยเฉพาะการใช้ยาเคมีบำบัดก็ตาม แต่การรักษาภาวะเจริญพันธุ์ที่ดี ก่อนการรักษามะเร็ง มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีบุตรได้ง่ายขึ้น สำหรับวิธีการรักษาภาวะเจริญพันธุ์ที่น่าจะได้ผลที่สุด คือ การเเช่เเข็งไข่ด้วยการปฏิสนธิเทียม อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีข้อเสีย คือ อสุจิต้องพร้อมที่จะปฏิสนธิกับไข่ และเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก

อาการกำเริบเเละอันตรายต่อบุตรในครรภ์

อาการกำเริบ เป็นอาการที่โรคมะเร็งกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเรื่องที่ผู้ป่วย ที่หายป่วยจากโรคมะเร็งหลายรายให้ความสนใจในเรื่องนี้ สำหรับผู้ป่วยที่หายแล้วต้องการมีลูก เเนะนำว่าควรรออย่างน้อย 2 ปีก่อนจะตั้งครรภ์ เนื่องจากอาการกำเริบที่รุนเเรงที่สุดมักเกิดขึ้นภายใน 2 ปีหลังจากการรักษา

สำหรับผู้ที่หายป่วยจากโรคมะเร็ง อาจกังวลว่าบุตรของพวกเขาอาจจะเสี่ยงเป็นมะเร็งหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีความเสี่ยงต่ำมาก เนื่องจากผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านม เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับพันธุกรรมจากบิดาหรือมารดา

แต่อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตว่าการมีปฏิกิริยาระหว่างยีน รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งเเวดล้อมอื่น ๆ ที่มีผลต่อ โรคมะเร็งเต้านม หรือไม่ หากมีผู้ป่วยต้องเเจ้งปัญหาให้เเพทย์ทราบ เพราะมีความสำคัญมาก โดยปกติเเล้วนักวิทยาด้านเนื้องอก (oncologist) จะได้รับการฝึกให้เตรียมเเผนการรักษามะเร็งที่ดีที่สุด ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องมีเเผนของตนอย่างชัดเจนก่อนจะปรึกษาเเพทย์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Breast Cancer Affects Fertility. https://www.webmd.com/breast-cancer/features/how-breast-cancer-affects-fertility#1. Accessed June 1, 2016.

How Cancer Treatments Can Affect Fertility in Women. https://www.cancer.org/treatment/treatments-and-side-effects/physical-side-effects/fertility-and-sexual-side-effects/fertility-and-women-with-cancer/how-cancer-treatments-affect-fertility.html. Accessed June 1, 2016.

Fertility and Pregnancy Issues During and After Breast Cancer. https://www.breastcancer.org/tips/fert_preg_adopt. Accessed June 1, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/04/2021

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ชลธิชา จันทร์วิบูลย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

10 วิธี ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้เอาไว้

ยารักษาความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้จริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 19/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา