backup og meta

กรดพาราอะมิโนเบนโซอิก (Para-Aminobenzoic Acid) หรือ พาบา (PABA)

กรดพาราอะมิโนเบนโซอิก (Para-Aminobenzoic Acid) หรือ พาบา (PABA)

พาบา (PABA) หรือ กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก (Para-Aminobenzoic Acid)

ข้อบ่งใช้

พาบา ใช้สำหรับ

พาบา (PABA) หรือ กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก (Para-Aminobenzoic Acid) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ละลายในน้ำ สามารถพบได้ในกรดโฟลิก และในอาหาร เช่น ธัญพืช ไข่ นม เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมุลอิสระ มีส่วนช่วยในการสร้างกรดโฟลิก การดูดซึมวิตามินบี 5 และการใช้โปรตีนของร่างกาย นิยมใช้รักษาโรค และอาการทางการแพทย์ดังต่อไปนี้

  • ผิวไหม้แดด
  • โรคหนังแข็ง หรือโรคสเคลอโรเดอร์มา (Scleroderma)
  • โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (Dermatomyositis)
  • การติดเชื้อที่ตาจากเชื้อไวรัสเริม (herpes stretitis)
  • โรคหนังแข็งเฉพาะที่ (Morphea)
  • โรคตุ่มน้ำพอง หรือ โรคเพมฟิกัส (Pemphigus)
  • โรคข้ออักเสบ
  • ภาวะโลหิตจาง
  • อาการท้องผูก
  • อาการปวดศีรษะ
  • ป้องกันผมร่วง
  • ป้องกันผมหงอก

นอกจากจะนำมาใช้ในการป้องกันหรือรักษาโรคแล้ว ยังนิยมใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์กันแดดด้วย นอกจากนี้ อาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของพาบา

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของพาบา หรือกรดพารา-อะมิโนเบนโซอิกที่เพียงพอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันดีว่า พาบาสามารถช่วยป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวี (UV) ได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้พาบา

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร
  • คุณมีอาการแพ้พาบา หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

ส่วนใหญ่แล้ว เราสามารถใช้พาบากับผิวหนังได้อย่างปลอดภัย แต่หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมพาบา หรือกรดพารา-อะมิโนเบนโซอิกควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

โดยทั่วไป ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรสามารถใช้พาบากับผิวหนังได้อย่างปลอดภัย แต่ก็ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้พาบาระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไม่เพียงพอ เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อสภาวะอื่นๆ

เด็ก

พาบาปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อใช้กับผิวหนังโดยตรง และเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานพาบาในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลข้างเคียงรุนแรงได้ และหากเด็กกินพาบาในรูปแบบอาหารเสริมมากกว่า 220 มก. / กก. / วัน อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

เลือดออกผิดปกติ

การให้สารละลายพาบาทางหลอดเลือดดำในคนที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดคั่ง หรือเลือดออกมากได้

โรคไต

พาบาอาจทำให้โรคไตแย่ลงได้

การผ่าตัด

ควรหยุดใช้พาบาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้พาบา

พาบา หรือกรดพารา-อะมิโนเบนโซอิกอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น

  • ผิวหนังระคายเคือง (พาบาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใช้ทาผิวหนัง)
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ท้องร่วง
  • ไม่อยากอาหาร

หากรับประทานพาบามากกว่า 12 กรัมต่อวัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง เช่น ปัญหาเกี่ยวกับตับ ปัญหาเกี่ยวกับไต ปัญหาเกี่ยวกับเลือด

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

พาบาอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้

  • ยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาซัลฟา (Sulfonamides) เช่น ซัลฟาเมทอกซาโซล (sulfamethoxazole) ซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine) ซัลฟิโซซาโซล (sulfisoxazole)

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ปริมาณในการใช้สารนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาเสริมนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

รูปแบบของพาบา

พาบา (PABA) หรือ กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก (Para-Aminobenzoic Acid) อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • คริมกันแดดพาบามีความเข้มข้นตั้งแต่ 1 ถึง 15%
  • แคปซูล 500 มก. 550มก. และ 1000 มก.

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Para-Aminobenzoic Acid (PABA). http://www.rxlist.com/para-aminobenzoic_acid_paba/supplements.htm. Accessed April, 06, 2017.

Para-Aminobenzoic Acid (PABA). http://www.healthsupplementsnutritionalguide.com/paba/. Accessed April, 06, 2017.

Para-Aminobenzoic Acid (PABA). http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1004-PARA-AMINOBENZOIC+ACID+PABA.aspx?activeIngredientId=1004&activeIngredientName=PARA-AMINOBENZOIC+ACID+(PABA)&source=2. Accessed April, 06, 2017.

Para-aminobenzoic acid. https://medlineplus.gov/ency/article/002518.htm. Accessed April, 06, 2017.

PABA (Para-Aminobenzoic Acid). https://www.winchesterhospital.org/health-library/article?id=21831. Accessed April, 06, 2017.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีลดไขมัน ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลชัวร์

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีน สำหรับเด็ก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา