ข้อมูลโภชนาการ

สิ่งที่เรารับประทานเข้าไป มีผลโดยตรงต่อความรู้สึกและประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน การเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลโภชนาการ จะช่วยให้เรารู้จักระมัดระวังมากขึ้นก่อนการรับประทานอาหาร และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ข้อมูลโภชนาการ

หัวปลี สารอาหารสำคัญ สรรพคุณทางยา และประโยชน์ของหัวปลี

หัวปลี เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลีกล้วย คนไทยมักจะนำหัวปลีมาประกอบเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ ช่วยเสริมรสชาติให้กับเมนูอาหาร ทั้งยังอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาก และมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] สารอาหารสำคัญใน หัวปลี ปลีกล้วยหรือหัวปลี มีสารอาหารสำคัญ ดังนี้ แคลเซียม  ธาตุเหล็ก  ฟอสฟอรัส  แมกนีเซียม  โปรตีน  วิตามินซี  เบตาแคโรทีน ประโยชน์จากหัวปลี หัวปลีเป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทุกเพศทุกวัย เช่น  ปลีกล้วยมีสารซาโปนิน (Saponins) และแทนนิน(Tannins) ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรแลคติน ในทางการแพทย์แผนไทย  อุดมด้วยแคลเซียม ที่มากกว่ากล้วยสุกถึง 4 เท่า ดีต่อกระดูกและฟัน อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ หัวปลีเป็นผักฤทธิ์เย็น ดีต่อสุขภาพในช่วงหน้าร้อน ปรับสมดุลร่างกายให้เย็นขึ้น ช่วยแก้อาการร้อนในได้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ดีต่อผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย มีสารแมกนิเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของสภาวะทางอารมณ์ ช่วยบรรเทาอาการเศร้า  มีสารเอทานอล ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อโรคได้ ประโยชน์ที่สำคัญของหัวปลียังดีต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่หลังคลอด ดังนี้  ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่หลังคลอด มีสรรพคุณทางยา กระตุ้นต่อมน้ำนม ให้ร่างกายแม่ตั้งครรภ์สร้างน้ำนมหลังคลอด จึงควรรับประทานเมนูหัวปลีหลังคลอดเพื่อช่วยขับน้ำนม ตัวอย่างเมนูจากหัวปลี หัวปลีมีรสฝาด สามารถกินสด ๆ ได้ […]

สำรวจ ข้อมูลโภชนาการ

ข้อมูลโภชนาการ

โภชนาการ คืออะไร อาหารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

โภชนาการ (Nutrition) คือ กระบวนการดูแลสุขภาพด้วยการคัดเลือกประเภทและปริมาณอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกายเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี สารอาหารตามหลักโภชนาการแบ่งได้ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการอาจช่วยให้สามารถเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-bmi] โภชนาการ คืออะไร องค์การอนามัยโลก (WHO) นิยามว่า “โภชนาการ เป็นส่วนสำคัญของการมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดี การมีโภชนาการที่ดีจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันของทารก เด็ก และมารดา ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งยังช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาว” นอกจากนี้สำหรับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถช่วยจัดการกับภาวะสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ การเลือกอาหารตามหลัก โภชนาการ การปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานในแต่ละวันให้เป็นไปตามหลัก โภชนาการ ที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น อาจทำได้ดังนี้ ธัญพืช (Grains) ธัญพืชเต็มเมล็ดเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและใยอาหารสูง ทั้งยังมีไขมันต่ำ ช่วยให้อิ่มได้นานและทำให้ไม่รับประทานมากเกินความจำเป็น การเลือกซื้อธัญพืชควรดูจากฉลากผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมของธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole) หรือไม่ และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีใยอาหารอย่างน้อย 3 กรัม/ 1 หน่วยบริโภค ตัวอย่างอาหารประเภทธัญพืช พาสต้าโฮลวีต ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวบาร์เลย์ ควินัว […]


ข้อมูลโภชนาการ

สารอาหาร5หมู่ มีอะไรบ้าง รับประทานยังไงให้ดีต่อสุขภาพ

สารอาหารตามหลักโภชนาการ ที่จำเป็นต่อการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ แบ่งออกเป็น 5 หมู่หลัก ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และไขมัน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สารอาหาร5หมู่ จะช่วยให้สามารถวางแผนการรับประทานอาหารเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย [embed-health-tool-bmi] สารอาหาร5หมู่ มีอะไรบ้าง สารอาหาร5หมู่ ซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่คนเราควรรับประทานทุกวัน อาจมีดังนี้ 1. โปรตีน โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย มีกรดอะมิโนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ และสร้างแอนติบอดีเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคและการเจ็บป่วย อีกทั้งยังให้พลังงานแก่ร่างกายด้วย โปรตีนพบได้ในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อปลา ไข่ไก่ ไข่เป็ด ในพืช เช่น ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโพด ผักโขม ต้นอ่อนทานตะวัน ลูกบัว เมล็ดฟักทอง ในพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วพู รวมถึงในนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น นม เนย ชีส โยเกิร์ตไขมันต่ำ การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งที่สะอาดและได้มาตรฐาน ตรวจสอบว่าสีและเนื้อสัมผัสของเนื้อสัตว์ผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็นหรือไม่ ควรรับประทานเนื้อสัตว์ติดมันและติดหนังแต่น้อย และหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น […]


ข้อมูลโภชนาการ

ขาดวิตามินบี เกิดจากสาเหตุใด และอาการเป็นอย่างไร

วิตามินบี เป็นวิตามินที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ และมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ เช่น สลายคาร์โบไฮเดรตและลำเลียงสารอาหารไปทั่วร่างกาย การ ขาดวิตามินบี (Vitamin B Deficiencies) จึงอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ โดยทั่วไปสามารถพบวิตามินบีได้ในอาหารที่หลากหลาย จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อให้ได้รับวิตามินบีเพียงพอ ทั้งนี้ ปริมาณวิตามินบีแต่ละชนิดที่ร่างกายควรได้รับจะมากหรือน้อยแตกต่างไปตามอายุ ภาวะสุขภาพ เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] ขาดวิตามินบี สาเหตุ เกิดจากอะไร การขาดวิตามินบี เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอต่อการใช้ในการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย ภาวะนี้อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินบีน้อยกว่าที่ควร หรือเกิดจากภาวะสุขภาพบางประการ เช่น การดูดซึมอาหารของลำไส้ผิดปกติ วิตามินบีเป็นวิตามินชนิดละลายในน้ำ มีด้วยกัน 8 ชนิด ได้แก่ วิตามินบี 1, 2, 3, 5, 6, 7, 9 และ 12 เมื่อร่างกายนำไปใช้งานแล้ว ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ร่างกายไม่สามารถสะสมไว้ใช้ในภายหลังได้ จึงจำเป็นต้องรับวิตามินบีเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะขาดวิตามินบี ปริมาณวิตามินบีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน โดยทั่วไป อาจมีดังนี้ ควรได้รับวิตามินบี 1 หรือไทอามีน (Thiamine) […]


ข้อมูลโภชนาการ

กินซิงค์ กับ วิตามินซี มีประโยชน์อย่างไร

การ กินซิงค์ กับ วิตามินซี ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ยังส่งผลดีต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วย โดยทั่วไปสามารถรับซิงค์กับวิตามินซีได้จากอาหารตามธรรมชาติและอาหารเสริม ทั้งนี้ควรกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน จะได้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง [embed-health-tool-bmi] กินซิงค์ กับ วิตามินซี มีประโยชน์อย่างไร ซิงค์ (Zinc) หรือสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยให้การแข็งตัวของเลือดปกติ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของต่อมไทรอยด์ เสริมสร้างการเจริญเติบโต ช่วยรักษาความสมบูรณ์ของผิวหนัง ช่วยให้ผิวดูสุขภาพดี เสริมสร้างประสาทสัมผัสการรับรู้รสและกลิ่น และกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญและการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่วนวิตามินซี (Vitamin C) หรือกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) มีบทบาทในการควบคุมการติดเชื้อและสมานแผล ช่วยเสริมสร้างการผลิตคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนในเนื้อเยื่อของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอักเสบจากอนุมูลอิสระ ทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี ช่วยในการผลิตและเสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย คนทั่วไปนิยม กินซิงค์ กับ วิตามินซี เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน ยิ่งเมื่อกินร่วมกัน ก็จะยิ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร BioMed Research International ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 […]


ข้อมูลโภชนาการ

ซิงค์ คือ สังกะสี ประโยชน์ต่อร่างกายและข้อควรระวังในการบริโภค

สังกะสี หรือ ซิงค์ คือ แร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนัง ผม และเล็บ แต่ร่างกายไม่สามารถผลิตและเก็บซิงค์ไว้ใช้ในภายหลังได้ จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีซิงค์เป็นประจำเพื่อให้ร่างกายได้รับซิงค์เพียงพอ และทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ [embed-health-tool-bmi] ซิงค์ คือ อะไร สังกะสี หรือ ซิงค์ คือ แร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย แร่ธาตุชนิดนี้แทรกซึมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นสารอาหารรองที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม ช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย และควบคุมการทำงานของเอนไซม์หลักของระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ ซิงค์เป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง และไม่สามารถเก็บซิงค์ส่วนเกินเอาไว้ใช้ภายหลังได้ จึงจำเป็นต้องได้รับซิงค์จากการรับประทานอาหารที่หลากหลายเป็นประจำทุกวัน ประโยชน์ของ ซิงค์ คือ อะไร ซิงค์ช่วยในการเผาผลาญสารอาหารเพื่อนำไปเป็นพลังงานให้เซลล์ในร่างกาย และมีบทบาทในการเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เร่งการสมานแผลและการสังเคราะห์โปรตีนและดีเอ็นเอ ช่วยในกระบวนการแบ่งเซลล์ กระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมบูรณ์ของร่างกายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ในวัยเด็ก ไปจนถึงช่วงวัยรุ่น ทั้งยังช่วยเสริมระบบประสาทในการรับรสชาติและการรับกลิ่นด้วย หากร่างกายมีซิงค์ไม่เพียงพอ หรือมีภาวะขาดซิงค์ (Zinc deficiency) อาจทำให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ เริ่มจากมีอาการทางผิวหนังคล้ายเป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) เกิดเป็นรอยแตกหรือผื่น ซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ครีมบำรุงผิว และอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ผมร่วง เล็บเปราะบาง ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร […]


ข้อมูลโภชนาการ

คอลลาเจน ช่วยอะไร และข้อควรระวังในการบริโภค

แม้คอลลาเจนจะเป็นสารอาหารประเภทโปรตีนที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเสริมอาหารอย่างแพร่หลาย แต่หลายคนก็ยังอาจสงสัยว่า คอลลาเจน ช่วยอะไร หาได้จากที่ไหนบ้าง คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อในร่างกาย ช่วยพยุงโครงสร้างและเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระดูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การรับประทานอาหารที่มีคอลลาเจนและอาหารที่ช่วยสร้างคอลลาเจนตามธรรมชาติ จึงอาจช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบดังกล่าว และส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม [embed-health-tool-bmi] คอลลาเจน คืออะไร คอลลาเจน (Collagen) คือ โปรตีนในกลุ่มโปรตีนเส้นใยที่พบมากที่สุดในร่างกาย เป็นส่วนประกอบหลักของกระดูก กระดูกอ่อน ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น อวัยวะ หลอดเลือด และเยื่อบุลำไส้ ทั้งยังช่วยให้เนื้อเยื่อแข็งแรง และยืดหยุ่นได้ดี คอลลาเจนมีโครงสร้างเป็นเกลียว ประกอบด้วยกรดอะมิโน (Amino acid) หลายชนิด โดยกรดอะมิโนชนิดที่มีบทบาทในการผลิตคอลลาเจน ได้แก่ โพรลีน (Proline) ไกลซีน (Glycine) และไฮดรอกซีโพรลีน (Hydroxyproline) นอกจากนี้ร่างกายยังต้องการสารอาหารอื่น ๆ เช่น วิตามินซี สังกะสี ทองแดง แมงกานีส ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อสร้างเกลียวคอลลาเจนให้สมบูรณ์ คอลลาเจน ช่วยอะไร หน้าที่หลัก ๆ ของคอลลาเจน อาจมีดังนี้ ช่วยกระตุ้นการสร้างไฟโบรบลาสต์หรือเซลล์สร้างเส้นใย […]


ข้อมูลโภชนาการ

วิตามินดี กินตอนไหน และข้อควรระวังในการบริโภค

วิตามินดีเป็นสารอาหารที่ช่วยรักษาระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง หลายคนอาจมีคำถามว่า วิตามินดี กินตอนไหน ถึงจะเหมาะสมที่สุด โดยทั่วไปวิตามินดีสามารถละลายได้ดีในไขมัน จึงอาจกินพร้อมหรือหลังอาหารเช้า และควรกินวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์ หรือไม่เกิน 100 ไมโครกรัม/วัน [embed-health-tool-bmi] วิตามินดี มีประโยชน์อย่างไร วิตามินดี เป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยควบคุมสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย และทำหน้าที่ในกระบวนการดูดซึมแร่ธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้จากอาหารที่กิน ทั้งยังมีบทบาทในการเสริมสร้างความแข็งแรงของโครงสร้างของกระดูกและฟัน ร่างกายรับวิตามินดีจาก 2 ทาง คือ การกินอาหารที่มีวิตามินดี และการสังเคราะห์วิตามินดีจากรังสียูวีบี (Ultraviolet B หรือ UVB) ในแสงแดดที่ผิวหนัง วิตามินดีมีหลายรูปแบบ โดยรูปแบบที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ได้แก่ วิตามินดี 2 หรือเออร์โกแคลซิเฟอรอล (Ergocalciferol) ที่พบได้ในพืชและเห็ดรา และวิตามินดี 3 หรือโคเลสแคลซิเฟอรอล (Cholecalciferol) ที่ได้รับจากการสัมผัสแสงแดดและอาหารบางชนิด เช่น เนื้อปลาที่มีไขมัน น้ำมันตับปลา วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันและถูกเก็บไว้ในไขมัน และจะถูกนำออกมาใช้เมื่อร่างกายไม่ได้รับแสงแดด อาหารที่มีวิตามินดี มีอะไรบ้าง อาหารที่มีวิตามินดี อาจมีดังนี้ ปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน น้ำมันตับปลา เห็ด […]


ข้อมูลโภชนาการ

ไข่น้ำ ประโยชน์ ข้อควรระวังในการรับประทานและวิธีการทำ

ไข่น้ำ เป็นหนึ่งในเมนูอาหารประเภทต้ม ที่คล้ายกับแกงจืด และให้ประโยชน์มากมายเนื่องจากเมนูนี้ประกอบไปด้วยไข่และผักที่อุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปรตีน แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก เป็นต้น ที่ดีต่อสุขภาพและควบคุมการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้เป้นไปตามปกติ [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของไข่น้ำ ไข่น้ำ มีส่วนประกอบจากไข่ไก่เป็นหลักและสามารถเพิ่มผักตามชอบร่วมด้วยได้ เช่น แครอท ขึ้นฉ่าย เห็ดหอม สาหร่าย ต้นหอม เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี วิตามินบี วิตามินอี แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ป้องกันร่างกายขาดสารอาหาร บำรุงสายตา ลดคอเลสเตอรอล ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง ควบคุมการทำงานของหัวใจและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยให้รับประทานได้อย่างคล่องคอเมื่อเจ็บป่วย  จากการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Research and Practice เมื่อปี พ.ศ. 2561 ที่ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคไข่สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 ที่ลดลงในผู้ชายวัยกลางคนและวัยสูงอายุ โดยวิเคราะห์จากผู้ชายชาวเกาหลีทั้งหมด 7,002 คน ได้รับการประเมินแบบสอบถามความถี่การรับประทานอาหารและติดตามผลเป็นเวลา 14 […]


ข้อมูลโภชนาการ

Marasmus (ภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่) อาการและการรักษา

Marasmus เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่มีความหมายว่า ภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ ส่วนใหญ่มักพบในเด็กหรือบุคคลในประเทศที่ขาดทรัพยากรทางอาหาร ซึ่งอาจสังเกตได้ด้วยตาเปล่าจากร่างกายซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น ซึ่งควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการแก้ไขหรือปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารใหม่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] Marasmus คืออะไร  Marasmus (มาราสมัส) คือ ภาวะทุพโภชนาการประเภทหนึ่งที่มีภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ในระดับรุนแรง รวมถึงสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ซึ่งแตกต่างกันจากโรคควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) หรือ โรคขาดสารอาหารชนิดโปรตีนเป็นหลัก เพราะสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกายทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย ส่วนใหญ่มักพบได้ในเด็ก แต่ก็อาจเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ได้เช่นเดียวกัน สาเหตุของ Marasmus สาเหตุของภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ อาจมีดังต่อไปนี้ คุณแม่ให้นมบุตรไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารก เนื่องจากนมของคุณแม่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ จึงอาจส่งผลให้ทารกเสี่ยงเป็นภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่แต่เด็ก ผู้ป่วยติดเตียงหรือมีอาการเจ็บป่วยบ่อยครั้ง เพราะอาจส่งผลให้รู้สึกเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง เสี่ยงเป็นภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ ครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงิน ประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรด้านอาหารและเผชิญกับภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง อาการของภาวะMarasmus  อาการของภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ อาจสังเกตได้ดังนี้ ร่างกายสูญเสียไขมันทำให้ ผอมซูบที่อาจทำให้เห็นซี่โครงชัดเจน น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ศีรษะใหญ่กว่าลำตัว ผมร่วง ผิวหนังเหี่ยวย่น หย่อนคล้อยและแห้งกร้าน รู้สึกร่างกายขาดน้ำ กระหายน้ำมาก อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง พัฒนาการและเจริญเติบโตล่าช้า ควรเข้าพบคุณหมอทันทีหากมีอาการท้องเสีย อุณหภูมิร่างกายต่ำ น้ำหนักลดลงกะทันหันและต่ำกว่าเกณฑ์ ความดันโลหิตต่ำ วิงเวียนศีรษะและเป็นลมหมดสติบ่อยครั้ง เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเสี่ยงหัวใจวาย การติดเชื้อรุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิต การรักษาภาวะMarasmus การรักษาภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ […]


ข้อมูลโภชนาการ

เมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง มีอะไรบ้าง

เหล็ก เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในแต่ละวัน ร่างกายควรได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากการขาดธาตุเหล็กในระยะยาว เช่น ภาวะโลหิตจาง อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ สำหรับ เมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง นั้น เช่น ไก่ผัดขิง ถั่วลันเตาผัดตับ ต้มเลือดหมูตำลึง [embed-health-tool-bmr] ธาตุเหล็ก มีความสำคัญอย่างไร เหล็ก เป็นธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบิน และไมโอโกลบิน (Myoglobin) โดยฮีโมโกลบินเป็นโปรตีนของเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปหล่อเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ในขณะที่ไมโอโกลบิน เป็นโปรตีนที่พบในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อกระดูกและหัวใจ มีหน้าที่หลักคือลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ของกล้ามเนื้อดังกล่าว นอกจากนี้ เหล็กยังจำเป็นต่อการสังเคราะห์ฮอร์โมนบางชนิดด้วย 1 วัน ควรบริโภคธาตุเหล็กเท่าไร ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 13 ปี ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะต้องการธาตุเหล็กในปริมาณเท่า ๆ กัน ดังนี้ 0-6 เดือน 27 มิลลิกรัม/วัน 7-12 เดือน 11 มิลลิกรัม/วัน 1-3 ปี 7 มิลลิกรัม/วัน 4-8 ปี 10 มิลลิกรัม/วัน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม