backup og meta

น้ำตาล เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคมะเร็งจริงหรือ

น้ำตาล เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคมะเร็งจริงหรือ

น้ำตาล อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง เนื่องจาก น้ำตาลถือเป็นพลังงานที่ส่งผลให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว การจำกัดน้ำตาลออกจากอาหารอาจช่วยหยุดการเจริญเติบโตของมะเร็ง หรืออาจหยุดการพัฒนาเซลล์มะเร็งตั้งแต่แรกเริ่ม แต่น้ำตาลไม่ได้เป็นเพียงอาหารของเซลล์มะเร็งเท่านั้น แต่ยังมีความจำเป็นต่อเซลล์ที่แข็งแรงของร่างกายอีกด้วย ดังนั้น การจำกัดน้ำตาลก็อาจส่งผลเสียต่อเซลล์ของร่างกายได้เช่นกัน นอกจากนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า การรับประทานอาหารที่ปราศจากน้ำตาลอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง หรือเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตรอดได้

อาหารที่มีน้ำตาลไม่ได้มีแต่ของหวาน

เซลล์ในร่างกายต้องการน้ำตาลจากอาหาร แต่ไม่ใช่แค่อาหารประเภทของหวานเพียงอย่างเดียว เพราะร่างกายอาจได้รับน้ำตาลจากแหล่งอาหารเหล่านี้

  • ผลไม้ (น้ำตาลฟรุกโตส)
  • ผัก (กลูโคส)
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว (แลคโตส)
  • อาหารในหมู่คาร์โบไฮเดรต เช่น ขนมปัง พาสต้า และข้าว

บางคนอาจสงสัยว่า ถ้าเลิกรับประทานน้ำตาลหรือลดการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้หรือไม่ ความจริงแล้วในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า การรับประทานอาหารที่ปราศจากน้ำตาลและอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง หรือเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตรอดได้

น้ำตาล เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคมะเร็งหรือเปล่า

ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ว่า น้ำตาลอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง ทั้งยังไม่มีหลักฐานที่พอจะพิสูจน์ได้ว่า น้ำตาลเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รับประทานเข้าไปในแต่ละมื้ออาจส่งผลอย่างมากต่อความเสี่ยงในการพัฒนาโรคมะเร็ง เพราะหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง คือ ความอ้วน หรือน้ำหนักเกิน การรับประทานฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารแปรรูปประเภทอื่น ๆ ที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่น ช็อกโกแลต ของหวาน สามารถทำให้น้ำหนักเพิ่ม และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พบว่า ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มรสหวานเป็นประจำ หรือดื่มในปริมาณมากอาจเชื่อมโยงกับการมีน้ำหนักขึ้น ส่วนสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Artificial Sweeteners) ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ว่า สารให้ความหวานแทนน้ำตาลทำให้เกิดมะเร็ง ดังนั้น น้ำตาลจึงอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่น้ำตาลทำให้อ้วน ซึ่งความอ้วนสามารถเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้

น้ำตาลทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตเร็วขึ้นจริงหรือ?

ความจริงแล้ว น้ำตาลไม่ได้ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตเร็วขึ้น และแม้ว่าเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย รวมถึงเซลล์มะเร็งอาจใช้น้ำตาลในเลือด (กลูโคส) เป็นพลังงาน แต่การรับประทานน้ำตาลเพิ่มขึ้น อาจไม่ได้ทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้น ในขณะเดียวกันการบริโภคน้ำตาลน้อยลง ก็ไม่อาจทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตช้าลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การรับประทานน้ำตาลในปริมาณมากก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ที่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็ง ดังนั้น จึงควรระวังปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมในมื้ออาหารแต่ละมื้อ

แม้ว่าน้ำตาลจะไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งโดยตรง แต่ก็ควรบริโภคน้ำตาลให้น้อยลง โดยปริมาณน้ำตาลที่ควรได้รับต่อวัน คือ 6 ช้อนชา/วันสำหรับผู้หญิง และ 9 ช้อนชา/วัน สำหรับผู้ชาย

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cancer and Sugar: Is There a Link?. https://www.webmd.com/cancer/features/cancer-sugar-link#1. Accessed on June 21 2019.

Ask the expert: does sugar cause cancer?. https://www.wcrf.org/informed/articles/ask-expert-does-sugar-cause-cancer. Accessed on June 21 2019.

Cancer causes: Popular myths about the causes of cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cancer/in-depth/cancer-causes/art-20044714. Accessed on June 21 2019.

Sugar and cancer – what you need to know. https://news.cancerresearchuk.org/2020/10/20/sugar-and-cancer-what-you-need-to-know/. Accessed December 03, 2021

Does sugar feed cancer?. https://www.dana-farber.org/for-patients-and-families/care-and-treatment/support-services-and-amenities/nutrition-services/faqs/sugar-and-cancer/. Accessed December 03, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/12/2021

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

ลดน้ำตาล ลดโรค วิธีทำให้สุขภาพดีแสนง่าย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 04/12/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา