backup og meta

แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา วิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ

แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา วิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุน้ำร้อนลวกบริเวณผิวหนัง หลายครั้งผู้ประสบอุบัติเหตุและคนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงอาจตกใจ ทำอะไรไม่ถูก และนึกถึงความเชื่อที่เคยได้ยินมาเรื่องการดูแลแผลน้ำร้อนลวก แต่ในความเป็นความจริงแล้ว แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา จึงจะปลอดภัย และวิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ ทำได้อย่างไรบ้าง

[embed-health-tool-bmi]

วิธีดูแลเบื้องต้นไม่ให้ติดเชื้อ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับบาดแผลจากไฟไหม้ แผลพุพอง หรือแผลน้ำร้อนลวก มีดังนี้

  1. ออกจากแหล่งความร้อนโดยเร็วที่สุด และกำจัดแหล่งความร้อนที่จะทำให้บาดแผลลุกลามมากขึ้น เช่น เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่อยู่บริเวณแผล
  2. ล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ เพื่อลดความร้อนและทำให้แผลเย็นลง
  3. กรณีมีบาดแผลถลอก มีตุ่มน้ำ สีของผิวหนังเปลี่ยนแปลง มีบาดแผลลึก หรือมีแผลไหม้เป็นบริเวณกว้าง สามารถปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาด และให้รีบไปพบคุณหมอ

แผลน้ำร้อนลวก ใช้อะไรทา

การดูแลแผลน้ำร้อนลวกที่ดีที่สุด ควรล้างด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ หรืออาจใช้สบู่อ่อน ๆ เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อนล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นให้ซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วรีบไปพบแพทย์ ในกรณีที่แผลน้ำร้อนลวกไม่รุนแรง สามารถใช้ว่านหางจระเข้ไปวางบนแผล เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อน ก่อนใช้ควรทำความสะอาดแผล แล้วนำว่านหางจระเข้มาปอกเปลือก ล้างยางสีเหลืองออกให้หมด ให้เหลือแต่วุ้นใส ๆ แล้วนำไปวางบริเวณที่เป็นแผล ส่วนผลิตภัณฑ์เจลว่านหางจระเข้ที่มีจำหน่ายที่ร้านขายยา ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือที่มีเครื่องหมาย องค์การอาหารและยา (อย.) เท่านั้น 

แผลน้ำร้อนลวกไม่ควรใช้อะไรทา

  • ยาสีฟัน การนำยาสีฟันมาทาบนบาดแผลน้ำร้อนลวกไม่ได้มีส่วนช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้แผลเกิดอาการระคายเคือง มีโอกาสติดเชื้อ และรักษาได้ยากขึ้น
  • น้ำปลา น้ำปลาไม่ได้มีส่วนช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล ทำให้รู้สึกแสบแผล เสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้ออีกด้วย
  • น้ำแข็ง การนำน้ำแข็งมาประคบบริเวณแผล เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อน ไม่อาจช่วยรักษาได้ แม้การใช้น้ำแข็งซึ่งมีความเย็นมาประคบบริเวณที่เกิดแผล จะสามารถบรรเทาอาการปวดได้ อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำแข็งมาประคบอาจทำให้แผลติดเชื้อ เพราะในน้ำแข็งอาจมีสิ่งสกปรกติดมาได้ 
  • เนย ไม่ควรทาเนยหรือสารอื่น ๆ ที่ไม่ทราบคุณสมบัติชัดเจนลงบนบาดแผล เพราะผิวหนังที่มีบาดแผลจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย 
  • แป้งหมี่ ไม่สามารถรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการที่แผลจะติดเชื้อได้

เมื่อเกิดแผลน้ำร้อนลวก แผลพุพอง แผลไฟไหม้ ควรปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง เพื่อลดโอกาสในการลุกลามของบาดแผล ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงรวมถึงเกิดการติดเชื้อผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

4 ความเชื่อ เกี่ยวกับการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1957 

accessed June 26, 2023

แพทย์ผิวหนังแนะนำการดูแลแผลไฟไหม้เบื้องต้น

https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/170606/ 

accessed June 26, 2023

ใช้เนยแท้ทาเคลือบแผลน้ำร้อนลวก ช่วยแก้ปวด ลดตุ่มพองใส

https://www.facebook.com/policehosp/photos/a.281906075329934/1902288319958360/?type=3&locale=th_TH 

accessed June 26, 2023

ข่าวปลอม! แป้งหมี่ ทำให้ไม่มีรอยแผลพุพองหรือรอยแดง จากแผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้

https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/174984/ 

accessed June 26, 2023

ข่าวจริง ใช้ยาสีฟัน ไข่ขาว ทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เสี่ยงติดเชื้อที่บาดแผล

https://www.antifakenewscenter.com/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5/ 

accessed June 26, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/10/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย พญ.ไอริณ จริยะโยธิน

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

มีดบาด ต้องทำอย่างไร? วิธีรักษาแผลมีดบาดและรอยไหม้

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการ ทำแผล ที่ควรรู้


ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย

พญ.ไอริณ จริยะโยธิน

อายุรศาสตร์ · แพทย์ประจำแอพลิเคชั่น BeDee


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/10/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา