มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงทั่วโลก จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า 13,000 คนต่อปี จึงนับได้ว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญและควรให้ความใส่ใจ เพื่อดูรับมือกับโรคได้อย่างถูกต้อง เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมกับทางเลือกรักษาที่ไม่ต้องตัดเต้า

การมีเต้านมถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นผู้หญิง สร้างความมั่นใจและความสวยงามให้กับสรีระของผู้หญิง แต่เต้านมก็สร้างปัญหาให้กับผู้หญิงได้เช่นกัน นั่นคือการเกิดโรคมะเร็งเต้านมนั่นเอง ซึ่งความเสี่ยงในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย ถึง 100 เท่า มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงเป็นอันดับต้น ๆ มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของการแบ่งตัวของเซลล์ภายในเต้านม โดยเซลล์ที่ผิดปกตินั้นจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นก้อนขึ้นมาบริเวณเต้านม หากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งนี้อาจแพร่กระจายไปยังบริเวณข้างเคียงอย่างต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรืออวัยวะอื่นได้ทั่วร่างกาย เช่น ปอด กระดูก หรือตับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกเจ็บ หรือไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ ทำให้กว่าจะมาพบแพทย์ อาจเป็นระยะที่ก้อนใหญ่จนสามารถคลำเจอได้ง่าย หรือเต้านมมีลักษณะที่ผิดปกติไปแล้ว มะเร็งเต้านม หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหายขาดจากโรค คือ ไม่มีก้อนหรือเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ในร่างกาย และป้องกันไม่ให้ก้อนมะเร็งนั้นลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการกำจัดก้อนหรือเซลล์มะเร็งให้หมดไป จำเป็นจะต้องผ่าตัดเต้านมออกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษามะเร็งเต้านมอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ขนาดของก้อนมะเร็ง ชนิดของมะเร็ง อาการของผู้ป่วย ปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา ข้อมูลที่มีการตีพิมพ์แสดงให้เห็นว่า การวางแผนการรักษาด้วยยาควบคู่กับการผ่าตัด โดยอาจให้ยาก่อน และ/หรือ หลังการผ่าตัดนั้น จะช่วยให้เพิ่มโอกาสในการเก็บเต้านมได้ถึงประมาณ 60% ดังนั้นการรักษามะเร็งเต้านมจึงไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกเสมอไป การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast conservation […]

สำรวจ มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

สัญญาณมะเร็งเต้านม ในช่วงเริ่มต้น ที่ควรต้องระวัง

โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่มักจะไม่แสดงอาการออกมาในช่วงระยะแรก ๆ จำเป็นที่จะต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเต้านม ซึ่งการเปลี่ยนแปลง สัญญาณและอาการเตือนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเต้านม อาจบ่งบอกถึงการเป็น โรคมะเร็งเต้านม ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ สัญญาณมะเร็งเต้านม มาให้อ่านกันค่ะ สัญญาณมะเร็งเต้านม ที่ควรระวัง สิ่งแรกที่ควรตรวจสอบถึง สัญญาณมะเร็งเต้านม คือ ก้อนที่เต้านม ก้อนที่เต้านมถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นของ โรคมะเร็งเต้านม ก้อนมะเร็งมักมีรูปร่างผิดปกติ แข็ง และเคลื่อนที่ไม่ได้ ที่สำคัญมักจะไม่รู้สึกเจ็บปวด ส่วนใหญ่แล้วก้อนมะเร็งมักจะพบได้ที่บริเวณท้องแขน เนื่องจากเซลล์มะเร็งมักจะแพร่กระจายไปยังนอกเต้านม และอาจส่งผลต่อต่อมน้ำเหลืองได้ แพทย์จึงพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงของต่อมน้ำเหลืองเป็นสัญญาณเริ่มต้นของมะเร็งเต้านม แต่อย่างไรก็ตามมีเพียงแพทย์เท่านั้นที่จะบ่งบอกได้ว่า ก้อนที่คลำเจอบริเวณเต้านมเป็น โรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างของเต้านม อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของ โรคมะเร็งเต้านม หากเราทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ก็จะช่วยให้เข้ารับการรักษา โรคมะเร็งเต้านม ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสัญญาณและอาการเตือนของ โรคมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรกเหล่านี้ อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งเต้านม ได้ การเปลี่ยนแปลงบริเวณหัวนมและบริเวณรอบ ๆ  บางครั้งการเปลี่ยนแปลงของหัวนมอาจเกิดจากความผิดปกติที่ส่งผ่านทางพันธุกรรมหรือการเปลี่ยนแปลง แต่ความผิดปกติของหัวนม เช่น มีของเหลวไหลออกมาจากหัวนม มีการดึงรั้งกลับของหัวนม (Nipple Retraction) ถือเป็นสัญญาณของ โรคมะเร็งเต้านม […]


มะเร็งเต้านม

อาการของมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 มีอะไรบ้าง ที่คุณผู้หญิงควรรู้

หากพูดถึงโรคมะเร็ง โดยปกติแล้วมะเร็งนั้นจะมีอยู่ 4 ระยะด้วยกัน โดยแต่ละระยะก็จะมีอาการที่แสดงออกมาแตกต่างกันไป ซึ่ง โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) ก็ถูกแบ่งออกเป็น 4 ระยะเช่นกัน แต่.. อาการของมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 นั้นจะมีอะไรบ้าง วันนี้ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ทำความเข้าใจกับระยะต่าง ๆ ของมะเร็งเต้านม โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะแบ่งประเภทของมะเร็งเต้านมเป็นระยะ  (Stage) โดยมีตั้งแต่ระยะ 0 ถึงระยะ 4 ตามที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute) ได้กำหนดระยะต่าง ๆ เอาไว้ ดังนี้ Stage of Breast Cancer ระยะ 0 สัญญาเตือนแรกของมะเร็ง อาจมีเซลล์ผิดปกติในบริเวณนั้น แต่ยังไม่มีการแพร่กระจาย และอาจยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นมะเร็ง ระยะ 1 มะเร็งระยะแรกสุดของมะเร็งเต้านม เนื้องอกมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร แม้ว่าอาจมีเซลล์มะเร็งขนาดเล็กบางส่วนอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ระยะ 2 มะเร็งเริ่มแพร่กระจาย โดยมะเร็งอาจจะอยู่ในต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม หรือเนื้องอกที่เต้านมมีขนาดใหญ่กว่า 2 […]


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมกับการออกกำลังกาย คุณผู้หญิงทั้งหลายควรเตรียมตัวอย่างไร

การออกกำลังกาย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ สุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่สำหรับคุณผู้หญิงบางคนที่เป็น โรคมะเร็งเต้านม หรือเข้ารับการรักษา และต้องการที่จะกลับมาออกกำลังกาย แต่รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ยาก บางครั้งอาจจะมีความอายเกิดขึ้น ควรจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร ถึงจะดี ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่อง มะเร็งเต้านมกับการออกกำลังกาย สิ่งที่คุณผู้หญิงทั้งหลายควรเตรียมตัว มาฝากกันค่ะ มะเร็งเต้านมกับการออกกำลังกาย สำหรับคุณผู้หญิงที่ผ่านการรักษา โรคมะเร็งเต้านม มา แพทย์มักจะแนะนำให้ออกกำลังกาย ซึ่งวิธีออกกำลังกายก็มีหลากหลายรูปแบบ เช่น เดิน โยคะ การเต้นรำ หรือไทเก็ก เป็นต้น แต่ก่อนจะเริ่มออกกำลังกาย คุณผู้หญิงควรเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ดังนี้ พยายามคิดว่าออกกำลังกายเพื่ออะไร ก่อนอื่นต้องพยายามคิดก่อนว่า คุณออกกำลังกายไปเพื่ออะไร เพื่อที่จะได้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแต่ละคนมีความต้องการในการออกกำลังกายที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากบางคนอาจจะมีข้อจำกัดด้านเวลา พลังงาน รวมถึงสภาวะร่างกายต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน การทำความเข้าใจถึงจุดประสงค์ของตัวเองก่อนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยก็ถือเป็นการออกกำลังกาย แม้คุณจะไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่ เหมือนคนที่ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง แต่การยกขาขึ้นลง หรือยกมือขึ้นลงช้า ๆ ก็สามารถทำได้ ทั้งมันยังช่วยเรื่องทางจิตใจของคุณได้อีกด้วย นอกจากนั้นถ้าคุณนอนไม่หลับ การเคลื่อนไหวเบา ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนก็สามารถช่วยคุณได้ แม้บางคนอาจจะมีผลข้างเคียงจากโรค เช่น โรคระบบประสาท ความเจ็บปวด หรืออาการชาต่าง […]


มะเร็งเต้านม

หน้าอกไม่เท่ากัน ทำให้สาว ๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่

หน้าอกไม่เท่ากัน ของบรรดาสาว ๆ ที่บางคนมีลักษณะเต้านมข้างซ้ายเล็กกว่าข้างขวาบ้าง หรือบางคนก็มีขนาดเต้านมข้างขวาที่เล็กกว่าข้างซ้ายบ้าง ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายกับการเข้าสู่ โรคมะเร็งเต้านม ทำให้กลาย ๆ คนเกิดความกังวล กลัวว่าปัญหาเต้านมสองข้างไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งเต้านม แต่อย่าเพิ่งตกใจไป วันนี้ Hello คุณหมอ นำความรู้ และวิธีการสังเกตอย่างง่ายมาฝากผู้หญิงกันค่ะ [embed-health-tool-ovulation] หน้าอกไม่เท่ากัน เกิดจากอะไรได้บ้างนะ ภาวะหน้าอกไม่เท่ากัน (Breast Asymmetry) หรือความไม่สมดุลกันของเต้านม ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับผู้หญิง ผู้หญิงส่วนใหญ่ มีโอกาสที่จะมีเต้านมไม่เท่ากันแทบจะทุกคน โดยเริ่มต้น เมื่อถึงวัยเจริญพันธ์ุ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้สูญเสียก้อนไขมัน และเนื้อเยื่อบริเวณข้างใดข้างหนึ่งได้รับความเสียหายจนทำให้ขนาดหน้าอกเปลี่ยนไป พร้อมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เต้านมมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ดังนี้ สตรีที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์หรือระหว่างให้นมบุตร ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคโปแลนด์ซินโดรม (Poland Syndrome) สังเกตอย่างไรว่าคุณ กำลังเป็น หรือ ไม่เป็น โรคมะเร็งเต้านม อาการเบื้องต้นเมื่อพบสัญญาณเกี่ยวกับ โรคมะเร็งเต้านม มีดังนี้ มีของเหลวไหลออกจากเต้านม ผิวบริเวณรอบๆ หน้าอกเป็นสะเก็ด หรือผื่นแดง ๆ อาการคันเต้านม ขนาดเต้านมเปลี่ยนแปลง มีก้อนแข็งๆ เป็นไต และหนา […]


มะเร็งเต้านม

สิ่งที่คุณทำได้เพื่อต่อสู้กับ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม

ในบรรดาผลข้างเคียงของโรคมะเร็งเต้านมนั้น อาการอ่อนเพลียถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด อาการนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วย 9 จาก 10 คนในขณะที่ป่วยเป็นมะเร็ง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง มาดูกันว่า เราจะสามารถรับมือกับ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม ได้อย่างไรบ้าง สาเหตุของ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม อาการอ่อนเพลีย เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัด การใช้ยาสลบ อาการเจ็บหลังการผ่าตัด ยาระงับปวด และการเคลื่อนไหวอย่างจำกัด ล้วนเป็นสาเหตุของ อาการอ่อนเพลีย ทั้งสิ้น เคมีบำบัด การรักษาด้วยเคมีบำบัด ทำให้ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ที่ทำให้เลือดแข็งตัวลดลง ซึ่งทำให้พลังงานในร่างกายน้อยลง และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง คุณจึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียและเป็นไข้ เคมีบำบัดยังกระตุ้นให้หมดประจำเดือนเร็วขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และทำให้รู้สึกเหนื่อยได้ง่ายขึ้น การฉายรังสี การฉายรังสี เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งของ อาการอ่อนเพลีย การรักษาด้วยวิธีนี้ ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวันของคุณ คุณยังต้องพยายามมากในการปรับตัวกับการฉายรังสีในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในปรับตัวให้เข้ากับการรักษา การฉายรังสียังทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยลง การบำบัดด้วยฮอร์โมน การเข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy) ทำให้เกิด อาการอ่อนเพลีย ได้เช่นกัน เนื่องจาก การบำบัดนี้ควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย จึงทำให้คุณเกิด อาการอ่อนเพลีย เช่นเดียวกับอาการของวัยหมดประจำเดือน คุณอาจเกิดปัญหาทางการนอนหลับ เนื่องจากอาการร้อนวูบที่เป็นอาการข้างเคียงของวัยหมดประจำเดือน การรับมือกับอาการอ่อนเพลีย จัดตารางเวลานอน วิธีการจัดการกับ อาการอ่อนเพลีย […]


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) หนึ่งในโรคร้ายที่ควรทำความเข้าใจให้มากขึ้น

มะเร็งเต้านม หลายคนยังคงอาจคิดว่าเกิดขึ้นแค่เฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าผู้ชายก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน เพียงแต่ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิง หากคุณมีข้อสงสัยลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมให้มากขึ้นกันเถอะ คำจำกัดความมะเร็งเต้านม คืออะไร มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) คือโรคมะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อในเต้านม มีอยู่สองประเภทหลักดังนี้ มะเร็งในท่อน้ำนม (Ductal carcinoma) เริ่มขึ้นในท่อที่ลำเลียงน้ำนมจากเต้านมไปสู่หัวนม มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะเป็นประเภทนี้ มะเร็งในต่อมน้ำนม (Lobular carcinoma) เริ่มขึ้นที่ส่วนต่อมน้ำนมของเต้านมที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนม ในกรณีหายาก มะเร็งเต้านมก็อาจมีจุดกำเนิดจากส่วนอื่นของเต้านมได้ มะเร็งเต้านม พบบ่อยแค่ไหน ตลอดช่วงชีวิต จะพบว่า 1 ใน 8 ของผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านม สัดส่วนของโรคมะเร็งนั้น เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตทั่วโลก ด้วยเพราะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 14 ล้านราย และมีการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเมื่อปี 2012 ประมาณ 8.2 ล้านราย ซึ่งมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตที่พบได้มากที่สุด อาการอาการของโรคมะเร็งเต้านม ในช่วงต้นของโรคมะเร็งเต้านมนั้นจะไม่เกิดอาการใด ๆ ดังนั้น จึงควรตรวจเต้านมเป็นประจำ เมื่อโรคมะเร็งเริ่มเติบโตขึ้นก็อาจจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีก้อนที่เต้านมหรือก้อนที่รักแร้ มีลักษณะแข็ง ขอบไม่เท่ากัน และมักจะไม่เจ็บ การเปลี่ยนแปลงในด้านของขนาด รูปร่าง หรือความรู้สึกที่บริเวณเต้านมหรือหัวนม เช่น อาจมีรอยแดง รอยบุ๋ม หรือรอยย่นที่ดูคล้ายเปลือกส้ม มีของเหลวไหลจากหัวนม ซึ่งอาจจะเป็นเลือด หรือของเหลวสีใสไปจนถึงสีเหลือง สีเขียว หรือดูคล้ายกับหนอง สำหรับผู้ชาย อาการของมะเร็งเต้านมมีทั้งมีก้อนในเต้านม […]


มะเร็งเต้านม

10 วิธี ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้เอาไว้

การ ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม เป็นมาตรการที่ผู้หญิงทุกคนควรให้ความใส่ใจ เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ลงได้ และนี่คือวิธีดีๆ ที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมให้ผู้หญิงทุกคนได้ และการป้องกันความเสี่ยงเพื่อดูแลตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ  10 วิธี ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม 1. ควบคุมน้ำหนัก การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน คือ ปัจจัยเสี่ยงในการทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมบางชนิดขึ้นมาได้ คุณจึงควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีเสมอ ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยสามารถตรวจสอบน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับคุณได้ ด้วยเครื่องมือตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย  2. ตรวจสอบประวัติครอบครัว คุณควรสอบถามคนในครอบครัวบ้างว่า เคยมีสมาชิกคนใดในครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ เพราะหากคุณมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ เพราะปัจจัยทางพันธุกรรมก็ถือเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็ง ก็ควรตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ  3. คลำเต้านมตัวเองบ่อย ๆ การตรวจสอบเต้านมตัวเอง อาจไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันได้เสมอไปว่า คุณเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ได้เป็นกันแน่ แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้คุณคุ้นเคยกับลักษณะเต้านมของตัวเอง และหากเกิดความผิดปกติใด ๆ คุณก็จะสามารถสังเกตได้ทันที หากคุณสงสัยว่าเต้านมผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด  4. ดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ถึงแม้กว่า การดื่มไวน์แดงวันละ 1 แก้วจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็มีงานศึกษาวิจัยที่ชี้ว่า การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ฉะนั้น หากคุณอยากลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ก็ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินวันละ 1 แก้ว 5. ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยให้คุณควบคุมน้ำหนักได้แล้ว ผลการศึกษาวิจัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลงได้ สมาคมโรคมะเร็งของสหรัฐอเมริการะบุว่า การเดินออกกำลังกายแค่สัปดาห์ละ 1.5-2.5 ชั่วโมง มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า […]


มะเร็งเต้านม

ตัวเลือกการแต่งตัวสำหรับ ผู้ผ่าตัดเต้านม เพื่อรักษามะเร็งเต้านม

เรื่องนี้เขียนขึ้นเพื่อ ผู้ผ่าตัดเต้านม จากการรักษาโรคมะเร็งเต้านม หลังผ่าตัดเต้านม ผู้หญิงส่วนหนึ่งอาจจะไม่รู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงอะไร และสามารถแต่งตัวได้ตามปกติ แต่สำหรับผู้หญิงบางคนที่ผ่าตัดเต้านมไปแล้ว อาจรู้สึกไม่มั่นใจ ไม่รู้ว่าจะต้องใส่เสื้อชั้นใน หรือชุดว่ายน้ำแบบไหน จะเลือกเสื้อผ้าอย่างไรดีถึงจะเหมาะ บทความนี้จะช่วยให้ผู้ที่ผ่าตัดเต้านมและต้องใช้ เต้านมเทียม สามารถเลือกเสื้อผ้า และชุดว่ายน้ำได้อย่างเหมาะสม ผู้ผ่าตัดเต้านม กับตัวเลือกในการแต่งตัว บราหรือเสื้อชั้นในที่เหมาะสม หากคุณใช้ เต้านมเทียม ควรเลือกเสื้อชั้นในที่พอดีตัว ใส่แล้วรู้สึกสบายตัว โอบกระชับ แต่ไม่ทำให้อึดอัด โดยคุณสามารถเลือกสวมใส่เสื้อชั้นในธรรมดา เสื้อขั้นในแบบสปอร์ต หรือเสื้อชั้นในแบบมีช่องใส่ เต้านมเทียม ที่ทำขึ้นเพื่อผู้ผ่าตัดเต้านมโดยเฉพาะก็ได้ ในปัจจุบันมีทั้งยี่ห้อที่หาซื้อได้ทั่วไป และแบบสั่งตัดพิเศษ การเลือกเสื้อชั้นในทั้งแบบธรรมดาหรือแบบพิเศษ ควรเลือกแบบที่สายเสื้อในปรับได้ ขนาดของสายต้องไม่เล็กจนเกินไป จะได้รองรับน้ำหนักของเต้านมได้ ไม่ทำให้ไหล่ถูกกดทับ แต่หากคุณไม่อยากสวมเสื้อชั้นใน ก็สามารถทำตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ หากคุณไม่ชินกับการไม่สวมเสื้อใน ลองใช้เสื้อกล้ามแทน แล้วติด เต้านมเทียม กับเสื้อกล้ามโดยใช้เข็มกลัดกลัดเอาไว้ จากนั้นจึงค่อยสวมเสื้อผ้าตัวนอก หรือเสื้อคลุมตามปกติ หากไม่ใช้เสื้อกล้าม คุณก็สามารถติด เต้านมเทียม กับเสื้อผ้าได้โดยตรง โดยการใช้แถบตีนตุ๊กแก หรือ Velcro Tape เป็นตัวช่วยในการพยุงเต้านมเทียม ตัดชุดที่มีช่องกระเป๋า ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับ เต้านมเทียม โดยเฉพาะ ข้อควรระวัง : […]


มะเร็งเต้านม

ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม หนึ่งในวิธีที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง

โรคมะเร็งบางชนิด อย่าง โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือ โรคมะเร็งเต้านม ฮอร์โมนมีส่วนสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค ฮอร์โมนบางชนิด สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ให้เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ฮอร์โมนก็สามารถช่วยรักษามะเร็งได้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้ฮอร์โมนบำบัดรักษามะเร็งเต้านม ใครที่สงสัยว่าวิธีการบำบัดแบบนี้คืออะไร ไปอ่านกันเลยค่ะ ฮอร์โมนบำบัด คืออะไร ฮอร์โมน เป็นสารที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจาก ต่อมฮอร์โมน ทำหน้าที่เป็นสารเคมีในการสื่อสารของร่างกาย หากร่างกายถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตาม ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) จะส่งสัญญาณไปที่ต่อมฮอร์โมนบางชนิด เพื่อให้ต่อมฮอร์โมนปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด และเมื่อฮอร์โมนนั้น ๆ ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย เซลล์หรืออวัยะที่มีตัวรับสัญญาณของฮอร์โมนนั้นอยู่ ก็จะสามารถรับรู้ได้ถึงฮอร์โมนนั้น ๆ และจะเกิดกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อรับมือกับสิ่งเร้านั้น หากผลการทดสอบพบว่า เซลล์มะเร็งนั้นมีตัวรับสัญญาณที่ทำให้ฮอร์โมนสามารถเข้าไปเกาะติดได้ ก็จะมีการใช้ยา การผ่าตัด หรือการฉายรังสีบำบัด เพื่อลดหรือหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน ทำให้การเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็วหยุดชะงักลง วิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่าฮอร์โมนบำบัด (Hormonal Therapy) และใช้เพื่อการรักษาโรคมะเร็ง ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม การรักษา โรคมะเร็งเต้านม ด้วยฮอร์โมน เป็นการรักษา โรคมะเร็งเต้านม ที่มีความไวต่อฮอร์โมน ซึ่งมีรูปแบบการรักษาอยู่มากมายหลายชนิด เช่น […]


มะเร็งเต้านม

ไลฟ์สไตล์อันตรายที่อาจนำไปสู่ โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักการเสียชีวิตของผู้หญิงในยุคปัจจุบัน แล้วคุณรู้รึเปล่าว่า ลักษณะนิสัยบางอย่างนั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมให้กับคุณได้ บทความนี้จะมาเจาะลึกถึง ไลฟ์สไตล์อันตราย ที่อาจนำคุณไปสู่โรคมะเร็งเต้านม ไลฟ์สไตล์เสี่ยงเป็น โรคมะเร็งเต้านม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากข้อมูลทางระบาดวิทยาระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมถึง 4% ในประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ทุก ๆ 10 มล. ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คุณดื่มเข้าไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมขึ้น 10 % เท่ากับว่า ยิ่งคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ โอกาสเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคมะเร็งเต้านม ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นมากเท่านั้น สูบบุหรี่ เสี่ยงเป็น โรคมะเร็งเต้านม การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ รวมไปจนถึงโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านมด้วย สารอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบอยู่ในบุหรี่ ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ไฮโดรคาร์บอนที่ผสานเข้ากับความหลากหลายของลักษณะทางพันธุกรรม อาจก่อให้เกิดการพัฒนาเซลล์มะเร็งเต้านมขึ้นในร่างกาย รายงานของ US Surgeon General เมื่อปี 2014 แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่มีประวัติการสูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่มากถึง 10% เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน การมีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน ในช่วงวัยหมดประจำเดือน อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ช่วงที่ยังมีประจเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายส่วนใหญ่จะมาจากรังไข่ มีแค่ส่วนน้อยเท่านั้นที่มาจากเนื้อเยื่อไขมัน แต่หากรังไข่หยุดสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม