backup og meta

แผลริมอ่อน สาเหตุ อาการ การรักษา

แผลริมอ่อน สาเหตุ อาการ การรักษา

แผลริมอ่อน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในทั้งชายและหญิง โดยสังเกตได้จากแผลบริเวณอวัยวะเพศ ริมฝีปาก ขาหนีบ แผลริมอ่อนเป็นโรคที่อันตราย เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ รอยแผลเป็นบนหนังหุ้มปลายองคชาต

[embed-health-tool-ovulation]

คำจำกัดความ

แผลริมอ่อน คืออะไร

แผลริมอ่อน คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลัส ดูเครย์ (Haemophilus ducreyi) สามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ และการสัมผัสกับหนองจากแผลริมอ่อน แล้วนำมือนั้นไปสัมผัสบริเวณอื่น เช่น ดวงตา ปาก หรือร่างกายของผู้อื่น โดยที่ยังไม่ได้ล้างมือ

อาการ

อาการแผลริมอ่อน

  • อาการของแผลริมอ่อน สังเกตจากสัญญาณ ดังต่อไปนี้
  • ตุ่มบนอวัยวะเพศกลายเป็นแผลพุพอง หลังจากติดเชื้อ 1-2 สัปดาห์
  • ตุ่มอาจมีขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว
  • รู้สึกเจ็บปวด มีเลือดคั่ง และมีหนอง ในแผลพุพอง
  • แผลเปื่อย และมีแผลเปิด
  • เจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง อาจเกิดขึ้นกับขาหนีบข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
  • ผู้ชายอาจมีอาการเจ็บแผลมากในบริเวณ หนังหุ้มปลาย ถุงอัณฑะ หัวองคชาต สำหรับผู้หญิงอาจเกิดรอยแผลบริเวณอวัยวะเพศภายนอก ช่องคลอด และทวารหนัก

สาเหตุ

สาเหตุแผลริมอ่อน

สาเหตุของแผลริมอ่อนเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลัส ดูเครย์ ผ่านทางมีเพศสัมพันธ์ หรือสัมผัสกับหนองโดยตรงทุกรูปแบบที่อาจแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่น ๆ ได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงแผลริมอ่อน

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นแผลริมอ่อน และเกิดการแพร่กระจาย คือ

  • มีคู่นอนหลายคน 
  • การไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • การสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยแผลริมอ่อน

อาการของแผลริมอ่อนคล้ายกับอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ คุณหมออาจวินิจฉัยด้วยการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลัส ดูเครย์ และอาจตรวจบริเวณแผลเพื่อเช็กอาการต่อมน้ำเหลืองบวม พร้อมทั้งทดสอบหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ที่อาจแทรกซ้อน

การรักษาแผลริมอ่อน

แผลริมอ่อนรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ดังต่อไปนี้

  • รับประทานยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) ในปริมาณ 1 กรัม
  • รับประทานซิโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน
  • รับประทานอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) 500 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 7 วัน
  • เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) 250 มิลลิกรัม ในรูปแบบฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ

สำหรับสตรีตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงระหว่างให้นมบุตร อาจหลีกเลี่ยงการใช้ยาซิโปรฟลอกซาซิน และควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเปลี่ยนไปใช้ยาที่เหมาะสม นอกจากนี้ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจอีกครั้งหลังจากเริ่มการรักษา 3-7 วัน เพื่อให้คุณหมอตรวจอาการของแผลริมอ่อนว่ามีอาการดีขึ้น หรือดื้อยาหรือไม่ เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาใหม่อย่างเหมาะสม

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันแผลริมอ่อน

วิธีป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย และลดความเสี่ยงการแพร่กระจายแผลริมอ่อนไปสู่บุคคลอื่น มีดังนี้

  • จำกัดจำนวนคู่นอน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผลบริเวณอวัยวะเพศและขาหนีบ
  • ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • นอกจากนี้คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยภายใน 10 วันก่อนผู้ป่วยจะมีอาการควรได้รับการตรวจและรักษาด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chancroid. https://www.cdc.gov/std/treatment-guidelines/chancroid.htm. Accessed October 12, 2021

Chancroid. https://dph.illinois.gov/topics-services/diseases-and-conditions/stds/chancroid.html. Accessed October 12, 2021

What Is Chancroid?. https://www.webmd.com/sexual-conditions/what-is-chancroid. Accessed October 12, 2021

Chancroid. https://medlineplus.gov/ency/article/000635.htm. Accessed October 12, 2021

Canadian Guidelines on Sexually Transmitted Infections. https://www.canada.ca/en/public-health/services/infectious-diseases/sexual-health-sexually-transmitted-infections/canadian-guidelines/sexually-transmitted-infections/canadian-guidelines-sexually-transmitted-infections-29.html . Accessed October 12, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/09/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เช็กอาการ! เริมกับHPV 2 โรคนี้ ต่างกันยังไง

STD (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ไม่ต้องมีเซ็กส์ก็เสี่ยงติดได้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 04/09/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา